การประลองทางวิศวกรรมเครื่องกล 1

Mechanical Engineering Laboratory 1

เพื่อให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ทางด้านวิศวกรรม รวมทั้งศึกษาและวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกลของวัสดุ กำลังงานของเครื่องยนต์ การสั่นสะเทือนและการสมดุล ระบบส่งกำลังและระบบบังคับเลี้ยว
เพื่อให้นักศึกษานำความรู้พื้นฐาน มาแก้ปัญหาทางด้านวิศวกรรม ความเข้าใจในการใช้เครื่องมือวัดและอุปกรณ์ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ควรมีการเปลี่ยนแปลงเครื่องมือวัดและอุปกรณ์ให้มีประสิทธิภาพที่ดีและทันสมัยขึ้น
ฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการเกี่ยวกับคุณสมบัติทางกลของวัสดุ เช่น การบิด การดึง การดัด ความแข็งแรงและความล้า การสั่นสะเทือนทางกล การสมดุล ทดลองความเร่ง ระบบเกียร์ ไจโรสโคป ทดลองเกี่ยวกับเครื่องยนต์ ระบบส่งกำลัง ระบบบังคับเลี้ยวและระบบเบรก
อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต 1.1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม 1.1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.1.4 วิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลต่อสังคม 1.1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายเกี่ยวกับประเด็นทางด้านคุณธรรมและจริยธรรม เพื่อให้นักศึกษาได้ตระหนักเห็นถึงคุณค่าของคุณธรรมและจริยธรรม
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา 1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม 1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา 1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และเข้าใจทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และวิศวกรรมพื้นฐาน 2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการสำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรมเครื่องกล 2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิศวกรรมเครื่องกลได้ 2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น โปรแกรมคอมพิวเตอร์ 2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิศวกรรมเครื่องกล ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
อธิบายการทดลองและมอบหมายให้ปฏิบัติการทดลอง
ประเมินจากการนำเสนอผลการทดลอง
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.1.2 สามารถรวบรวม วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมเครื่องกลได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลได้ 3.1.4 ปรับใช้องค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลอย่างเหมาะสม 3.1.5 พัฒนาความรู้ได้ด้วยตนเอง
มอบหมายให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการทดลองทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล
3.3.1 สอบกลางภาคและสอบปลายภาค 3.3.2 วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน 3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน 4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม 4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา 4.1.4 มีจิตสำนึกด้านความปลอดภัย
จัดมอบหมายให้ทำงานเป็นกลุ่มในการวิเคราะห์ปัญหาการทดลองทางวิศวกรรมเครื่องกล
ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1 มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์สำหรับงานทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล 5.1.2 แก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลได้อย่างสร้างสรรค์ 5.1.3 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.1.4 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรมเครื่องกลได้
อธิบายการใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการทดลองทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
6.1.1 มีทักษะในการบริหารด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ 6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและมีความร่วมมือกัน
อธิบายการใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการทดลองทางด้านวิศวกรรมเครื่องกล
6.3.1 ประเมินจากการทดลองใช้เครื่องมือในห้องปฏิบัติการ 6.3.2 ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ตาม มคอ.2 ทดสอบความรู้ ความเข้าใจ และทักษะการประลอง วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การส่งงานตามที่มอบหมาย การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 16 ตลอดภาคการศึกษา 25% 60% 15%
คู่มือปฏิบัติการทดลองของแต่ละงาน
3. เอกสาร และข้อมูลแนะนำ 3.1 Vibration Analysis , Vierck R.K 3.2 วิศวกรรมการสั่นสะเทือน , มนตรี พิรุณเกษตร 3.3 เครื่องล่างและระบบส่งกำลัง ,ชาญ ถนัดงาน 3.4 เอกสารเผยแพร่จากงานฝึกอบรมช่างยนต์ ฝ่ายบริการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทยจำกัด
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้ 2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้ 3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 4 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ