ภาษาอังกฤษ 1

English 1

. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1. รู้คำศัพท์ สำนวน และโครงสร้างภาษาที่สูงขึ้น

เข้าใจสาระสำคัญของเรื่องที่อ่านและฟัง


3. การพูด การอ่าน และการเขียน เพื่อใช้ในการสื่อสารในสถานการณ์ต่างๆ ใน ชีวิตประจำวัน

4. มีเจตคติที่ดีต่อการใช้ภาษาอังกฤษ
เพื่อพัฒนาทักษะการฟัง การพูด การอ่าน และ การเขียน เพื่อให้สามารถอ่านและฟัง บทความ เอกสารและวารสาร ตำราและรายงานเกี่ยวกับวิชาเฉพาะสาขา เพื่อให้สามารถเก็บสาระสำคัญ สรุปความ วิเคราะห์ความและรายงานเกี่ยวกับเรื่องที่อ่านหรือฟัง เพื่อให้สามารถเขียนรายงาน และรายงานปากเปล่าเกี่ยวกับสาขาวิชา เพื่อให้สามารถใช้ภาษาตะวันตกเป็นเครื่องมือในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้มีความรู้ความสามารถเป็นพื้นฐานในการศึกษาต่อ เพื่อให้สามารถใช้ภาษาตะวันตกที่เรียนเป็นเครื่องมือศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติม เพื่อพัฒนากิจนิสัยในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมด้วยตนเอง เพื่อให้มีเจตคติที่ดีต่อภาษาตะวันตก
ศึกษาและฝึกทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อใช้สื่อสารในสถานการณ์ต่างๆในชีวิตประจำวัน โดยใช้สำนวน คำศัพท์ และ โครงสร้างทางภาษาเพื่อการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง
-อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 2 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
 พัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง ให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะอันเป็นที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการ
- ให้ความรู้โดยสอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนต่างๆ
- กำหนดให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
- ให้นักศึกษานำความรู้ที่ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มในช่วงการอภิปรายระดมสมอง
- ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและช่วยกันระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
 
           -  พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
           -  ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
          -   การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
           - การเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งมหาวิทยาลัยฯ คณะฯ สโมสรนักศึกษาฯ สาขาฯ หลักสูตรฯ และชมรมได้จัดขึ้น
 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรม ภาษา การสื่อสาร และความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ส่วนในหลักการปฏิบัติเน้นการนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสารอย่างเหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย

อธิบายเนื้อหาใน Language focus ความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน ร่วมกลุ่มอภิปรายคำตอบและระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด ศึกษาความรู้จากสื่อประกอบการสอน เช่น แบบฝึกหัดออนไลน์จากเว็บไซต์ต่าง ๆ จากสื่อมัลติมีเดียในบทเรียนออนไลน์ Tell Me More

ฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาโดยการแสดงบทบาทสมมติ การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
- ทดสอบกลางภาคและปลายภาค
- การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
- การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมด้วยตนเอง
- การฝึกปฏิบัติในบทเรียนออนไลน์
พัฒนาผู้เรียนให้เกิด (1) ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ โดยนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดให้ และ (2) ทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์และบริบททางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
ให้นักศึกษาฝึกแก้ไขปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในสถานการณ์การสื่อสาร ตามเงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่กำหนด ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่มย่อย เพื่อเสนอแนะวิธีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ตามบริบทของวัฒนธรรมเฉพาะที่กำหนดในกรณีศึกษา จากนั้นอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะให้แก่กัน
- แบบฝึกปฏิบัติของนักศึกษา
- การทำกิจกรรมในชั้นเรียน
- การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน สังคมภายนอกชั้นเรียน และกลุ่มสังคมอื่น ๆ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความตระหนักรู้และมีความเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของกลุ่มสังคมต่าง ๆ รู้แนวทางการปฏิบัติตนตามมารยาทสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ รวมถึงส่งเสริมการนำความรู้นั้นมาช่วยเหลือสังคมในสถานการณ์การสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
- ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีตามมารยาทสังคมของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ
- จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าร่วมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์
- ทำแบบฝึกหัดนอกชั้นเรียน โดยกำหนดให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากการค้นคว้าหรือสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน
- การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
     - แบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
     - การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์การสื่อสารเฉพาะ ตามบริบทของวัฒนธรรมสากล
- ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนตามสถานการณ์การสื่อสารที่กำหนด
- ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกชั้นเรียนผ่านทางบทเรียนออนไลน์และเว็บไซต์ที่กำหนด
- ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง off-line และ on-line
- การฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน
- การฝึกปฏิบัติในบทเรียนออนไลน์
- การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
- การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2, 2.1,2.2,2.3, 3.1,3.2,3.3,3.4, 4.1,4.2,4.3, 5.1,5.2,5.3, 6.1,6.2,6.3 ทดสอบย่อย ท้ายบทของทุกบทเรียน บทเรียนละ 20 คะแนน เป็นแบบปรนัย และอัตนัย ตลอดภาคการศึกษา 20%
2 1.1,1.2, 2.1,2.2,2.3, 3.1,3.2,3.3,3.4, 4.1,4.2,4.3, 5.1,5.2,5.3, 6.1,6.2,6.3 ทดสอบทักษะการฟัง-พูด - ทักษะการฟังทดสอบจากแบบทดสอบในบทเรียน และแบบทดสอบเพิ่มเติม - ทักษะการพูด ใช้การทดสอบจากการแสดงบทบาทสมมติตามสถานการณ์ที่กำหนดให้ ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.1,1.2, 2.1,2.2,2.3, 3.1,3.2,3.3,3.4, 4.1,4.2,4.3, 5.1,5.2,5.3, 6.1,6.2,6.3 ทดสอบทักษะการอ่าน-เขียน - ทักษะการอ่านทดสอบจากเนื้อความในบทเรียน และตอบคำถามจากท้ายเนื้อหา - ทักษะการเขียน ใช้การทดสอบจากการมอบหมายงานเขียน เช่น การเขียน invitation card การเขียนบทสัมภาษณ์เพื่อนเรื่องการเรียน เป็นต้น ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 1.1 -3.4 สอบกลางภาคเรียน 9 25%
5 4.1-6.3 สอบปลายภาคเรียน 17 25%
      - Buckingham, A. et al.(2007). Get Real2. Thailand:Macmillian.
      - Gram, N.(2008). Sound waves 2. Singapore: McGraw Hill.
     - Lebayer, R.(2003). Journey reading 2. Hong Kong: Pearson Education North Asia.
     - Oxenden, C& Seligson, P.(1996). English file. Great Britain: Oxford University Press.
     -Richards, J.C.(1995). Basic tactics for listening. Cambridge: Cambridge University Press.
     - Richards, J.C.(1995). Expanding tactics for listening. Cambridge: Cambridge University Press.
     - Richards, J.C&Hull, J.(1990). Interchange. Cambridge: Cambridge University Press.
     - Richards, Jack et al.(2005). Interchange the third edition book 1. Cambridge: Cambridge University    
       Press.
     - Richards, Jack et al.(2005). Interchange the third edition book 2. Cambridge: Cambridge University    
       Press.
- Saslow, J.&Ascher, A.(2006). Top Notch 1. New York: Pearson Longman.
- Saslow, J.&Ascher, A.(2006). Top Notch 2. New York: Pearson Longman.
- Soars, J.& Liz(2001). American Headway 1. China: Oxford.
- Viney, K & Viney, P.(1996). Hand Shake: a course in communication, China: Oxford University Press.
- Webmaster. http://boggleworldesl.com/directionsESL.htm Retrieved on March 5, 2008.
- Webmaster. http://www.talent.ac.uk/uploads/contributions/1185 health worksheets.pdf. Retrived on May  
   14, 2008.
ไม่มี
- เว็บไซต์ต่างๆทีเกี่ยวข้องกับเนื้อหาตลอดจนแบบฝึกหัดออนไลน์
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย
- การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
- ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
- สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
- สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
- ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา
- ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
- ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน
- สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
- สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม โดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้า หรือไม่มีการพัฒนา จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
- ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ตามที่ได้ทดสอบไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
- มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความน่าสนใจ
- ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สำรวจไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
- ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี