การจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ

International Business Management

1 จุดมุ่งหมายของรายวิชา
รู้ถึงปัจจัยพื้นฐานและปัจจัยเกื้อหนุนให้ธุรกิจขยายตัวสู่ธุรกิจระหว่างประเทศ ทราบถึงกระบวนการทางการจัดการที่เกิดขึ้นในองค์การระหว่างประเทศ เข้าใจถึงผลกระทบในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม รู้ถึงกลยุทธทางการจัดการสมัยใหม่รูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม รู้ถึงกลยุทธทางการจัดการสมัยใหม่รูปแบบต่างๆ ที่ใช้ในการจัดการของบริษัทข้ามชาติต่างๆ
2 วัตถุประสงค์ในการพัฒนารายวิชา
         เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านการจัดการระหว่างประเทศ เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจในด้านการจัดการระหว่างประเทศ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนรายวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ยังได้มีการปรับปรุงเนื้อหา และตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับการจัดการในยุคปัจจุบัน
ศึกษาพื้นฐานของการขยายตัวของธุรกิจระหว่างประเทศ ปัจจัยพื้นฐาน และปัจจัย เกื้อหนุนต่อการขยายตัวสู่ธุรกิจระหว่างประเทศ กระบวนการทางการจัดการที่เกิดขึ้น ในองค์การระหว่างประเทศ การลงทุนในต่างประเทศ กระบวนการวางแผน การจัด องค์การ การนำพาธุรกิจ และการควบคุมการดำเนินธุรกิจระหว่างประเทศ ศึกษา ผลกระทบในรูปแบบต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากความแตกต่างทางวัฒนธรรม และศึกษากลยุทธ์ทางการจัดการสมัยใหม่ในรูปแบบต่าง ๆ ที่ใช้ในการจัดการของบริษัทข้ามชาติใน ยุคปัจจุบัน
To study the expansion of international business. Fundamentals and factors are supported to expansion of international business. Managerial process that occurs in international organizations, Foreign Direct Investment, planning process, organizing, leading businesses and control of international operations. This course focuses on the effects of various forms which arise from cultural differences. And to study modern management and strategies in various forms used in the management of multinational companies at present.
     1  ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
2.1 ด้านคุณธรรม จริยธรรม 
2.1.1 ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
—1. มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น
™2. มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม มีความ สำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
™3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
™4. มีภาวะความเป็นผู้นำ และผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถ แก้ไขข้อขัดแย้ง และลำดับความสำคัญ
 
2.2.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ 
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของ รายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ และเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติ ในสภาพแวดล้อมจริง นอกจากนั้นยังใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้าน ทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง และการบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ
2.1.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม
—1. ประเมินการเข้าร่วมกิจกรรมในรายวิชาที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ
—5. ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
 
2.2 ความรู้
2.2.1  ผลการเรียนรู้ด้านความรู้
—1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญใน เนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนา ความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
™2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบาย ความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและ การดำรงชีวิตประจำวัน
—3. มีความรู้และความเข้าในในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การ ปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุง แผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
™4. มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่าง เท่าทัน
2.2.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ 
จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของ รายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ และเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยมอบหมายให้ทำรายงาน โครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน รวมถึงการจัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้ประยุกต์ใช้ความรู้ในการฝึกปฏิบัติ ในสภาพแวดล้อมจริง นอกจากนั้นยังใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้าน ทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง และการบรรยายในชั้นเรียน ถาม-ตอบ
2.2.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านความรู้
—1. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
—7. ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การทดสอบย่อย การนำเสนอรายงาน การค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
2.3 ทักษะทางปัญญา 
2.3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา
™1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จาก หลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์ แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
—2. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจาก ทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือก ที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขัน ทางธุรกิจ
™3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
2.3.2  กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา 
—3)  การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน 
—4)  การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง 
2.3.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา 
ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา และประเมินจาก การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และ วิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมา คำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา รวมถึงประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
2.4  ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
2.4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
—1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความ รับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้ง สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิง วิชาชีพได้
™2. มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไข ปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมใน ประเด็นที่เหมาะสม
™4. มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพ อย่างต่อเนื่อง
 
2.4.2 กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
™2. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำ และผู้ตาม
™3. จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการ อภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
™4. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายใน สถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา
™5. มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
2.4.3  กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
—1. การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค
—2. ประเมินจากพฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
 
2.5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2.5.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ
™1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณ มาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน
—2. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของ สื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้ง ในรูปแบบการเขียนรายงาน และการน าเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสม อย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์
™3. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการท า ธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
2.5.2   กลยุทธ์การสอนที่ใช้พัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 
™2. มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 
™3. ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล 
       
          2.5.3 กลยุทธ์การประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
—2. ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วย เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2.3.1,2.2.3.7,2.4.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค สอบรายหน่วย 8,17 70%
2 2.3.3,2.4.3.2,2.5.3.2 วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 2.1.3.1,2.1.3.5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1 ตำราและเอกสารหลัก     
รศ.ดร.ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร.  การจัดการระหว่างประเทศ. กรุงเทพฯ :
โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544.
รศ.ศิริวรรณ เสรีรัตน์และคณะ. องค์กรและการจัดการ. กรุงเทพฯ :
บริษัทธีระฟิล์ม และไซเท็กซ์ จำกัด,
2538.มปพ.
Philip Kotler. หลักการตลาด. กรุงเทพฯ : บริษัทเพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น จำกัด, 2545.
2.   เอกสารและข้อมูลสำคัญ
 ไม่มี
เอกสารและข้อมูลแนะนำ
เอกสารประกอบการเรียนการสอนวิชาการจัดการระหว่างประเทศ
1 กลยุทธ์การประเมินประสิทธิภาพผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสะท้อนความคิดจากพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2 กลยุทธ์การประเมินการสอน
ผลการสอบ การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินผู้สอน
3 การปรับปรุงการสอน
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยใน/นอกชั้นเรียน
4 กระบวนการสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา
    ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
การทวนสอบการให้คะแนน จากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบ ข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5 การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
   จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์ท่านอื่นๆ