สัมมนาการบัญชีการเงิน

Seminar in Financial Accounting

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ มาตรฐานการบัญชี ตลอดจนแนวทางการนำมาตรฐานการบัญชีไปใช้ในการปฏิบัติงานด้านการบัญชีการเงินสำหรับองค์กรรูปแบบต่าง ๆ
1.2 เพื่อให้นักศึกษาสามารถค้นคว้า นำเสนอ ข้อมูลในรูปแบบการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา
1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์ประเด็นปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาด้านการบัญชีการเงิน
1.4 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับ บทบาท คุณค่าแห่งวิชาชีพบัญชีต่อสังคม
1.5 เพี่อให้นักศึกษาตระหนักถึงจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
2.1 เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษาในการประยุกต์ แนวคิด หลักการ การค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการบัญชี เพื่อใช้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาด้านการบัญชีการเงิน
2.2 เพื่อเสริมสร้างทักษะการนำเสนอในรูปแบบการเขียนและวาจา
2.3 เพื่อเสริมสร้างจิตสำนึกและตระหนักถึงบทบาทของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต่อสังคม
อภิปรายและวิเคราะห์แนวทางการนำกรอบแนวคิดในการรายงานทางการเงิน และมาตรฐานการบัญชีไปใช้ในการปฏิบัติงานด้านบัญชีการเงินสำหรับองค์กรประเภทต่าง ๆ ประเด็นทางด้านบัญชีการเงินที่น่าสนใจ รวมทั้งปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการบัญชีการเงิน และจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยใช้กรณีศึกษา บทความ เอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อฝึกให้รู้จักทักษะในการเสนอข้อมูลทั้งการเขียนและการนำเสนอด้วยวาจา
10 ชั่วโมง
ความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพ และสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียนของสถาบันและสังคม  สามารถบริหารเวลา และ ปรับวิถีชีวิต อย่างสร้างสรรค์ในสังคม มีจิตสำนึกและพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
สอดแทรกเรื่องบทบาทและผลกระทบของวิชาชีพการบัญชีต่อส่วนรวม จัดสัมมนา เกี่ยวกับ จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ชี้แจงระเบียบของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับนักศึกษา เช่น การแต่งกาย วินัยนักศึกษา การสอบ และกำหนดข้อตกลงในการเรียน ซึ่งประกอบด้วย การเข้าเรียน การตรงต่อเวลา การส่งงานและวินัยในชั้นเรียน
1. ทดสอบความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับบทบาทของวิชาชีพการบัญชีต่อส่วนรวม จรรยาบรรณวิชาชีพ และ ความซื่อสัตย์
2. ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษา ตามข้อตกลงในการเรียนตลอดภาคการศึกษา  
2.1.1  มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฏี หลักการและวิธีทางการบัญชี
2.1.2มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.1.3  มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.1.4  สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัยและวิชาชีพทั้งทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
2.2.1  ใช้การสอนหลายรูปแบบ เช่น อภิปราย บรรยาย และการถาม-ตอบในชั้นเรียน โดยเน้นหลักทางทฤษฏีและการปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.2.2  มอบหมายให้ทำรายงานและนำเสนอหน้าชั้น
2.3.1   ประเมินจากแบบทดสอบด้านทฤษฏี
2.3.2   ประเมินจากรายงานที่มอบหมาย
3.1.1   สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.1.2   สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจ ในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.1.3    สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
3.2.1   กรณีศึกษา เกี่ยวกับ ปัญหาทางการบัญชีการเงิน เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหา
3.2.2   มอบหมายให้นำเสนอ ประเด็นทางการบัญชีการเงินที่น่าสนใจในปัจจุบัน โดยให้นักศึกษา กำหนดหัวข้อด้วยตนเอง และค้นคว้าข้อมูลเพื่อนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3.3.1   ประเมินจาก กรณีศึกษา และการทดสอบ
3.3.2   ประเมินจากการนำเสนอรายงานโดยผู้สอน และนักศึกษา โดยเน้นประเด็นด้านเนื้อหา
4.1.1   สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.2   มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ และวัฒนธรรมขององค์การได้เป็นอย่างดี
4.1.3  มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำหรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.1.4  มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
4.2.1   กำหนดให้ทำงานเป็นกลุ่ม โดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
4.2.2   เน้นเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับในงานกลุ่ม
4.2.3   มอบหมายงาน จัดสัมมนา โดยให้นักศึกษาเป็นผู้ดำเนินการ
4.3.1   ประเมินจาก การรายงานหน้าชั้น โดยผู้สอน และ นักศึกษาโดยเน้นประเด็น ความสามัคคีของกลุ่ม
4.3.2    สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
4.3.3   ประเมินจากผลงานของการจัดงานสัมมนา
5.1.1   มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.1.2   สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหา และกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.1.3   สามารถเลือกใช้เทคโนโลยี สารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมายและการสื่อสารสารสนเทศ
มอบหมายงานให้นำเสนอรายงานโดย
 ผู้สอนเป็นผู้กำหนดหัวข้อและ เนื้อหาที่ชัดเจน
               ผู้สอนกำหนดประเด็น และให้นักศึกษากำหนดหัวข้อ และ เนื้อหาเอง เกี่ยวกับ
               ประเด็นทางการบัญชีการเงินที่น่าสนใจ
               การนำเสนอ นักศึกษาสามารถกำหนดรูปแบบการนำเสนอ เลือกใช้สื่อเทคโนโลยี
               และสารสนเทศในการนำเสนอ ให้เหมาะสมกับหัวข้อที่นำเสนอ
ประเมินผลจากผลงานที่นำเสนอ โดยผู้สอน และนักศึกษา โดยเน้นประเด็นรูปแบบการ
นำเสนอ และ ความเข้าใจในเนื้อหา ตลอดจนความสามารถนำเนื้อหาที่นำเสนอไป
ประยุกต์ใช้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1, 3.1 การสอบปลายภาค ความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทนักบัญชี จรรยาบรรณผู้ประกอบวิชาชีพ แนวคิด ทฤษฏี หลักการของมาตรฐานการบัญชี การประยุกต์ หลักการ แนวคิด ทฤษฏี ของการบัญชีในการ แก้ปัญหา 17 40
2 1.1 สังเกตพฤติกรรมนักศึกษา ตามข้อตกลงในการเรียน การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย และ การส่งงานตามกำหนด ทุกสัปดาห์ 10
3 2.1,3.1,4.1,5.1 4.1 4.1 ประเมินผลงาน กรณีศึกษา และ การนำเสนอรายงาน สังเกตพฤติกรรมการทำงานในกลุ่มนักศึกษา ประเมินผลงาน การจัดสัมมนา ทุกสัปดาห์ 50
กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการประกอบวิชาชีพบัญชี
พรบ.การบัญชี พ.ศ. 2543 และประกาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
พรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 และประกาศอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
มาตรฐานการบัญชี และ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
Intermediate Accounting By Keiso&Weygandt
 International Accounting
ข้อมูลเกี่ยวกับ กฎหมาย ประกาศต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับวิชาชีพบัญชี มาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความ และ ข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับความเคลื่อนไหวทางวิชาชีพ สามารถสืบค้นได้จาก เว็บไซต์ ดังต่อไปนี้
     สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์
 
     กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
     ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
     กรมสรรพากร
และสามารถสืบค้นได้จากวารสารวิชาชีพบัญชีของ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ใช้แบบประเมินผลการสอนของอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัย
นำผลคะแนนของนักศึกษา และ ผลการประเมินผลการสอนของอาจารย์จากนักศึกษา ประชุมร่วมกันระหว่าง ผู้สอน และ หัวหน้าสาขา หัวหน้าสาขาวิชา เพื่อประเมินผลการสอนในภาพรวม
นำผลการประเมินการสอน และ ข้อแนะนำของนักศึกษาจากผลการประเมินตามแบบของมหาวิทยาลัย  และ ข้อแนะนำจากคณะกรรมการ มาพิจารณาปรับปรุงวิธีการสอน
นำผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา มาวิเคราะห์ เพื่อพิจารณาจุดที่นักศึกษาขาดทักษะ มาปรับปรุงการสอน โดยเน้นในเรื่องดังกล่าว
       ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
       สอบทานความตรงประเด็นของข้อสอบ
       ซึ่งการทวนสอบดังกล่าวดำเนินการโดยคณะกรรมการกำกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของสาขาวิชา
นำผลการประเมิน ตามข้อ 1,3 และ 4 มาพิจารณาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา เกี่ยวกับ
ผู้สอน การจัดตารางเรียน การสอนเสริม การทบทวนและปรับปรุงเนื้อหา และมาตรฐานของข้อสอบ