ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตลาดการเงิน และธุรกิจระหว่างประเทศ

Introduction Financial Market and International Business

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดเงินและตลาดทุน บทบาท หน้าที่และความสำคัญของตลาดเงินและตลาดทุน เครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ แนวคิดและความสำคัญในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ รูปแบบในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดำเนินการ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างประเทศและจริยธรรมในระดับสากล
ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ ได้เข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันมากขึ้น อีกทั้งมีเทคโนโลยีใหม่ๆ มีความก้าวหน้าและพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ถูกนำมาใช้ในงานด้านต่างๆ มากมาย ทั้งภาคธุรกิจ อุตสาหกรรม เกษตรกรรม และอื่นๆ ดังนั้นในภาคการศึกษาซึ่งมีการสอนให้ใช้เทคโนโลยี อีกทั้งยังพัฒนาเทคโนโลยีให้ทันสมัยยิ่งขึ้น ซึ่งหลักสูตรที่ใช้นั้นจำเป็นต้องพัฒนาให้ทันสมัยอยู่เสมอ เพื่อรองรับและสอดคล้องกับการเจริญเติบโตของภาคธุรกิจอุตสาหกรรมในประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่งใน 17 จังหวัดภาคเหนือ และเพื่อผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติการให้มีความรู้ ความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ มีทักษะพื้นฐานทางเทคโนโลยีที่เพียงพอแก่การทำงาน มีความริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม มีคุณภาพสอดคล้องต่อความต้องการของตลาดแรงงาน โดยเป็นบัณฑิตนักปฏิบัติการที่มีความซื่อสัตย์ อดทน มีคุณธรรม จริยธรรมและมีความรับผิดชอบต่อสังคม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับตลาดเงินและตลาดทุน บทบาท หน้าที่และความสำคัญของตลาดเงินและตลาดทุน เครื่องมือทางการเงินชนิดต่าง ๆ แนวคิดและความสำคัญในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ รูปแบบในการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดำเนินการ รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่มีผลต่อการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างประเทศและจริยธรรมในระดับสากล
 
2
1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา(Ethics and Moral)
™1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
˜1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
˜1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
™1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1.สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน
2.ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
3.เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละ และการทำประโยชน์ให้กับชุมชน
4.การเรียนรู้และการสอนจากกรณีศึกษา
1.ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2.ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
3. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4.สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ(Knowledge)
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
˜2.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
™2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
™2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1.ใช้การสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชา โดยเน้นหลักของทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2.การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
3.มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานหรือโครงการ
4.การเรียนรู้จากสถานการณ์จริง จากการฝึกงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรมและการศึกษาดูงานในองค์การธุรกิจหรืออุตสาหกรรม
1.ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงานค้นคว้า และการนำเสนอ
2.การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือการสอบปฏิบัติ
3.การประเมินผลการเรียนรู้โดยผู้ประกอบการจากสถานการณ์จริง หรือ การฝึกงานในองค์กรธุรกิจ
4.การประเมินความรู้ของบัณฑิตโดยการสำรวจความคิดเห็นของผู้ใช้บัณฑิต
3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา(Cognitive Skills)
˜3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
™3.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
™3.3 สถานติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
1.ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
2.จัดให้มีรายวิชาที่เสริมสร้างการพัฒนาทักษะทางเชาว์ปัญญา ความคิด การวิเคราะห์และสังเคราะห์ด้านต่างๆ ทั้งในสาขาและนอกสาขา
3.สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษา ค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
1.ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
2.ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
3.ประเมินจากรายงานผลการศึกษา คิดคว้า รายงานทางเอกสาร และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมทั้งผลการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา(Interpersonal Skills and Responsibility)
˜4.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
˜4.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับวัฒนธรรมขององค์กร ได้เป็นอย่างดี
˜4.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
˜4.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1.มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
2.มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3.ให้การศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ
1.ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
2.ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
3.สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills)
˜5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมานเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
™5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
™5.3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
1.มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
2.มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูลทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3.ให้อภิปรายและนำเสนอผลงานที่ได้จากการสืบค้นหน้าชั้นเรียน และนำเสนอในรูปแบบรายงาน
4.มอบหมายกรณีศึกษาให้นำมาวิเคราะห์และนำเสนอผลการวิเคราะห์ในห้องเรียนในรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
1. ประเมินจากผลงาน กิจกรรมที่เกี่ยวข้องเชิงสถิติและคณิตศาสตร์
2.ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
3.ประเมินจากการสอบข้อเขียน
4.ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนอรายงานและการใช้ภาษาเขียนจากรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 4.1, 4.2, 4.3, 4.4, 5.1 การสอบกลางภาค บทที่ 1-3 9 30%
2 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 4.1, 4.2, 5.1 การสอบปลายภาค บทที่ 4-8 17 30%
3 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 4.1, 4.2, 5.1 งานที่มอบหมาย (แบบฝึกหัด) งานที่มอบหมาย (รายงาน) 1-8, 10-17 10% 20%
4 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 4.1, 4.2, 5.1 คะแนนเจตคติ การเข้าชั้นเรียน และความรับผิดชอบในรายวิชา 1-8, 10-17 10%
ชุติสร เรืองนาราบ. 2560. เอกสารประกอบการสอนรายวิชาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับตลาดเงินธุรกิจระหว่างประเทศ รหัสวิชา 12021101. น่าน : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา น่าน.
สถาบันพัฒนาบุคลากรธุรกิจหลักทรัพย์ (TSI) ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. หลักสูตรความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับ
ตลาดเงินและตลาดทุน. กรุงเทพ :
ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. 2546. การบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ. กรุงเทพ :
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Web ไทย 1. สภาวิชาชีพบัญชี www.fap.or.th 2. กรมสรรพากร www.rd.go.th 3. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ www.sec.or.th 4. ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th 5. ธนาคารแห่งประเทศไทย www.bot.or.th 6. กรมศุลกากร www.customs.go.th 7. กรมสรรพาสามิต www.excise.go.th 8. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ www.dbd.go.th Web ต่างประเทศ 1. International Accounting Standards Board www.iasb.org 2. The American Institute Of Certified Public Accountants www.aicpa.org 3. The International Federation Of Accountants www.ifac.org 4. U.S. Securities Exchange Commission www.sec.gov
ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรม ดังนี้
1.1) การสนทนาระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
1.2) แบบประเมินผู้สอน หรือแบบประเมินรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง โดยติดตามจากผลการเรียนและพฤติกรรมการแสดงออกของนักศึกษา เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สัมมนา หรือฝึกอบรม และติดตามความก้าวหน้าขององค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนากลยุทธ์และวางแผนปรับปรุงการเรียนการสอน
4.1) อาจารย์ผู้สอนทวนสอบจากคะแนนสอบหรืองานกิจกรรมหรือโครงการบูรณาการที่มอบหมาย
4.2) มีการพิจารณาความเหมาะสมของการประเมินผล วิธีการให้คะแนน (มคอ.3 หมวด 2-5) ที่สอดคล้องกับหลักสูตร (มคอ.2 หมวด 4) ให้ครอบคลุม ครบถ้วน และตรงตามที่หลักสูตรกำหนด
5.1) ทบทวนและปรับปรุงเนื้อหาที่สอน กลยุทธ์การสอนและจัดหาอุปกรณ์สื่อการสอนให้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
5.2) การประเมินผลผู้เรียนอย่างสม่ำเสมอ จากแบบทดสอบย่อย เพื่อจะได้ปรับปรุงกลยุทธ์การสอนให้เหมาะสมตามสถานการณ์
การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงในภาคการศึกษาต่อไป