ปฏิบัติการเฉพาะหน่วยในวิศวกรรมอาหาร

Unit Operations in Food Engineering

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และปฏิบัติ เกี่ยวกับหน่วยปฏิบัติการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตอาหารในแต่ละประเภทแต่ละขั้นตอนได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ ในหน่วยปฏิบัติการของกระบวนการผลิตอาหารมากขึ้น สามารถปฏิบัติการในงานเฉพาะได้ แก้ปัญหาทางวิศวกรรมและแก้ปัญหาหน้างานจริงได้ อันเป็นประสบการณ์เพื่อใช้ในชีวิตประจำวันซึ่งเหมาะสมกับปัจจุบันยิ่งขึ้น
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ ปฏิบัติการในอุตสาหกรรมชีวภาพ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิศวกรรมผลิตภัณฑ์ชีวภาพ ระบบการกระจายและการถ่ายเทมวลสารระหว่างสถานะ สถานะสมดุล ของไหล ฟลูอิไดเซชั่น การถ่ายเทความร้อน การใช้ไอน้ำ การลดขนาด การผสม การหมัก การสกัด การแยก การระเหย การทำแห้ง การใช้อุณหภูมิต่ำ การกลั่น การใช้เครื่องมืออื่น ๆ รวมทั้งศึกษาถึงกำลังงานที่ใช้ในแต่ละหน่วย
อาจารย์จัดเวลาให้คาปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
   1. เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต
   2. มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
   3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
   4. สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
   5. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรม ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
   1. กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
   2. นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น
   3. สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ในการสอน เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
   4. อภิปรายกลุ่ม
   5. กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
   1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
   2. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
   3. ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
   4. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
   1. มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกายภาพของวัสดุ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
   2. มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาวิชา
   3. สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
   4. สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นต้น
   5. สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชา และจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
   1. การทดสอบย่อย
   2. การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
   1. มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
   2. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
   3. สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทางานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   4. มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
   5. สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
   1. กรณีศึกษาทางการประยุกต์วิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ
   2. การอภิปรายกลุ่ม
   3. ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
                ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ และการเข้าชั้นเรียน เป็นต้น
   1. สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
   2. สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอานวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
   3. สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
   4. รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทางานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทางานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
   5. มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
   1. จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
   2. มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี การนำตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน ธุรกิจ หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
   3. การนำเสนอรายงาน
   1. ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
   2. ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
   3. ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
   1. พัฒนาทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาสมบัติทางกายภาพของวัสดุชีวภาพได้เป็นอย่างดี
   2. พัฒนาทักษะเชิงตัวเลข การคำนวณ การเขียนปริมาณ มิติ หน่วย ของระบบ
   3. พัฒนาทักษะในการนำเสนองาน
   4. มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
   5. ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
   1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
   2. นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
   1. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
   2. การคิด คำนวณ การเขียนตัวเลขอย่างถูกหลักการในแบบฝึกหัด
   1. มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   2. มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบโดยมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
   1. สาธิตการปฏิบัติการทางด้านวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพโดยผู้เชี่ยวชาญ
   2. ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและมีความประณีต
 
   1. สังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานและจดบันทึก
   2. พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 31087302 ปฏิบัติการเฉพาะหน่วยในวิศวกรรมอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 , 1.2 , 1.5 , 2.4 , 5.5 , 6.1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 5 8 10 16 10% 25% 10% 25%
2 1.2, 1.3 , 1.4, 2.1-2.5 ,3.1-3.4 , 4.1-4.4 ,5.1-5.5 , 6.1, 6.2 แบบฝึกหัด รายงาน การนาเสนอในชั้นเรียน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
   รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต. วิศวกรรมอาหาร:หน่วยปฏิบัติการในอุตสาหกรรม. พิมครั้งที่ 1 ปี 2541 , ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
   ปิยะสาร ประเสริฐธรรม. หลักการออกแบบเครื่องมือแยกสาร. พิมครั้งที่ 3 ปี 2542 , สานักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
   มนตรี พิรุณเกษตร. การถ่ายเทความร้อน, ฉบับเตรียมสอบและเสริมประสบการณ์ พิมพ์ครั้งที่ 2 ปี 2542.
           ไม่มี
   McCabe W.L., Smith J.C. and Harriott P. “Unit Operations of Chemical Engineering”, 5th Ed., McGraw-Hill, Inc., 1984
   Perry R. H., Green D.W. and Maloney J.O., “Perry’s Chemical Engineers’ Handbook”, 6th Edition, McGraw-Hill Inc., 1984
    การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นของนักศึกษาได้ดังนี้
          1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
          1.3 ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
         2.1 การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
         2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา (การสอบกลางภาคและปลายภาค)
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการเรียนการสอน ดังนี้
          3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
       ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจแบบฝึกหัด เพื่อปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และพิจารณาคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
   5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุกๆ 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
   5.2 ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมให้มีความหลากหลาย
   5.3 ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้มีความน่าสนใจ มีการเลือกใช้สื่อที่ทันสมัย
   5.4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมอในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ