ธุรกิจเพื่อสังคม

Social Enterprise

1.1. เพื่อให้นักศึกษารู้และเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิด รูปแบบ และวิธีดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม
1.2. เพื่อให้นักศึกษารู้ เข้าใจ และประยุกต์หลักการบริหารธุรกิจไปใช้ในการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม
1.3. เพื่อให้นักศึกษาวิเคราห์ปัญหา อุปสรรค และใช้นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างความยั่งยืนของธุรกิจเพื่อสังคม
1.4. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์และเขียนแผนธุรกิจเพื่อสังคม
2.1. เพื่อให้สอดคล้องกับบริบทการเปลี่ยแปลงทงสังคมซึ่งมีการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม
2.2. เพื่อปรับปรุงรายวิชาให้ได้เกรฑ์มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
2.3. เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ที่ทันสมัย และสามารถนำความรู้ไปบูรณาการในงานอาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.4. เพื่อปรับปรุงกิจกรรมการเรียนการสอนให้สามารถพัฒนาศักยภาพนักศึกษาและเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 
2.5. เพื่อสร้างจิตสำนึกให้ตระหนักถึงความสำคัญในการประกอบธุรกิจที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
     แนวคิดพื้นฐาน รูปแบบ วิธีการดำเนินธุรกิจของกิจการเพื่อสังคม การประยุกต์หลักการบริหารธุรกิจที่นำไปใช้ในกิจการเพื่อสังคม การวิเคราะห์ปัญหา อุปสรรค โดยเน้นการใช้นวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างความยั่งยืนของกิจการเพื่อสังคม ฝึกวิเคราะห์และเขียนแผนธุรกิจของกิจการเพื่อสังคม รวมถึงการศึกษากรณีศึกษาจากกิจการเพื่อสังคมทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
1 ชั่วโมง/สัปดาห์  เฉพาะนักศึกษารายบุคคลหรือรายกลุ่มที่ต้องการคำปรึกษาทางวิชาการ
1.1.1. มีความรู้ ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจ มีจิตสำนึกสาธารณะ ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม เสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบ ซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผุ้อื่น
1.1.2. มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวมและส่ิงแวดล้อม มีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวมและสิ่งแวดล้อม
1.1.3. มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.4. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม และสามรถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
1.2.1. สอนโดยสอดแทรกจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจและชีวิตประจำวัน ไม่เอาเปรียบตนเองและผู้อื่น
1.2.2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยการเข้าเรียน ส่งงานหรือรายงานตรงเวลา และอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ค้นคว้าทุกครั้ง
1.2.3. จัดกิจกรรมให้ทำงานเป็นกลุ่มโดยผลัดกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ร่วมงานในทีม เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น
1.2.4. สอนแบบอภิปรายเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง
1.3.1. ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในการอภิปราย และสังเกตจากการทำงานกลุ่มร่วมกับผู้อื่น
1.3.2. ประเมินจากการเข้าเรียน ส่งงานและรายงานตรงเวลา และการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลในงานและรายงาน
1.3.3. ประเมินโดยสังเกตการทำงานกลุ่มของนักศึกษา
1.3.4. ประเมินจากการมีส่วนร่วมอภิปรายและการยอมรับความคิดเห็นของนักศึกษาในชั้นเรียน
2.1.1. มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อ่ืน ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2.1.2. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความร้ ทักษะ แะลสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
2.1.3. มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจในด้านการวางแนผ การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
2.2.1. สอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย บรรยายแบบตั้งคำถาม บรรยายเชิงปฏิบัติการ และอภิปรายกลุ่มแบบต่าง ๆ 
2.2.2. สอนฝึกปฏิบัติการเขียนแผนธุรกิจเพื่อสังคม โดยใช้ SBMC เป็นแนวทาง และเขียนโครงการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม
2.2.3. มอบหมายให้ค้นคว้าเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคมทั้งภายในและต่างประเทศเพิ่มเติม
2.3.1. ประเมินผลจากการสอบกลางภาคเรียน และสอบปลายภาคเรียน
2.3.2. ประเมินผลจากงานและรายงานที่มอบหมาย
2.3.3. ประเมินจากแผนธุรกิจเพื่อสังคม
2.3.4. ประเมินจากโครงงานและการนำเสนอโครงงาน
3.1.1. สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศจากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
3.1.2. สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
3.1.3. คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษาแปละประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
3.1.4. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.2.1. มอบหมายให้ศึกษาสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยแวดล้อมในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาต่อชุมชนหรือสังคม
3.2.2. มอบหมายให้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินกิจการเพื่อสังคมทั้งภายในและต่างประเทศเพิ่มเติม
3.2.3. มอบหมายให้แก้ปัญหาจากสถานการณ์จำลองหรือกรณีศึกษา
3.2.4. สอนให้บูรณาการข้อมูลที่ค้นคว้ามาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนงานและโครงงานกิจการธุรกิจเพื่อสังคม 
3.3.1. ประเมินผลจากงานหรือรายงานที่มอบหมาย
3.3.2. ประเมินผลจากแผนงานธุรกิจเพื่อสังคม
3.3.3. ประเมินผลจากโครงงานธุรกิจเพื่อสังคม
4.1.1. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
4.1.2. มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.3. มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงานในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4.2.1. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาร่วมกันทำแผนธุรกิจเพื่อสังคมเป็นทีม 
4.2.2. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อสังคมร่วมกัน 
4.2.3. กำหนดให้มีการสลับกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ร่วมทำงานในทีม
4.3.1. ประเมินผลจากการสังเกตการมีส่วนร่วมรับฟัง แสดงความคิดเห็น และจัดทำแผนธุรกิจเพื่อสังคม 
4.3.2. ประเมินผลจากการสังเกตการมีส่วนร่วมรับฟัง แสดงความคิดเห็น และจัดทำโครงงานเพื่อสังคม
4.3.3. ประเมินผลจากผลงานของทีมงาน
5.1.1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจและชีวิตประจำวัน
5.1.2. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจโดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
5.1.3. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทสที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1. มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคมจากเว็บไซต์ โดยวิเคราะห์ตามแนวทางที่กำหนด
5.2.2. มอบหมายให้นักศึกษาสรุปข้อมูลที่ค้นคว้าและจัดทำรายงานโดยใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างถูกต้อง
5.2.3. มอบหมายให้นักศึกษานำเสนอผลงานที่ค้นคว้าโดยใช้สื่อเทคโนโลยีในการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
5.3.1. ประเมินผลจากงานและรายงานที่มอบหมาย
5.3.2. ประเมินผลจากแผนงานและโครงการธุรกิจเพื่อสังคม 
5.3.3. ประเมินผลจากการนำเสนองานทางวาจาร่วมกับการใช้สื่อเทคโนโลยี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.2.1. สอนโดยสอดแทรกจริยธรรมในการดำเนินธุรกิจและชีวิตประจำวัน ไม่เอาเปรียบตนเองและผู้อื่น  1.2.2. ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยการเข้าเรียน ส่งงานหรือรายงานตรงเวลา และอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลที่ค้นคว้าทุกครั้ง 1.2.3. จัดกิจกรรมให้ทำงานเป็นกลุ่มโดยผลัดกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ร่วมงานในทีม เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น 1.2.4. สอนแบบอภิปรายเพื่อให้นักศึกษามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่าง 2.2.1. สอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย บรรยายแบบตั้งคำถาม บรรยายเชิงปฏิบัติการ และอภิปรายกลุ่มแบบต่าง ๆ 2.2.2. สอนฝึกปฏิบัติการเขียนแผนธุรกิจเพื่อสังคม โดยใช้ SBMC เป็นแนวทาง และเขียนโครงการดำเนินธุรกิจเพื่อสังคม 2.2.3. มอบหมายให้ค้นคว้าเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคมทั้งภายในและต่างประเทศเพิ่มเติม 3.2.1. มอบหมายให้ศึกษาสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับปัจจัยแวดล้อมในปัจจุบันที่ส่งผลกระทบให้เกิดปัญหาต่อชุมชนหรือสังคม 3.2.2. มอบหมายให้ค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับการดำเนินกิจการเพื่อสังคมทั้งภายในและต่างประเทศเพิ่มเติม 3.2.3. มอบหมายให้แก้ปัญหาจากสถานการณ์จำลองหรือกรณีศึกษา 3.2.4. สอนให้บูรณาการข้อมูลที่ค้นคว้ามาวิเคราะห์เพื่อจัดทำแผนงานและโครงงานกิจการธุรกิจเพื่อสังคม 4.2.1. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาร่วมกันทำแผนธุรกิจเพื่อสังคมเป็นทีม 4.2.2. แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาทำโครงงานเพื่อสังคมร่วมกัน 4.2.3. กำหนดให้มีการสลับกันทำหน้าที่ผู้นำและผู้ร่วมทำงานในทีม 5.2.1. มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับกิจการเพื่อสังคมจากเว็บไซต์ โดยวิเคราะห์ตามแนวทางที่กำหนด 5.3.2. ประเมินผลจากแผนงานและโครงการธุรกิจเพื่อสังคม 5.2.3. มอบหมายให้นักศึกษานำเสนอผลงานที่ค้นคว้าโดยใช้สื่อเทคโนโลยีในการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
1 BBABA225 ธุรกิจเพื่อสังคม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2.1, .2.2.2, 2.2.3 1. สอบกลางภาคเรียน 2. สอบปลายภาคเรียน 8, 17 ร้อยละ 60
2 3.1.1, 3.1.2, 3.1.3, 3.1.4, 4.1.1, 4.1.2, 4.1.3, 5.1.1, 5.1.2, 5.1.3 1. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม 2. ประเมินจากงาน / รายงาน / แผนงานธุรกิจเพื่อสังคม / โครงงานกิจการเพื่อสังคม 3. ประเมินจากการนำเสนอผลงาน ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 30
3 1.2.1, 1.2.2, 1.2.3, 1.2.4 1. ประเมินจากการเข้าเรียน ส่งงานและรายงานตรงเวลา และการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล 2. ประเมินโดยสังเกตจากการทำงานกลุ่มร่วมกับผู้อื่น 3. ประเมินจากการมีส่วนร่วมอภิปรายและการยอมรับความคิดเห็นของนักศึกษาในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 10
วิชัย โชควิวัฒน. วิสาหกิจเพื่อสังคม. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์, 2560.
1. คู่มือการเขียนแผนธุรกิจ
2. กิจการเพื่อแก้ปัญหาสังคม  www.tseo.or.th
3. SE Catalog  รวมกิจการเพื่อสังคมในไทย สำนักงานเสริมสร้างกิจการเพื่อสังคมแห่งชาติ
เว็บไซต์หัวข้อ วิสาหกิจเพื่อสังคม / กิจการเพื่อสังคม / ธุรกิจเพื่อสังคม 
และเว็บไซต์เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
1.1. แบบประเมินผู้สอน
1.2. ข้อเสนอแนะจากนักศึกษาระหว่างเรียน
1.3. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
2.1. การสังเกตความสนใจของผู้เรียน
2.2. การทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในรายวิชา
     ผลการประเมินการสอนในข้อ 2 มีการปรับปรุงการสอนจากการวิเคราะห์ระดับค่าคะแนนจากการเรียนของนักศึกษา แผนธุรกิจเพื่อสังคม และโครงงานกิจการเพื่อสังคม พบว่า ควรพัฒนาให้นักศึกษาสามารถเชื่อมโยงแนวคิดจากการทำแผนธุรกิจเพื่อสังคมมาเขียนโครงการกิจการเพื่อสังคมให้สอดคล้องและต่อเนื่องกันมากขึ้น
     ระหว่างกระบวนการเรียนการสอน มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน สอบถามนักศึกษา และตรวจผลงานของนักศึกษา 
     ภายหลังจากตัดเกรดเกรดผลการเรียนในรายวิชาแล้ว มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาโดยทวนสอบจากการออกข้อสอบ การให้คะแนนสอบ และงานที่มอบหมาย รวมถึงการให้คะแนนพฤติกรรมระหว่างเรียนและร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
     ผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสนอและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นโดยปรับปรุงกิจกรรมหรือโครงงานที่มอบหมายเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในการประยุกต์ความรู้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ทันสมัย