การจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี

Innovation and Technology Management

1. เพื่อให้นักศึกษาได้มีความรู้ ความเข้าใจในความหมาย และความสำคัญของวิชาการจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม

เพื่อให้เข้าใจถึงบทบาทของฝ่ายต่างๆ ที่อยู่ในระบบเศรษฐกิจ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประกอบกับวิชาที่สูงขึ้นต่อไป เพื่อนำไปใช้สำหรับการประกอบธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประยุกต์กับสถานการณ์ปัจจุบันได้
หลักสูตรบริหารธุรกิจ ได้จัดทำขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ เพื่อรองรับความต้องการของตลาดแรงงานและการแข่งขันของโลก ดยในปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวัน อีกทั้งพลวัตที่เคลื่อนเข้าสู่ยุคของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน การดำเนินงานทางธุรกิจและในภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ทั้งนี้ เพื่อให้องค์กรลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจหรือเอกชน ดังนั้น หลักสูตรนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อผลิตบัณฑิตทางด้านบริหารธุรกิจ รองรับความต้องการในงานด้านบริหารธุรกิจ ตลาดแรงงานและสถานประกอบการต่างๆ โดยเน้นให้บัณฑิตคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาเป็น และสามารถนำความรู้มาประยุกต์ใช้งานได้อย่างเหมาะสม ซึ่งผลที่คาดว่าจะได้รับ ทำให้ได้บัณฑิตที่มีคุณสมบัติตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และพัฒนาด้านการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
มีเนื้อหาเกี่ยวกับการบูรณาการเทคโนโลยีและนวัตกรรม การออกแบบและการนำกลยุทธ์ด้านเทคโนโลยีไปปฏิบัติ วิวัฒนาการของเทคโนโลยี สภาวะแวดล้อมของอุตสาหกรรม สภาวะแวดล้อมองค์กร ความสามารถด้านเทคโนโลยีขององค์กร การพัฒนาความสามารถด้านนวัตกรรมขององค์กร การออกแบบและการจัดการระบบนวัตกรรมสำหรับองค์กร การจัดหาแหล่งเทคโนโลยี การสร้างและนำกลยุทธ์การพัฒนาไปปฏิบัติ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การสร้างความสามารถในการแข่งขันด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ความท้าทายในด้านนวัตกรรมสำหรับองค์กร
30
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม
š1.1 มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
š1.2 มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
š1.3 มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
š1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม
1. การสอนแบบยกตัวอย่างกรณีศึกษา
2. การสอนแบบสนทนาโต้ตอบ
3. การมอบหมายงานให้ทำเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
4.การสอนฝึกปฏิบัติเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
1. มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย ร้อยละ 85 ปฏิบัติตามกฎและสำเร็จตามกำหนด
2. การสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
3. การสังเกตพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน ร้อยละ 80 เข้าตรงเวลา
4. การแสดงความคิดเห็นหรือการตอบคำถามอย่างเหมาะสมถูกต้อง
2. ด้านความรู้
˜2.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
˜2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
š2.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
1. การสอนฝึกปฏิบัติเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
2. การมอบหมายงานให้รายงานบันทึกขั้นตอนและผลการปฏิบัติงาน รวมถึงอุปสรรคปัญหาที่เกิดขั้นพร้อมการแก้ไข
3. การสอนแบบสนทนาโต้ตอบ
4. การอธิบายและการสาธิต
1. ผลการปฏิบัติงาน
2. การเขียนรายงานบันทึกผลการปฏิบัติงาน
3. การสัมภาษณ์
4. การสังเกตพฤติกรรมในการทำปฏิบัติงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
3. ด้านทักษะทางปัญญา
š3.1 สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
˜3.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
˜3.3 คิดอย่างมีวิจารยาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้ จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
1. มอบหมายงานที่มีการใช้ทักษะมาบูรณาการในการทำงาน
 
1. ผลการปฏิบัติงานและมีคุณภาพ
2. สังเกตพฤติกรรมการเลือกใช้วิธีการหรือทักษะในการใช้เครื่องมือพื้นฐานหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่องานที่มอบหมาย
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
š4.1 มีความสามารถในการแสดงความริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
˜4.2 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1. การสอนฝึกปฏิบัติเป็นรายกลุ่ม
2. การมอบหมายงานให้ทำเป็นกลุ่ม
1. การสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนและกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม
2. การสัมภาษณ์
3. การสังเกตพฤติกรรมในการปฏิบัติงานเป็นรายกลุ่ม
4. ผลการปฏิบัติงานและคุณภาพ
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
š5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
˜5.2 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของการสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์
˜5.6 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนันการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถใช้สารสนเทศ
1. การสอนฝึกปฏิบัติงานการใช้เครื่องมือพื้นฐานและเทคโนโลยีเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
2. การมอบหมายงานให้ปฏิบัติ โดยให้มีการศึกษา สืบค้น วิเคราะห์ เพื่อนำความรู้ไปใช้ และ บันทึกรายงานผลเป็นรายกลุ่มหรือรายบุคคล
1. การเขียนรายงานบันทึกผลการปฏิบัติงาน
2. สังเกตพฤติกรรมการเลือกใช้วิธีการหรือทักษะในการใช้เครื่องมือพื้นฐานหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมต่องานที่มอบหมาย
3. ผลการปฏิบัติงานและคุณภาพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 2.1, 2.2, 2.3. 3.1, 3.2, 4.4, 5.2 การสอบกลางภาค บทที่ 1-8 9 30%
2 1.2, 2.1, 2.2, 2.3. 3.1, 3.2, 4.4, 5.2 การสอบปลายภาค บทที่ 9-15 17 30
3 1.2, 2.1, 2.2, 2.3. 3.1, 3.2, 4.4, 5.2 งานที่มอบหมาย (แบบฝึกหัด) งานที่มอบหมาย (รายงาน 1-8, 10-16 20% 10%
4 1.2, 2.1, 2.2, 2.3. 3.1, 3.2, 4.4, 5.2 คะแนนเจตคติ การเข้าชั้นเรียน และความรับผิดชอบในรายวิชา 1-8, 10-17 10
ชุติสร เรืองนาราบ. 2561. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาการจัดการนวัตกรรมและเทคโนโลยี รหัสวิชา BBABA218. น่าน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน.
จำรัส สุวรรณเวลา. (2549). การจัดการความรู้ในยุคสังคมฐานความรู้. ค้นเมื่อกันยายน5, 2560, จาก http://qa.bu.ac.th/program/KM49
จินตนา แก่งมงคล. (2553). การจัดการเรียนการสอนรายวิชาการจัดการความรู้ในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์และสารสนเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชัชวาลย์ วงษ์ประเสริฐ. (2548).การจัดการความรู้ในองค์กรธุรกิจ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ต.
ดาเวนพอร์ท, โทมัส เอช. (2542). การจัดการความรู้เทคนิคในการแปรความรู้สู่ความได้เปรียบในการแข่งขัน. แปลจาก Working Knowledge: How organization manage what they know. โดย นิทัศน์ วิเทศ. กรุงเทพฯ: เออาร์ บิซิเนส เพรส.
ทิพวรรณ หล่อสุวรรณรัตน์. (2548). องค์การแห่งความรู้ : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธเนศ ขำเกิด. (2549). “Blog : เครื่องมืออันทรงพลังของ KM”. วารสารส่งเสริมเทคโนโลยี (สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น), 33, 190 (ธันวาคม 2549 – มกราคม 2550), 80-83.
นฤมล พฤกษศิลป์ และพัชรา หาญกิจเจริญ. (2543). การจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: รังสิตสารสนเทศ.
น้ำทิพย์ วิภาวิน. (2547). การจัดการความรู้กับคลังความรู้. กรุงเทพฯ: เอสอาร์พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์,
นิธิธัช กิตติวิสาร. (2007). “Blog: กระแสบนโลกอินเตอร์เน็ท พลิกโฉมการจัดการความรู้ในองค์การ.” ค้นเมื่อ สิงหาคม 5, 2007, จาก http://www.nidtep.go.th/km/data/ Blog.doc, (August 5, 2007).
บดินทร์ วิจารณ์. (2547). การจัดการความรู้สู่ปัญญาปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: เอ็กซเปอร์เน็ต.
บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2548). การจัดการความรู้ จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
ปณิตา พ้นภัย. (2544). การบริหารความรู้ (Knowledge Management) : แนวคิดและกรณีศึกษา. เอกสารวิจัยภาควิชารัฐประศาสนศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
 
ประพนธ์ ผาสุขยืด. (2547). การจัดการความรู้ฉบับมือใหม่หัดขับ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ใยไหม.
ประเวศ วะสี. (2550). การจัดการความรู้ : กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ศักยภาพ เสรีภาพและความสุข. กรุงเทพฯ: กรีน-ปัญญาญาณ.
พรธิดา วิเชียรปัญญา. (2547). การจัดการความรู้. กรุงเทพมหานคร: ธรรกมลการพิมพ์.
พรทิพย์ กาญจนนิยต, พัด นิลพันธุ์ และนพรัตน์ ประสาทเขตการณ์. (2548). การจัดการความรู้: สู่วงจรคุณภาพที่เพิ่มพูน. กรุงเทพฯ: สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักปลัดทบวงมหาวิทยาลัย,
พรรณี สวนเพลง. (2552). เทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น,
ไพโรจน์ ชลารักษ์. (2551). การจัดการความรู้: สังกัปทางทฏษฎี. นครปฐม: เพชรเกษม พริ้นติ้ง กรุ๊ป
ยุทธนา แซ่เตียว. (2548). Measurement Analysis Knowledge Management: The Key to Build Organization Intelligent การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ สร้างองค์กรอัจฉริยะ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
รัชต์วรรณ กาญจนปัญญาชน. (2550). การจัดการองค์ความรู้. ค้นเมื่อ กันยายน 5, 2553, จาก http://www.fullbrightthai.org.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2549). ศัพท์คอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.
วิจารณ์ พานิช. (2548). การจัดการความรู้กับการบริหารราชการไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
__________ . (2548). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
__________ . (2549). การจัดการความรู้ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพ: บริษัทตถาดา พับลิเคชั่น.
__________ . (2547). โครงการพัฒนาประสิทธิภาพและประสิทธิผลระบบบริหารแผนพัฒนาบุคคลเชิงยุทธศาสตร์. กรุงเทพฯ:สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
วิจารณ์ พานิชและประพนธ์ ผาสุขยืด. (2550). การจัดการความรู้เพื่อการพัฒนาองค์กรอัจฉริยะ. กรุงเทพฯ: สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม.
วิภาดา เวทย์ประสิทธิ์. (มปป.). การจัดการความรู้ (Knowledge Management System). สงขลา: ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ. (2547) การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. บ.ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด. กรุงเทพฯ
สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งประเทศไทย. (2551). การจัดการความรู้. ค้นเมื่อ พฤษภาคม 28, 2551, จาก http://www.ftpe.or.th
 
สมชาย นำประเสริฐชัย. (2546). เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้. ไมโครคอมพิวเตอร์, 21, 215 (มิถุนายน), 103-107.
__________ . (2549) เทคโนโลยีกับการจัดการความรู้. ค้นเมื่อ มีนาคม 6, 2553, จาก http://www.kmi.or.th/document/Tech_KM.pdf
สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.(2548). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: ธรรกมลการพิมพ์.
__________ . (2548) คู่มือจัดทำแผนการจัดการความรู้. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.พ.ร. และสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
สำนักหอสมุด มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2549). การจัดการความรู้ในองค์กรสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ค้นเมื่อ สิงหาคม 24, 2550, จาก http://kmcorner.lib.cmu.ac.th
สิริกร กรมโพธิ์. (2550). การศึกษาการใช้ระบบการจัดการความรู้สำหรับการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบโปรแกรมประยุกต์บนเว็บ. นครราชสีมา: โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สุวรรณ เหรียญเสาวภาคย์ และคณะ. (2548). Knowledge Management การจัดการความรู้. โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ชุดเครื่องมือการเรียนรู้ด้วยตนเอง (Self-Learning Tool Kits). กรุงเทพฯ: ก.พลพิมพ์.
ศรีไพร ศักดิ์รุ่งพงศากุล และเจษฎาพร ยุทธนวิบูลย์ชัย. (2549). ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยีการจัดการความรู้ (Information systems and knowledge management technology). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
อัญชลี หนูรัตน์ และทีมงาน Usablelab. (2552). บล็อก: เครื่องมือเพื่อการจัดการความรู้ (ฉบับชวนปรับปรุง). ค้นเมื่อ กันยายน 21, 2552, จาก http://portal.in.th/gotoknowforum
อัญญาณี คล้ายสุบรรณ์. (2550). การจัดการความรู้ฉบับปฐมบท. นครปฐม: เพชรเกษมพริ้นติ้งกรุ๊ป,
สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม. (2549). “สิ่งดีๆ ที่หลากหลายสไตล์ KM (Best Practice-KM Style)”. รายงานประจำปี 2549. กรุงเทพฯ: ไซเบอร์เพรส.
สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา สำนักปลัดทบวงมหาวิทยาลัย. (2546). การจัดการความรู้สู่วงจรคุณภาพที่เพิ่มพูน. กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.
ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรม ดังนี้
1.1) การสนทนาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
1.2) แบบประเมินผู้สอน หรือแบบประเมินรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง โดยติดตามจากผลการเรียนและพฤติกรรมการแสดงออกของนักศึกษา เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สัมมนา หรือฝึกอบรม และติดตามความก้าวหน้าขององค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนากลยุทธ์และวางแผนปรับปรุงการเรียนการสอน
4.1) อาจารย์ผู้สอนทวนสอบจากคะแนนสอบหรืองานกิจกรรมหรือโครงการบูรณาการที่มอบหมาย
4.2) มีการพิจารณาความเหมาะสมของการประเมินผล วิธีการให้คะแนน (มคอ.3 หมวด 2-5) ที่สอดคล้องกับหลักสูตร (มคอ.2 หมวด 4) ให้ครอบคลุม ครบถ้วน และตรงตามที่หลักสูตรกำหนด
5.1) ทบทวนและปรับปรุงเนื้อหาที่สอน กลยุทธ์การสอนและจัดหาอุปกรณ์สื่อการสอนให้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
5.2) การประเมินผลผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ จากแบบทดสอบย่อย เพื่อจะได้ปรับปรุงกลยุทธ์การสอนให้เหมาะสมตามสถานการณ์
การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงในภาคการศึกษาต่อไป