ภาษาอังกฤษเพื่อธุรกิจการบิน

English for Airline Business

            เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับศัพท์ สำนวน และฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับงานธุรกิจการบิน จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบิน
  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพ ในงานด้านธุรกิจการบิน โดยเน้นการเรียนการสอนด้วยภาคทฤษฎีและปฏิบัติ อีกทั้งเพื่อสร้างเสริมสติปัญญาในเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจารณ์ได้อย่างเป็นระบบโดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
การเรียนรู้เกี่ยวกับศัพท์ สำนวน และฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้อง กับงานธุรกิจการบิน จัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบิน
         จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
1.1.1    [O] มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.1.2    [  ] มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 1.1.3    [•] มีวินัย  ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.1.4    [  ] เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
           - ให้ความรู้โดยสอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนต่าง ๆ             - กำหนดให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ             - ให้นักศึกษานำความรู้ที่ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มในช่วงการอภิปรายระดมสมอง            - ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและช่วยกันระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด            - จัดให้มีโครงการทำบุญสาขาศิลปศาสตร์
 
           - การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา            - การส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด            - การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน            - การเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งมหาวิทยาลัยฯ คณะฯ สโมสรนักศึกษาฯ สาขาฯ หลักสูตรฯ และชมรมได้จัดขึ้น            - การเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในการดำเนินโครงการทำบุญสาขาศิลปศาสตร์
 
2.1.1   [•] มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.1.2   [O] สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.1.3   [•] สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.1.4   [O] สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ              
 
-     ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ -    ศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน -    ร่วมกลุ่มอภิปรายคำตอบและระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด -    ศึกษาความรู้จากสื่อประกอบการสอน เช่น เนื้อหาเรื่องการร้องขออย่างสุภาพ การขอโทษ และการให้บริการในธุรกิจการบินบนเว็บไซต์ -    ฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาโดยการนำเสนอ การแสดงบทบาทสมมติเป็นผู้ให้บริการบนเครื่องบิน ฝึกประกาศในสนามบิน การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
 
              - ทดสอบกลางภาคและปลายภาค               - การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน               - การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมด้วยตนเอง               - การฝึกปฏิบัติในการนำเสนอ การแสดงบทบาทสมมติเป็นผู้ให้บริการบนเครื่องบิน ฝึกประกาศใน                  สนามบิน
 
3.1.1   [•] มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.1.2   [  ] มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 3.1.3   [•] มีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์           และวัฒนธรรมสากล
 
-    ให้นักศึกษาฝึกแก้ไขปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในสถานการณ์การสื่อสาร ตามเงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่กำหนด ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย -    ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่มย่อย เพื่อเสนอแนะวิธีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ตามบริบทของวัฒนธรรมเฉพาะที่กำหนดในกรณีศึกษา จากนั้นอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะให้แก่กัน
 
            - แบบฝึกปฏิบัติของนักศึกษา             - การทำกิจกรรมในชั้นเรียน             - การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
 
           4.1.1   [•] มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.1.2   [O] มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม 4.1.3   [•] สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม            4.1.4   [  ] สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
 
     - ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีตามมารยาทสังคมของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ      - จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าร่วมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์           - ทำแบบฝึกหัดนอกชั้นเรียน โดยกำหนดให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากการค้นคว้าหรือสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน
 
     - การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน      - แบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน      - การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
 
5.1.1   [  ] เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.1.2   [  ] สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.1.3   [•] ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและสอดคล้อง                           กับวัฒนธรรมสากล
 
            - ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนตามสถานการณ์การสื่อสารที่กำหนด             - ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกชั้นเรียนผ่านทางเว็บไซต์ที่กำหนด             - ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง off-line และ on-line
 
             - การฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน              - การฝึกปฏิบัติออนไลน์ เช่น หัวข้อ polite request, apologize, complaint             - การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน             - การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
 
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทดสอบความรู้ บทที่ 1-8 สอบกลางภาค 9 25%
2 ทดสอบความรู้ บทที่ 9-15 สอบปลายภาค 17 25%
3 ทดสอบภาคปฏิบัติตามหัวเรื่องต่างๆ การปฏิบัติกิจกรรมกลุ่มและเดี่ยว การทำงานมอบหมาย การฝึกปฏิบัติ การร่วมกิจกรรมเดี่ยว/กลุ่ม แบบฝึกหัดเพิ่มเติม การทำงานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
4 การมีเจตคติที่ดีต่อรายวิชา การเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
Emery, Henry and Roberts, Andy. 2008. Aviation.  Macmillan Publishers Limited.
เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษาอังกฤษ วัฒนธรรมของประเทศต่าง ๆ และการสื่อสารข้ามวัฒนธรรม         1.   http://www.eslflow.com/Tourismlessons.html         2.   http://www.btinternet.com/~ted.power/games.htm#g15         3.   http://public.doe.k12.ga.us/DMGetDocument.aspx         4.   http://nhd.heinle.com/crosswords/airport_print.html         5.   http://englishteacheroxford.co.uk/avlisten.aspx         6.  http://www.flightattendantcareer.com/faq.htm         7.  http://www.saberingles.com.ar/lists/airport.html         8.  http://www.newscientist.com/topic/aviation
 
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย      - การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา      - ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
 
     การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้      - สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน      - สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน      - ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา      - ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
 
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย      - ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน      - สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม      - สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป      - การวิจัยในชั้นเรียน
 
 ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่มโดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคน ว่ามีการพัฒนาก้าวหน้าหรือไม่มีการพัฒนาจากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้นหรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง 
- ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ตามที่ได้ทดสอบไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก      -  มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความน่าสนใจ      -  ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สำรวจไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก       - ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี