การดำเนินงานและบริการอาหารและเครื่องดื่ม

Food and Beverage Service and Operation

 1. เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจโครงสร้างและลักษณะของงานในแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม
2. เพื่อให้นักศึกษารู้ถึงคุณสมบัติของพนักงานบริการในแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม
3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับอาหารและรายการอาหาร ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่ม รูปแบบและศิลปะการให้บริการ
4. นักศึกษาสามารถจัดโต๊ะอาหารและผสมเครื่องดื่มเบื้องต้นได้เพื่อนำไปใช้ในในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพและการทำงานในอนาคต
 1. เพื่อบูรณาการ การเรียนการสอนในกลุ่มวิชาชีพ ให้สามารถนำมาใช้ร่วมกัน
2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ และทักษะที่ได้จากการเรียนนำไปสู่การปฏิบัติในสถานที่จริง โดยเน้นกลุ่มประเทศในอาเซี่ยน
        ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างและลักษณะของงานในแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม คุณสมบัติของพนักงานบริการในแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม ความรู้เกี่ยวกับอาหารและรายการอาหาร ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่ม รูปแบบและศิลปะการให้บริการ ฝึกปฏิบัติการบริการอาหารและเครื่องดื่ม
 - อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษา ผ่านทางป้ายประกาศของสาขาวิชาฯ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.1.2 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
1.1.3 มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการ พัฒนา มีภาวะผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น
1.1.4 มีวินัยในการทำงาน และปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.2.1 เน้นย้ำการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบของห้องเรียน และความร่วมมือต่าง ๆ
1.2.2 อภิปรายกลุ่มในชั้นเรียน
1.2.3 สอดแทรกกรณีตัวอย่างที่เกี่ยวข้องและแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน
1.3.1 พิจารณาจากพฤติกรรมการเข้าเรียนและการทำงานที่ได้รับมอบหมายอย่างถูกต้องและตรงเวลา
1.3.2 พิจารณาจากการร่วมอภิปรายที่มีเหตุผล และยกตัวอย่างที่น่าสนใจ และสร้างสรรค์
1.3.3 ประเมินผลการจากกรณีศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
1.3.4 เช็คชื่อการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบของห้องเรียน และความร่วมมือต่าง ๆ
2.1.1 นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างและลักษณะของงานในแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม รวมทั้งคุณสมบัติของพนักงานบริการในแผนกบริการอาหารและเครื่องดื่ม
2.1.2 ความรู้เกี่ยวกับอาหารและรายการอาหาร ความรู้เกี่ยวกับเครื่องดื่ม รูปแบบและศิลปะการให้บริการ
2.1.3 นักศึกษาสามารถนำความรู้ในวิชาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไปใช้ในการปฏิบัติฝึกประสบการณ์วิชาชีพและการทำงานได้
2.2.1 บรรยาย และอภิปราย
2.2.2 ฝึกปฏิบัติการจัดวางโต๊ะอาหารและการบริการอาหาร
2.2.3 ฝึกการผสมเครื่องดื่มเบื้องต้นและการบริการเครื่องดื่ม
2.2.4 ฝึกจัดรายการอาหาร
2.2.5 สรุปผล นำเสนอผลงานเป็นกลุ่ม
 2.3.1 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
2.3.2 ประเมินจากการฝึกปฏิบัติ
2.3.3 ประเมินจากคำตอบข้อสอบอัตนัยที่เน้นถามสาระสำคัญในการดำเนินงาน
 3.1.1 สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎีไปสู่การปฏิบัติ
3.1.2 สามารถประมวลและศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาในงาน และสามารถหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้
 
 3.2.1 บรรยายและอภิปรายกรณีศึกษาร่วมกันในชั้นเรียน
3.2.2 ฝึกปฏิบัติการจัดโต๊ะอาหารและการผสมเครื่องดื่มเบื้องต้น
3.3.1 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
3.3.2 ประเมินจากการฝึกปฏิบัติ
3.3.3 ประเมินจากคำตอบข้อสอบอัตนัยที่เน้นถามสาระสำคัญในการดำเนินงาน
 
 4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม
4.1.2 สามารถพัฒนาทักษะมนุษยสัมพันธ์ บุคลิกภาพและจริยธรรมให้เหมาะสมกับการทำงานในองค์การธุรกิจ
 
 4.2.1 สอดแทรกประสบการณ์และเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในธุรกิจ ระหว่างการเรียนการสอน
4.2.2 อภิปรายกรณีศึกษาร่วมกันในชั้นเรียน
4.2.3 มอบหมายการทำงานกลุ่ม
 
 4.3.1 ประเมินจากการนำเสนอผลการปฏิบัติงานของแต่ละกลุ่ม และการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
4.3.2 ประเมินจากการเข้าเรียนและพฤติกรรมในชั้นเรียนของนักศึกษา
4.3.3 ประเมินจากประสิทธิผลของงานที่ได้รับมอบหมาย
4.3.4 ประเมินจากข้อสอบอัตนัยในส่วนที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในแผนกงานต่าง ๆ
 
 5.1.1 นักศึกษาสามารถสามารถใช้ภาษาในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
5.1.2 นักศึกษาสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร และการนำเสนอข้อมูลให้แก่กลุ่มเป้าหมายได้อย่างเหมาะสม
 
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ทางเว็บไซต์ แล้ววิเคราะห์พร้อมกับนำเสนอ ทั้งแบบบรรยาย และตารางตัวเลข พร้อมกับบอกแหล่งอ้างอิง
5.2.2 นำเสนอผลการศึกษาข้อมูล พร้อมการวิเคราะห์และนำเสนอในรูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมและจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะด้านปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4
1 13020008 การดำเนินงานและบริการอาหารและเครื่องดื่ม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 3.2 การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 5%
2 1.1, 1.2 การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม 8/13 5%
3 5.1, 5.2 การค้นคว้าด้วยตนเอง 3/11 5%
4 4.1, 4.2 การทำงานกลุ่ม 8/13 10%
5 2.1,3.1 การฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 25%
6 2.1, 2.2 การสอบ 9/18 50%
เอกสารการสอนที่ผู้สอนจัดทำเอง
สมสุข ตั้งเจริญ .2534. คู่มือบาร์เทนเดอร์.โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช.นนทบุรี
ฉลองศรี พิมลสมพงศ์.2540. การจัดบริการอาหารและเครื่องดื่ม. กรุงเทพฯ : ภาควิชาศิลปาชีพ
ศรีสมร คงพันธุ์. มปป .คู่มือการงานจัดเลี้ยง
ศักรินทร์ หงส์รัตนาวรกิจ.2551. การจัดโต๊ะอาหารและบริการ
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
1.4 ส่งเสริมให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อการเรียนการสอน และการพัฒนารายวิชาผ่านระบบการประเมิน on line ของมหาวิทยาลัย
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 ประเมินจากคะแนนฝึกปฏิบัติ
2.2 ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
2.3 สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2และ3 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน
3.2 สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียนและปรับปรุงแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้นหรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิภาพผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ
5.3ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลายและสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียนหรือตามที่ได้ศึกษาวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน