สัมมนา

Seminar

(1) เพื่อให้นักศึกษารู้จักวิธีการสืบค้นข้อมูลที่น่าสนใจทางด้านวิศวกรรมอาหารจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
(2) เพื่อให้นักศึกษาสามารถรวบรวมและสืบค้นข้อมูลเพื่อที่จะนำมาใช้ในโครงงาน     
(3) เพื่อให้นักศึกษาสามารถกำหนดทิศทางการวิจัย เขียนโครงร่างของโครงงานด้านวิศวกรรมอาหารและสามารถนำเสนอโครงร่างวิจัยได้
เพื่อให้โครงร่างงานวิจัยที่นักศึกษานำเสนอรายวิชาสัมมนา เป็นหัวข้อการทำโครงงานวิจัยของนักศึกษาในรายวิชาโครงงานทางวิศวกรรมกระบวนการอาหาร
การนำเสนอและอภิปรายหัวข้อที่น่าสนใจทางวิศวกรรมกระบวนการอาหารในระดับปริญญาตรี การนำเสนอและวิจารณ์หัวข้อสำคัญในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับวิศวกรรมกระบวนการอาหาร นักศึกษาเขียนรายงาน เขียนบทความ และนำเสนอรายงานด้วยปากเปล่า
หมายเหตุ  การประเมินผลการศึกษา  ให้ค่าระดับคะแนนเป็น S  (Satisfactory), พ.จ.(พอใจ)  และ  U  (Unsatisfactory), ม.จ.  (ไม่พอใจ)
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
 

1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3.  มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
4. เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการทำงานวิจัย
2. ให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนตรงเวลา และแต่งกายให้ตรงตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ฯ
3. มอบหมายงานให้นักศึกษาในรูปแบบรายบุคคล และรายกลุ่ม
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
2. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมการนำเสนองาน
3. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
3. สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยาย  อภิปราย ฝึกการนำเสนอผลงาน และการจัดทำโครงร่างงานวิจัย
ประเมินจากการนำเสนอบทความทางวิชาการ และโครงร่างงานวิจัย
นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้น นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญา  พร้อมกับคุณธรรม และจริยธรรม โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1.  จัดให้มีการค้นคว้างานวิจัยจากแหล่งต่างๆ โดยเน้นวารสารภาษาอังกฤษ
2. สังเคราะห์งานวิจัยที่ค้นคว้าได้ให้สามารถนำไปใช้กับโครงร่างงานวิจัยของนักศึกษาได้
3. นำเสนอรายงานความก้าวหน้าของนักศึกษา
1. การส่งงานการการสังเคราะห์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยต่างๆ ที่ค้นคว้า
2. การนำเสนอผลงานในชั้นเรียนและรูปเล่มโครงร่างงานวิจัย
1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
3. สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ฝึกให้นักศึกษาทำงานร่วมกันเป็นคู่/กลุ่มจากการร่วมกันค้นคว้างานวิจัย การเขียนโครงร่างงานวิจัย การจัดทำสื่อนำเสนอผลงานต่างๆ
1. ประเมินจากการนำเสนอและรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
2. การตอบคำถามในการนำเสนอผลงาน
1. เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
2. สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3. ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ และทำรายงานฯ รวมทั้งรูปเล่มปริญญานิพนธ์โดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2. การนำเสนอโดยรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2. ประเมินจากการใช้ภาษาในการนำเสนองาน
1 มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย 
2. มีพัฒนาการทางด้านระบบต่าง ๆ ของร่างกาย
3. มีพัฒนาการทางด้านบุคลิกภาพ
1. ให้นักศึกษาค้นคว้างานวิจัยที่เป็นภาษาอังกฤษ เพื่อฝึกให้นักศึกษาได้แปล อ่าน และสังเคราะห์ให้เข้าใจ
2. ให้นำเสนองานในรูปแบบต่างๆ โดยใช้ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ
1. การส่งงานการการสังเคราะห์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยต่างๆ ที่ค้นคว้า
2. การนำเสนอผลงานในชั้นเรียนและรูปเล่มโครงร่างงานวิจัย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 4. เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 3. สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 1. มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 1. เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม 2. สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 3. ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล 1. มีพัฒนาการทางด้านร่างกาย 2. มีพัฒนาการทางด้านระบบต่าง ๆ ของร่างกาย 3. มีพัฒนาการทางด้านบุคลิกภาพ
1 52019302 สัมมนา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ด้านความรู้ บทความทางวิชาการ 7, 17 30%
2 ด้านคุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน/ การส่งงานตามที่มอบหมาย ทุกสัปดาห์ 10%
3 ด้านทักษะทางปัญญา บทความวิชาการ และ โครงร่างงานวิจัย 7, 17 20%
4 ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ โครงร่างงานวิจัย -การสรุปข้อมูลวิชาการ 7, 17 20%
5 ด้านทักษะวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอบทความวิชาการ และ โครงร่างงานวิจัย 7, 17 10%
6 ด้านทักษะพิสัย การนำเสนองาน 7, 17 10%
- ฐานข้อมูลวิจัย-วิทยานิพนธ์เต็มรูปของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- www.sciencedirect.com
- www.proquest.umi.com
- www.apps.isiknwoledge.com
- www.springerlink.com
- www.web.ebscohost.com
1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2. แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
 

1. ผลการทำงานของนักศึกษา
2. ความถูกต้องและความเข้าใจของผลงานที่นักศึกษาได้นำเสนอในรูปแบบต่างๆ
1. สัมมนาแลกเปลี่ยนการจัดการเรียนการสอนระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
2. การวิจัยในชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจาก      การเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการรายงานความก้าวหน้าโครงงานวิจัย มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1.  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2.  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบแบบฟอร์มการให้คะแนนการนำเสนอและการให้คะแนนรายงาน การให้คะแนนพฤติกรรม ฯลฯ
1. ปรับปรุงรายวิชาทุกๆ ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องหัวข้อปริญญานิพนธ์ รวมถึงกระบวนการสอนของรายวิชาดังกล่าว