วิศวกรรมการแปรรูปอาหาร

Food Process Engineering

มีความรู้ความเข้าใจ สามารถอธิบายหลักการเบื้องต้นของการผลิตอาหาร การเตรียมวัตถุดิบและกระบวนการแปรรูปอาหารในแบบต่างๆ สามารถวิเคราะห์และนำหลักการ/ทฤษฏีมาเลือกใช้ในกระบวนการแปรรูปอาหารได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม มีทักษะในการแปรรูปอาหารในแบบต่างๆ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการทางานได้ มีจิตสำนึกที่ดีและมีคุณธรรมในการนำความรู้จากการเรียนการสอนในรายวิชาการแปรรูปอาหารไปใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างซื่อสัตย์ ถูกต้องเหมาะสม
มีการปรับปรุงเนื้อหาในรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อให้มีความสมบูรณ์และเป็นปัจจุบันมากที่สุด โดยยังคงหลักการที่มีความสำคัญต่อรายวิชาไว้ สอดแทรก/ค้นหาข้อมูลเทคโนโลยีใหม่ๆจากงานวิจัยเข้ามาประกอบการสอน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ หลักการเบื้องต้นของการผลิตอาหาร การเตรียมวัตถุดิบ กระบวนการแปรรูปอาหารที่อุณหภูมิห้อง การใช้พลังงานความร้อนแปรรูปอาหาร  ผลของความร้อนต่ออาหาร เครื่องมือในการแปรรูปอาหารด้วยความร้อน  เครื่องมือบรรจุ และปิดผนึก การถนอมอาหารด้วยความเย็น การแปรรูปอาหารแช่แข็งประเภทต่างๆ เครื่องมือและกระบวนการผลิตอาหารแช่แข็ง ผลของการแช่แข็งต่อคุณภาพอาหาร การบรรจุเก็บรักษาและขนส่งอาหารแช่แข็ง การคำนวณภาระห้องเย็น การคำนวณเวลาแช่แข็ง การละลายอาหารแช่แข็ง
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และนักศึกษาอาจจะมีการติดต่อกับอาจารย์โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร
พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น  และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม โดยมีคุณธรรมจริยาธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
   1. มีจิตสานึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
   2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
   3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
   4. เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
   1. การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางด้านคุณธรรมจริยธรรม ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการแปรรูปอาหาร จรรยาบรรณของการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรมเพื่อปลูกฝังให้นักศึกษารักในอาชีพการเป็นวิศวกร และดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
   2. ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
   3. ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทางาน (Work-Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
   4. จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชา
   5. การอภิปรายกลุ่ม
   1. พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
   2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องเหมาะสม
   3. ประเมินผลจาการทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาค
   4. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย
   5. พฤติกรรมความตั้งใจในการเรียน การทำข้อสอบ ความตรงต่อเวลา การทำปฏิบัติการและรายงานผลการปฏิบัติการ
ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
   1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
   2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
   3. สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องการทดสอบผลการเรียนรู้ตามมาตรฐานนี้สามารถทำ ได้โดยการใช้ข้อสอบวัดผลในรายวิชาที่เรียนทั้งการทดสอบภาคทฤษฎีและปฏิบัติตลอดระยะเวลาของหลักสูตร
ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้ เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชา
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา โดยใช้การวัดผล ดังนี้
   1. การทดสอบย่อย
   2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
   3. รายงานที่นักศึกษาจัดทำ
   4. งานที่ได้มอบหมาย
   5. การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
   6. แฟ้มสะสมผลงาน
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้น นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญา พร้อมกับคุณธรรม และจริยธรรม โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหาแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
   1. มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
   2. มีทักษะในการนา ความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาใช้แนวข้อสอบที่ให้นักศึกษาได้อธิบายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หรือให้นักศึกษาเลือกใช้วิชาชีพที่เหมาะสมกับสถานการณ์ที่กำหนดให้
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆโดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
   1. บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
   2. การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในบริบทต่างๆ
   3. การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
   4. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2. พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
3. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1. จัดกิจกรรมกลุ่มในการทำแบบทดสอบในชั้นเรียน
2. มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น ให้นักศึกษาร่วมกันแก้ปัญหาที่ได้จากการบ้าน
1. สังเกตการทำงานเป็นกลุ่มของนักศึกษา
2. ประเมินจากแบบทดสอบในคาบเรียน  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3. ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
1. ทักษะการคิดคำนวณ
2. พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาและปรับปรุงการเรียนรู้ปัญหาในงานวิศวกรรมเกษตรและชีวภาพ
มอบหมายงานที่ต้องสืบค้น จัดการ และนำเสนอข้อมูล
1. ประเมินจากการสังเกตนักศึกษาในคาบเรียนว่ามีการตอบสนองกับคำถามอย่างไร
2. ประเมินจากแบบทดสอบ แบบฝึกหัด รวมไปถึงการบ้านที่นักศึกษาทำ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 31087305 วิศวกรรมการแปรรูปอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1 สอบย่อยและแบบฝึกหัดท้ายบท สอบกลางภาค สอบปลายภาค 5,8,10,15,17 9 18 20% 25% 30%
2 2 การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย รายงานที่มอบหมาย 1-18 15%
3 3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-18 10%
      วิไล รังสาดทอง. เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. กรุงเทพฯ: Text and Journal Publication Ltd, 2545.
      Gould, G. W. 1989. Introduction. pp. 1 – 10. In “Machanisms of Action of Food Preservation”.
     G. W. Gould (ed.). Elsevier Science Publishers, Ltd., Essex.
พรพล รมย์นุกูล. การถนอมอาหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2545.
     นฤดม บุญหลง และกล้าณรงค์ ศรีรอต. อาหารเพื่อมนุษยชาติ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2545.  
     ไพบูลย์ ธรรมรัตน์วาสิก. กรรมวิธีการแปรรูปอาหาร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2532.
     Leistner, L. and G. W. Gould. 2002. Hurdle Technologies. Combination Treatments for Food Stability, Safety and Quality. Kluwer Academic, New York.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นของนักศึกษาได้ดังนี้
     1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
     1.3 ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
     2.1 การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
     2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา (การสอบกลางภาคและปลายภาค)
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ2 จึงมีการปรับปรุงการสอน ดังนี้
     3.1 ประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา สรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป
     3.2 ปรับปรุงเนื้อหาให้เหมาะสมกับระดับของนักศึกษา โดยดูจากแบบทดสอบก่อนเรียนเพื่อปรับพื้นฐานและทบทวนในบางหัวข้อ
          3.3 ปรับปรุงกลยุทธ์การสอนให้เหมาะแก่กลุ่มนักศึกษา
    ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจแบบฝึกหัด เพื่อปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และพิจารณาคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
  5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุกๆ 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
  5.2 ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมให้มีความหลากหลาย
  5.3 ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้มีความน่าสนใจ มีการเลือกใช้สื่อที่ทันสมัย
  5.4 นำข้อคิดเห็นจากการประเมิน โดยนักศึกษามาประมวลผล เพื่อจัดเนื้อหาความรู้ให้เหมาะสม ผลจากการประมวลจะถูกนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป
  5.5 ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้ตรงกับการทำงานจริง โดยให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพในอนาคตได้