การพัฒนาหลักสูตร

Curriculum Development

      1.  ผู้เรียนมีความรู้ และเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและทฤษฎีของหลักสูตร

ผู้เรียนมีความรู้ และเข้าใจกระบวนการในการพัฒนาหลักสูตร ผู้เรียนมีความรู้เรื่องของมาตรฐานและมาตรฐานช่วงชั้นของหลักสูตร ผู้เรียนมีความรู้ และเข้าใจวิธีการสร้างหลักสูตร การเขียนหลักสูตร การจัด การเลือกเนื้อหาสาระ  และการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาไปสู่การทำเอกสารโครงการสอน ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์แนวทางการการประเมิน  การแก้ไขปรับปรุงหลักสูตร การสร้างหลักสูตร และการเขียนหลักสูตรรายวิชาตามสาขาวิชาเอกรวมทั้งปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร เพื่อให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของหลักสูตรในฐานะเป็นเป้าหมายในการจัดการเรียน การสอนและมี

    เจตคติที่ดีต่อบทบาทของครูที่จะต้องเป็นผู้พัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมเพื่อนำไป พัฒนาการเรียนรู้
    ของผู้เรียน
เพื่อให้นักศึกษามีพื้นฐานความรู้ เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา  นำไปใช้ในชีวิตการทำงานในอนาคตต่อไป
ศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีหลักสูตร กระบวนการพัฒนาหลักสูตร  มาตรฐานและมาตรฐานช่วงชั้นของหลักสูตร  การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การสร้างหลักสูตร การเขียนหลักสูตรรายวิชาตามสาขาวิชาเอก  การประเมินหลักสูตร ปัญหาและแนวโน้มในการพัฒนาหลักสูตร
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  โดยจะประกาศช่วงเวลากำหนดการให้คำปรึกษาในและนอกเวลาเรียน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิลิขสิทธิ์ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญาของผู้อื่น  มีความซื่อสัตย์ในวิชาชีพ ใช้ความรู้ทางด้านหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา     และในส่วนที่เกี่ยวข้องในทางที่เหมาะสม โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีความเข้าใจหลักการหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา  และอันที่จะส่งกระทบต่อบุคคลองค์กรและสังคม

มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
วิธีการสอน 


บรรยายพร้อมเนื้อหาวิชาที่สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาที่กำหนดไว้ในรายวิชาหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา      ผู้สอนจัดเตรียมเอกสารใบความรู้  ให้ตรงตามจุดประสงค์สิ่งที่ต้องการค้นหา หรือเกี่ยวข้องกับหลักการทางหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา      ถาม – ตอบคำถาม ที่เกี่ยวกับองค์ความรู้ด้านหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา     

ฝึกทำปัญหาโจทย์เกี่ยวกับหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา  เฉลยโจทย์ปัญหาพร้อมแนะนำองค์ความรู้ไปใช้งานในการจัดทำโครงการสอนรายวิชาได้อย่างถูกต้อง
วิธีการประเมินผล
1.3.1    พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2    ความสนใจซักถามองค์ความรู้ความรู้ที่ได้นำมาสอน
1.3.3    การตอบปัญหา ข้อซักถามทางด้านหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา     
1.3.4    ประเมินผลจากผลงานการบ้าน  และงานที่มอบหมาย หลังจากการได้ทำการสอน
1.3.5    ประเมินผลงานจากการจัดทำโครงการสอนรายวิชา
ความรู้ ที่ต้องได้รับ
              มีความรู้ในโครงสร้างของหลักสูตร หลักการ ความสำคัญ องค์ประกอบของหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา   ความสัมพันธ์ของหลักสูตรกับการศึกษา พื้นฐานในการพัฒนาหลักสูตร ความมุ่งหมายของหลักสูตร มาตรฐานและมาตรฐานช่วงชั้นของหลักสูตร  การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนาหลักสูตรด้วยเทคนิควิธีที่สำคัญต่างๆ ความมุ่งหมายของหลักสูตร  เทคนิคการพัฒนาหลักสูตรรายวิชา  การวิเคราะห์อาชีพเพื่อพัฒนาหลักสูตรรายวิชา จุดประสงค์การสอน การวางแผนการสอนและโครงการสอน     และทักษะ ความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร เพื่อเป็นพื้นฐานในระดับที่สูงขึ้น  รวมทั้งการนำไปใช้งานในการจัดทำโครงการสอนรายวิชา
วิธีการสอน
จัดเตรียมเอกสารใบความรู้เสริมให้กับนักศึกษา พร้อมการบรรยายเกี่ยวกับเอกสารประกอบ การสอนเกี่ยวกับหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา    พร้อมให้ผู้เรียนทำการวิเคราะห์ขั้นพื้นฐานเกี่ยวกับหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา  และมอบหมายให้ค้นหาองค์ความรู้ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เขียนรายงานการค้นคว้า ทั้งรายกลุ่มและรายบุคคล  พร้อมนำมาสรุปในเนื้อหาความรู้ที่ศึกษาและส่วนที่เกี่ยวข้องกับหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา  โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
วิธีการประเมินผล
2.3.1   ทดสอบองค์ความรู้ระดับพื้นฐานทางหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา  โดยการซักถาม  ทดสอบหลังศึกษาจบหน่วยเรียน สอบกลางภาคเรียน  และสอบปลายภาคเรียน  ที่เน้นการวัดหลักการ
ในการจัดทำโครงการสอนรายวิชาได้ถูกต้อง
2.3.2   ประเมินจากการรายงานผลการค้นคว้าข้อมูลทางหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา
ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
พัฒนาความสามารถในการศึกษาค้นคว้าข้อมูลทางหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา  อย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาให้สอดคล้องกับการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการจัดทำโครงการสอนรายวิชา
วิธีการสอน
3.2.1   ผู้สอนจัดเตรียมเอกสารใบความรู้ให้กับนักศึกษา  ทำการค้นคว้าองค์ความรู้ในทางหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา  เพื่อเป็นการเตรียมตัวในชั้นเรียน
3.2.2   ผู้สอนบรรยายให้รายละเอียดความเข้าใจในบทเรียน หรือในเอกสารใบความรู้
3.2.3   ผู้สอนยกตัวอย่าง และให้ผู้เรียนช่วยกันแก้ไขโจทย์ปัญหา โดยผู้สอนจะให้การแนะนำอย่างใกล้ชิด สอบถามปัญหาการบ้านที่ได้มอบหมายไว้  พร้อมเฉลยวิธีการหาคำตอบที่ถูกต้อง
3.2.4   มอบหมายงานการค้นคว้าเพิ่มเติม หลังจบการเรียนในแต่ละครั้ง  มอบหมายการบ้านโจทย์ปัญหาให้นักศึกษา แสดงการหาคำตอบ พร้อมส่งตรวจในวันต่อๆ ไป
วิธีการประเมินผล
3.3.1   การทดสอบความรู้หลังเรียนจบหน่วยการเรียน  และซักถามองค์ความรู้ สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขโจทย์ปัญหา
3.3.2   การประเมินรายงานการค้นคว้ารายบุคคล และรายกลุ่ม
3.3.3   วัดผลจากการสอบกลางภาคเรียน และสอบปลายภาคเรียน
ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
วิธีการสอน
4.2.1  ให้ผู้เรียนจัดแบ่งกลุ่มในการค้นคว้าองค์ความรู้ทางด้านหลักสูตร ในเนื้อหารายวิชาที่เรียน
4.2.2   ผู้สอนจัดการมอบหมายหัวข้องานที่ควรศึกษา เพื่อทำการค้นคว้าให้กับกลุ่มนักศึกษา  และนำไปค้นคว้าทางด้านหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา เป็นรายกลุ่มและรายบุคคล
4.2.3   ผู้สอนตรวจสอบรายงานที่ได้ให้นักศึกษาทำการค้นคว้า ทั้งเป็นรายกลุ่มและรายบุคคล รวมทั้งแก้ไขวิธีการ และให้คำแนะนำจากผู้สอน  หากต้องมีการแก้ไขเพิ่มเติม
4.2.4   ผู้สอนนำผลงานรายงานของทุกกลุ่มมาสรุปให้ผู้เรียนทั้งชั้นเรียนได้รับทราบ
วิธีการประเมินผล
4.3.1   ประเมินองค์ความรู้ของผู้เรียนเองตามหัวข้อหน่วยการเรียนที่กำหนดให้ หรือควรจะต้องมีในรายวิชานี้  หรือเป็นคุณลักษณะที่ครูช่างอุตสาหกรรมที่พึงมี
4.3.2   ประเมินจากผลงาน การจัดทำรายงาน  และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการสอบ
ทักษะการค้นคว้าหาองค์ความรู้ด้านหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา
5.1.1  ทักษะการค้นคว้าองค์ความรู้เกี่ยวกับโครงสร้าง และความสำคัญของหลักสูตรการศึกษาและเกี่ยวกับ  ลักษณะของจุดประสงค์ทางการศึกษา
5.1.2  พัฒนาทักษะการค้นคว้าองค์ความรู้เกี่ยวกับ แผนบทเรียน และการประเมินผลแผนบทเรียน
5.1.3  พัฒนาทักษะการค้นคว้าองค์ความรู้เกี่ยวกับการเขียนเอกสาร การจัดเนื้อหาสาระและมวลประสบการณ์หลักสูตร
5.1.4  พัฒนาทักษะการค้นคว้าองค์ความรู้เกี่ยวกับการนำหลักสูตรไปใช้  การตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตร
5.1.5  พัฒนาทักษะการค้นคว้าองค์ความรู้เกี่ยวกับการประเมินหลักสูตร และ การแก้ไขปรับปรุงหลักสูตร
5.1.6  พัฒนาทักษะการค้นคว้าองค์ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญแบบต่างๆ
5.1.7  มีทักษะที่ถูกต้อง  ในการจัดทำเอกสารเกี่ยวกับโครงการสอนรายวิชา
วิธีการสอน
5.2.1   ผู้สอนจัดเตรียมเอกสารใบความรู้ให้กับนักศึกษา  ทำการค้นคว้าองค์ความรู้ในทางหลักสูตรและการพัฒนารายวิชา
5.2.2   ผู้สอนบรรยายให้รายละเอียดความเข้าใจในบทเรียน หรือในเอกสารใบความรู้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ตามเนื้อหาในรายวิชา
5.2.3   ผู้สอนยกตัวอย่าง และให้ผู้เรียนช่วยกันแก้ไขโจทย์ปัญหา โดยผู้สอนจะให้การแนะนำสอบถามปัญหาการบ้านที่ได้มอบหมายไว้  พร้อมเฉลยวิธีการหาคำตอบที่ถูกต้อง
5.2.4   มอบหมายงานการค้นคว้าเพิ่มเติม หลังจบการเรียนในแต่ละครั้ง  มอบหมายการบ้านโจทย์ปัญหาให้นักศึกษา แสดงวิธีทำหาคำตอบ พร้อมส่งให้อาจารย์ผู้สอนตรวจในวันต่อๆ ไป
5.2.5    มีการอภิปราย วิเคราะห์ และสรุปร่วมกัน ในเรื่องขององค์ความรู้ในทางหลักสูตรและการพัฒนาหลักสูตร
วิธีการประเมินผล
5.3.1   ประเมินองค์ความรู้ของผู้เรียนตามหัวข้อหน่วยการเรียนที่กำหนดให้ หรือควรจะต้องมีในรายวิชานี้ หรือคุณลักษณะที่ครูช่างอุตสาหกรรมที่ควรจะต้องพึงมี
5.3.2   ประเมินจากผลงาน และการสอบ
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
6.1.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียน        แก้ไข
วิธีการสอน 
    วิธีการสอนและกลยุทธ์ที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้                  
6.2.1    กำหนดรูปแบบการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาสะท้อนความรู้ที่ค้นคว้าและทักษะในการถ่ายทอดความรู้  
6.2.2    กำหนดให้นักศึกษาทำหลักสูตรรายวิชา 
วิธีการประเมินผล
การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย                  
6.3.1    ประเมินพฤติกรรมการการทำหลักสูตรรายวิชา 
6.3.2    การประเมินจากการนำเสนองานหน้าชั้นเรียน 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 1 1 1 2 2 2 3 3 4 4 4 4 5 5 5 6 6
1 30022201 การพัฒนาหลักสูตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 •2.1, •2.3 •3.1, •3.2 •5.3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาคเรียน ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาคเรียน 4 9 12 17 5 % 25 % 5 % 30 %
2 •1.2, •1.3, •2.1, •2.3, •3.1, •3.2 •5.3,•6.2 4.1,4.2 5.1 งานรายบุคคล (โครงการสอน ) การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20 % 7 %
3 .•1.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 8 %
ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 
                   
กิติมา  ปรีดีดิลก. ปรัชญาการศึกษา : ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา (เล่ม 1). กรุงเทพฯ : ประเสริฐการพิมพ์, 2528.
                     แก้วตา  คณะวรรณ. หลักการของหลักสูตร. พิมพ์ครั้งที่ 2. ขอนแก่น : มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2524.
                     คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : บริษัทพริกหวานกราฟฟิค, 2542.
                    จรวย  กลางณรงค์. แนวโน้มของหลักสูตรและการสอนของคณะครุศาสตร์. กรุงเทพฯ :         จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2533.
                    จันทิภา  ลิมปิเจริญ. หลักสูตรและการบริหารหลักสูตร. ภูเก็ต : แผนกบริหารการศึกษา วิทยาลัยภูเก็ต, 2528.
                    ฉันทนา  พวงเดช. การวิเคราะห์เนื้อหาสิ่งแวดล้อมสำหรับหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537.
                    ใจทิพย์  พวงเดช. การวิเคราะห์เนื้อหาสิ่งแวดล้อมสำหรับหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2537.            
                    ชาดา  กลิ่นเจริญ. การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2545.
                     ธวัชชัย  ชัยจิรอายากุล. การพัฒนาหลักสูตร : จากแนวคิดสูตรปฏิบัติ. กรุงเทพฯ : อักษรบัณฑิต, 2529.
                     บุญชม  ศรีสะอาด. พัฒนาหลักสูตรและการสอน. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ, 2528.
                     วิชัย  วงษ์ใหญ่. พัฒนาหลักสูตรและการสอน – มิติใหม่.  กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2525.
                     วิชัย  ดิสระ. การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ สุวีริยาสาส์น, 2535.
                      ศึกษาธิการ, กระทรวง กรมวิชาการ. คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ การงานอาชีพ และเทคโนโลยี. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์, 2524.
                      สาโรช  บัวศรี. “ข้อคิดเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษาของไทย” ในความคิดบางประการทาง       การศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว, 2514.
                     สงัด  อุทรนันท์. ทฤษฎีหลักสูตร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มิตรสยาม, 2530.
 

15

                     สุมิตร  คุณากร. หลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์, 2518.
                     Beckner, Weldon and Joc D. Cornett. The Secondary. School Curriculum : Content and Structure. Seranton, Pennsylvania : Intext Educational Publishers, 1974.
                     Boom, Benjamins. Human Characteristics and School Learning. New York : McGraw-Hill Book Company, 1976.
                                      Dave, R.H. Taxonomy of Educational Objectives and Achievement Testing. London : London  University  Press, 1989.
                    Davis, Bobert H. Lawrence T. Alexander and Stephen L. Yelon. “Learning System Design” An approach to the improvement of instruction. McGraw-Hill Book Company, 1974.
                     Dewy, John. Democracy and Education. New York : The Macmillan Co., 1916.
Doll, R. Curriculum Improvement. Boston : Allyn & Bacon, 1996.
                     Dhariwal, Mave. “System Approach for Competency Based Curriculum Review Project”. Alberta : Northem Alberta Institute of Technology, 1990.
                     Gagne, Robert M. “Educational Technology as Technique” Education Technology. 8 November 15, 1968.
                      Kerr. John R. “The Problem of Curriculum Reform”, in The Curriculum : Content Design & Development. Oliver & Boyd : Edinburgh in Association With the Open University press, 1971.
                      King, Arthur R. Jr. and John A Brownell. ‘”The Curriculum and Disciplines of Knowledge”. New York : John Wiley and Sons, 1966.
                      Lewy, Arich. Handbook of Curriculum Evaluation. New York : Little Brown. 1979.
เอกสารใบความรู้รายวิชาการพัฒนาหลักสูตร
เอกสาร และข้อมูลแนะนำ
               McPhall  David.  Skills Based Teaching in Science and Engineering Degrees.
                        http://www.materials.ac.uk/teachingdev/funded/skillsbased.asp
               Teaching Method.
                         http://wikipedia.org/wiki/Teaching_method (26 December 2005)
               Work-placement
                          http:// www. ringsgroup- thai.com/  work-placement.asp.
 
และเว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาพัฒนาหลักสูตร
กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

 สอบถามสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บไซด์ของมหาวิทยาลัย
กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนจากผู้เรียน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2   จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
  ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการแจ้งผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2  ทบทวน ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3-5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
ตามข้อ 4
5.2   ผู้สอนศึกษาเพิ่มเติมด้านวิธีการในการเพิ่มพูนความรู้ด้านวิธีการสอน รวมทั้งปรับปรุงพื้นฐานทางทฤษฏีด้านเทคนิคการพัฒนาหลักสูตรให้แก่ผู้เรียน
5.3   ผู้สอนศึกษาเพิ่มเติมด้านเทคนิคการพัฒนาหลักสูตรใหม่ๆ ตลอดเวลา พร้อมทั้งนำมาสอนเสริมความรู้ให้ผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนก้าวทันตามหลักทฤษฏีหลักสูตรและการสอนสมัยใหม่
5.4  มีการเอาใจใส่ดูแล  สื่อการสอนทางด้านการพัฒนาหลักสูตรให้มีความพร้อมในการใช้งานอยู่ตลอดเวลา