ภาษาจีนพื้นฐาน

Fundamental Chinese

1.เพื่อให้รู้ลักษณะโครงสร้างพินอิน  2.เพื่อฝึกทักษะการฟัง การพูด การอ่าน  3.เพื่อให้สามารถลำดับความคิดได้อย่างถูกต้องและมีเหตุผล  4.เพื่อสร้างเจตคติที่ดีต่อการเรียนภาษาจีน  5.เพื่อพัฒนากิจนิสัยในการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปสู่อีกภาษาหนึ่ง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาจีนเบื้องต้น และเป็นการเตรียมความพร้อมให้กับนักศึกษาเพื่อเรียนภาษาจีนในระดับสูงต่อไป โดยจะเน้นในด้านของการสนทนาและการเขียน รวมทั้งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับบริบทต่างๆในสังคมและในการปฏิบัติงานจริงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ศึกษาทักษะเกี่ยวกับการฟัง พูด อ่าน เขียนสัทอักษรภาษาจีน การอ่านออกเสียงคำและประโยค การใช้คำศัพท์ การสนทนาในชีวิตประจำวันแบบง่ายๆ รวมไปถึงการเขียนอักษรจีนเบื้องต้น
อาจารย์ประจำรายวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการทุกวันพุธ เวลา 15.00 – 17.00 น. ห้องพักอาจารย์สาขาศิลปศาสตร์ หรือ จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
 
มีจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมีการทำกิจวัตรของตนตามเวลาอย่างสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าเรียน การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด หมั่นศึกษาหาความรู้ในเรื่องของการติดต่อธุรกิจกับคู่ค้า เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1 บรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม  1.2.2 ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน สม่ำเสมอและตรงต่อเวลา  1.3.2 ส่งงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด  1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา โดยทางทฤษฎีเน้นทักษะเกี่ยวกับการฟัง พูด อ่าน เขียนสัทอักษรภาษาจีน การอ่านออกเสียงคำและประโยคความรู้ความเข้าใจในด้านคำศัพท์ สำนวนภาษาจีนและเนื้อหาของรายวิชา ส่วนทางด้านปฏิบัติเน้นด้านการสนทนาในชีวิตประจำวันแบบง่ายๆ การเขียนอักษรจีนเบื้องต้น รวมทั้งมีความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรม และความแตกต่างทางวัฒนธรรมประเพณีของกลุ่มสังคมต่างๆ  2.1.2 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  2.1.3 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.2.1 การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติ ตามที่ได้กำหนดไว้ในรายวิชา  2.2.2 ศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน  2.2.3 รวมกลุ่มอภิปรายและระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด  2.2.4 ศึกษาความรู้จากสื่อประกอบการสอน เช่น จากเว็บไซต์ออนไลน์ต่าง ๆ  2.2.5 ฝึกการปฏิบัติจริง  2.2.6 การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
2.3.1 ทดสอบกลางภาคและปลายภาค  2.3.2 การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน  2.3.3 การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติม  2.3.4 การนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ  3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ  3.1.3 มีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
3.2.1 ให้นักศึกษาค้นคว้า รวบรวม และสรุปข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ  3.2.2 ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่ม เพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะให้แก่กัน
3.3.1 การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี โดยการพัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน สังคมภายนอกชั้นเรียน และกลุ่มสังคมอื่น ๆ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความตระหนักรู้และมีความเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของกลุ่มสังคมต่าง ๆ รู้แนวทางการปฏิบัติตนตามมารยาทสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ รวมถึงส่งเสริมการนำความรู้นั้นมาช่วยเหลือสังคมในสถานการณ์การสื่อสารได้อย่างเหมาะสม  4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม  4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม  4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1 ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีตามมารยาทสังคมของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ  4.2.2 จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าร่วมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์
4.3.1 การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
5.1.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม  5.1.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม  5.1.3 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและสอดคล้องกับวัฒนธรรม
5.2.1 ให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนตามสถานการณ์ที่กำหนดในรายวิชา  5.2.2 ให้ผู้เรียนค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง off-line และ on-line
5.3.1 การฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 13043005 ภาษาจีนพื้นฐาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1/2.2.2/2.3.1 - ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 - ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 - ทดสอบย่อยครั้งที่ 3 - ทดสอบย่อยครั้งที่ 4 - รายงานเกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมจีน - สอบกลางภาคเรียน - สอบปลายภาคเรียน สัปดาห์ที่ 4 สัปดาห์ที่ 8 สัปดาห์ที่ 12 สัปดาห์ที่ 15 สัปดาห์ที่ 16 สัปดาห์ที่ 9 สัปดาห์ที่ 17 10% 5% 5% 10% 10% 20% 15%
2 1.1.3/1.2.1/1.3.1/1.3.3/2.2.3/2.3.2/2.3.3/4.3.1/5.3.1 - การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ - การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 2.2.7/2.3.4 - งานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 15%
ศิริภรณ์ บุญประกอบ. เอกสารคำสอนวิชาภาษาจีนพื้นฐาน. สาขาศิลปศาสตร์ มทร.ล้านนา พิษณุโลก.  เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ. พจนานุกรม จีน-ไทย. สํานักพิมพ์รวมสาส์น, 2555.
- การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา  - ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
- สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน  - สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน  - ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา  - ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
- ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน  - สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม (โดยเน้นกิจกรรมในลักษณะของงานกลุ่ม)  - สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
 
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดในลักษณะของงานกลุ่ม การสอบพูดรายบุคล โดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้า หรือไม่มีการพัฒนา จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
 
- ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ตามที่ได้ทดสอบไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก  - มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความน่าสนใจ  - ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สำรวจไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก  - ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี