โครงงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม

Environmental Engineering Project

    เพื่อพัฒนานักศึกษาให้สามารถปฏิบัติการเกี่ยวกับการทำโครงงาน  (ความเป็นมาของปัญหา  วัตถุประสงค์  ขอบเขต) ตามหัวข้อโครงงานในรายวิชา  33069305  โดยบูรณาการความรู้ความเข้าใจทั้ง ภาคทฤษฎีและปฏิบัติการทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม ผ่านกระบวนการทำโครงงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมของนักศึกษา (ปฏิบัติตามขั้นตอนโดยมีแผนการดำเนินงาน  การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนสรุปผลเพื่อการจัดทำรายงานและนำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการสอบโครงงาน) ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาปริญญานิพนธ์
 
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันกับการเปลี่ยนแปลง ได้แก่ การนำไปใช้งานที่เหมาะสมของแต่ละโครงงาน  การเกิดความรู้ใหม่ การพิสูจน์ทฤษฎี เป็นต้น รวมถึงสอดคล้องกับระเบียบและแนวปฏิบัติเรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552  ของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงาน คณะกรรมการการอุดมศึกษา (2552) และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับการทบทวนชื่อโครงงาน  ความเป็นมาของปัญหา  วัตถุประสงค์  ขอบเขต  ตามหัวข้อโครงงานในรายวิชา  33069305  การเตรียมโครงงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม  ศึกษาทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง  แนวทางการแก้ปัญหา  ปฏิบัติการตามขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน  รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล  สรุปผล จัดทำรายงาน  และนำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการสอบโครงงาน
จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่ม ตามเวลาที่นักศึกษานัดหมาย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์   (ตามความต้องการเฉพาะรายของนักศึกษา)
1.1.1  มีวินัย ขยัน  อดทน  ตรงต่อเวลา  รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม  เคารพกฎระเบียบ
             และข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
            1.1.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้ง
              ตามลำดับ ความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า
              และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
            1.1.3  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ  และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ  รวมถึงเข้าใจถึง   บริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา  ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
1.2.1  ให้ความรู้โดยการสอดแทรกคุณธรรม  จริยธรรม ในเนื้อหาของบทเรียนต่างๆ
            1.2.2  ให้นักศึกษาเข้าเรียนตรงต่อเวลา และให้นักศึกษาทำงานที่มอบหมายโดยการค้นคว้าข้อมูล และอ้างอิงแหล่งที่มาโดยไม่คัดลอก  หรือแอบอ้างผลงานผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
            1.2.3  ให้นักศึกษาฝึกทำงานกลุ่ม  ให้รู้หน้าที่การเป็นสมาชิกกลุ่ม  การเป็นผู้นำกลุ่ม  การมีส่วนร่วม         ในชั้นเรียน และกล้าแสดงความคิดเห็น
1.3.1  การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ  และตรงต่อเวลา
            1.3.2  การส่งงานที่มอบหมายตามเวลาที่กำหนด
            1.3.3  การพิจารณาจากงานที่มอบหมายที่มีคุณภาพ  แสดงถึงความตั้งใจ  อดทน และรับผิดชอบของ          นักศึกษา
2.2.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน  วิทยาศาสตร์พื้นฐาน  วิศวกรรมพื้นฐาน    และเศรษฐศาสตร์  เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  และการสร้าง  นวัตกรรมทางเทคโนโลยี
              2.2.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหา
             ของสาขาวิชาเฉพาะทางวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
            2.1.3  สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา  ด้วยวิธีการที่เหมาะสม  รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่          เหมาะสม
2.2.1  มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเพื่อทำโครงงาน
            2.2.2  เน้นการสอนทางทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้นักศึกษาสามารถดำเนินการทำโครงงานได้ทัน
             ตามกรอบเวลา มีการวางแผนขั้นตอนการทำงานที่เป็นไปตามหลักวิชาการ เช่นการรวบรวมข้อ
             มูล  การค้นคว้างานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการอ้างอิง
            2.2.3  สอนให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และแก้ปัญหาโครงงานที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
1.3.1  ประเมินจากรายงานความก้าวหน้าของโครงงานเป็นระยะ
            1.3.2  การพิจารณาจากโครงงานงานที่มีการวางแผนงาน  ความน่าสนใจของงาน การนำไปใช้
              ซึ่งแสดงถึงความตั้งใจ  อดทน และรับผิดชอบของนักศึกษา
            1.3.3  ประเมินจากการรายงานและการสอบนำเสนอต่อคณะกรรมการ
3.1.1  มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
            3.1.2  สามารถคิด  วิเคราะห์  และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ  รวมถึงการใช้ข้อมูล ประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              3.1.3 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการ
             พัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้เดิมได้อย่างเหมาะสม
            3.1.4  สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง  เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต  และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
3.2.1  ให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำความรู้ไปปรับใช้หรือเป็นแบบอย่าง
             ที่ดีในการทำโครงงาน โดยวางแผนปฏิบัติการจริงในโครงงานอย่างมีขั้นตอน
            3.2.2  ให้นักศึกษาปฏิบัติการอย่างตรงประเด็น  มีระบบการค้นคว้าข้อมูลที่ถูกต้องแม่นยำและ     นำไปใช้คิด  วิเคราะห์  แก้ปัญหาในโครงงานด้านวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมได้อย่างดี
              3.2.3  นักศึกษาใช้ความรู้ที่ค้นคว้ามาได้โดยมีจินตนาการที่นำมาปรับใช้กับงานของตนเองได้
               3.2.4  ให้นักศึกษาสามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานของโครงงาน  และการปฏิบัติงานของนักศึกษา  เช่น  ประเมินจากการนำเสนอรายงานต่อคณะกรรมการสอบ การทดสอบโดยใช้แบทดสอบหรือสัมภาษณ์  ประเมินจากข้อมูลและการสรุปผลการทดลองของโครงงาน เป็นต้น
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาไทยและภาษาต่างประเทศ
              สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้อย่างเหมาะสม
             4.1.2  สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและสอดคล้องกับทาง
               วิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
              4.1.3  รู้จักบทบาท  หน้าที่  และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย  ทั้งงานบุคคลและ            งานกลุ่ม  สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ            สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
              4.4.4 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และรักษาสิ่งแวดล้อม
4.2.1  ให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็นในการนำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการ
             สอบ
            4.2.2  ให้นักศึกษาต้องมีแผนงานและการดำเนินงานที่ทันตามกรอบเวลาที่กำหนด
              4.2.3ปลูกฝังให้นักศึกษามีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเอง และต่อการทำงานเป็นกลุ่มตามที่ได้รับมอบหมาย
             4.2.4 ให้มีจิตสำนึกในด้านความปลอดภัยในการทำงาน
ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วม และการแสดงออกของนักศึกษา ในการวางแผนการทำโครงงาน การรวมกลุ่มทำงานที่มีประสิทธิภาพ การนำเสนอรายงานกลุ่มต่อคณะกรรมการสอบ และพฤติกรรมที่แสดงออกในการตอบคำถามอย่างถูกต้อง ชัดเจน และตรงประเด็น
5.1.1  มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์ หรือการแสดงสถิติประยุกต์
              ต่อการทำงานได้อย่างเหมาะสม
 
            5.1.2  สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและ
                 มี ประสิทธิภาพ 
                5.1.3  มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางด้านการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดย
                ใช้สัญลักษณ์ 
5.2.1 ให้นักศึกษาได้ฝึกทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลโครงงานโดยเทคนิคทางสถิติ หรือคณิตศาสตร์
              ที่เกี่ยวข้อง 
             5.2.2 มอบหมายให้การทำรายงานและการนำเสนอโครงงาน มีรูปแบบที่ใช้เทคโนโลยีเหมาะสม
              5.2.3 การทำรายงานปริญญานิพนธ์ที่ถูกต้องตามแบบฟอร์มที่กำหนด
ประเมินจากความถูกต้องของแต่ละโครงงาน การนำเสนอรายงานกลุ่มต่อคณะกรรมการสอบด้วยสื่อที่เหมาะสม และความถูกต้องชัดเจนของรายงานฉบับสมบูรณ์
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ และขั้นตอนการทำงานได้อย่าง
              เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
             6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม  มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ  และมีความร่วมมือกัน
             เป็นอย่างดี
6.2.1  ให้นักศึกษาทำงานตามแผนงานที่ได้วางไว้  มีการรายงานความก้าวหน้าของงาน
            6.2.2  มอบหมายการทำโครงงานให้ร่วมกันรับผิดชอบ และมีหน้าที่ในกลุ่ม
6.3.1  ประเมินจากการวางแผนงาน และความก้าวหน้าของการปฏิบัติงานเป็นระยะ
            6.3.2  ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1 1.1,2.2 - นำเสนอรายงานความก้าวหน้าโครงงาน - ทดสอบกลางภาคเรียน ภาคทฤษฎี - นำเสนอโครงงานต่อคณะกรรมการสอบ และแก้ไขตามข้อแนะนำ รวมถึงการตรวจแบบฟอร์มปริญญานิพนธ์ตามที่กำหนด - ทดสอบปลายภาคเรียน ภาคทฤษฎี 7,8 9 13,14,15,16 17 20 % 5 % 60 % 5 %
2 1.1,4.1 - การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา ความมีระเบียบวินัย และรับผิดชอบในการเรียนสม่ำเสมอ รวมทั้งความซื่อสัตย์ในการทำงาน ตลอดภาคการศึกษา 10%
            เอกสารและสื่อประกอบการสอนรายวิชา โครงงานวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม และคู่มือรายละเอียดการทำปริญญานิพนธ์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา เชียงใหม่
ตัวอย่างปริญญานิพนธ์วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย
      1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
      1.2  แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
      1.3  ข้อเสนอแนะปัญหาอุปสรรคในการทำโครงงาน เพื่อนำไปปรับปรุงต่อไป
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
            2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน  
            2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา 
            2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
            3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน          
             3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาซึ่งได้จากการซักถาม และอภิปราย การตรวจผลงานรวมถึงการสอบกลางและปลายภาคเรียนมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ดังนี้
             4.1 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจรายงาน การให้คะแนนสอบและพฤติกรรม          สอบได้
            4.2  มีการแจ้งผลคะแนนสอบกลาง ประเมินความก้าวหน้าของโครงงานอย่างชัดเจน
             จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของรายวิชา มรการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาให้มีคุณภาพ ดังนี้
              5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปีหรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบสัมฤทธิ์ในข้อ 4
             5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในการประยุกต์ความรู้ซึ่งมาจากงานวิจัยหรืออุตสาหกรรมต่างๆ