การบัญชีการเงิน

Financial Accounting

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และความเข้าใจและให้ความสำคัญของการบัญชีต่อประเภทธุรกิจ
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจและสามารถวิเคราะห์รายการค้า วิธีการบันทึกบัญชีเบื้องต้นเกี่ยวกับ เงินสด ลูกหนี้ ตั๋วเงินรับ สินค้าคงเหลือ เงินลงทุน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หนี้สินและส่วนของเจ้าของ ตามหลักการเบื้องต้นของการบัญชีทั่วไป และวงจรบัญชี
3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ สามารถจัดทำงบทดลอง ตลอดจนจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการและ กิจการซื้อขายสินค้า และกิจการอุตสาหกรรมได้
2.1  เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะการจัดทำบัญชี และจัดทำรายงานการเงินให้ถูกต้องตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป
2.2   เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีคุณภาพตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ
2.3  เพื่อปรับปรุงเนื้อหารายวิชาให้สอดคล้องกับการประกาศใช้ตามมาตรฐานการบัญชีของสภาวิชาชีพบัญชี
     ศึกษาและปฏิบัติความสำคัญของการบัญชีต่อประเภทธุรกิจ หลักการเบื้องต้นของการบัญชีทั่วไป และวงจรบัญชี ตลอดจนจัดทำรายงานทางการเงินสำหรับกิจการให้บริการ กิจการซื้อขายสินค้า และกิจการอุตสาหกรรม การบันทึกบัญชีเบื้องต้นเกี่ยวกับ เงินสด ลูกหนี้ ตั๋วเงินรับ สินค้าคงเหลือ เงินลงทุน ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์ สินทรัพย์ไม่มีตัวตน หนี้สินและส่วนของเจ้าของ
3.1  อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาผ่าน Facebook ได้ตลอดเวลา
3.2  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์
1) ฝึกให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรม
2) ฝึกให้นักศึกษามีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฏระเบียบของสถาบันและสังคม
3) นักศึกษามีความเคารพและปฏิบัติตามกฏระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ของมหาวิทยาลัย
4)นักศึกษามีจิตสำนึกและมีพฤติกรรมที่ดีโดยคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตน
 
1) สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ ในเนื้อหาวิชาเรียน
2) กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การสอบ การทำงานที่ได้รับมอบหมาย การส่งงาน การทำโจทย์ปัญหา และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
3) กำหนดให้นักศึกษาทำงานและทำแบบฝึกหัดเป็นกลุ่ม เพื่อให้รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น และกำหนดให้ทำงานเป็นรายบุคคลเพื่อให้รับผิดชอบตัวเองได้
4) สอดแทรกระเบียบวินัยของมหาวิทยาลัย และการปฏิบัติตนของนักศึกษาต่อเพื่อร่วมชั้นเรียนอาจารย์ และบุคคลอื่นที่นักศึกษาเกี่ยวข้อง
1) ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอ ตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด
2) ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
3) ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน ความกล้าแสดงออก ความตั้งใจเรียน พฤติกรรมที่มีต่ออาจารย์ รวมถึงการแต่งกาย
1) ความรู้และความเข้าใจในหลักการการบันทึกบัญชีตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป และมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
2) สามารถวิเคราะห์รายการ บันทึกบัญชี ตามหลักทางบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบัน
3) ความรู้อื่นที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ ประมวลรัษฎากร
1) การบรรยาย ยกตัวอย่าง และการถาม-ตอบ ในชั้นเรียน
2) แบบฝึกหัด และกรณีศึกษา เกี่ยวกับการวิเคราะห์รายการค้าและบันทึกบัญชี
1) ทดสอบย่อย
2) สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค
สามารถประยุกต์นำหลักการบัญชี มาตรฐานการรายงานทางการเงิน ไปใช้แก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้
บรรยาย นักศึกษาฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและกรณีศึกษา และร่วมกันอภิปราย
1) ทดสอบย่อย
2) สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค
สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
มอบหมายงานแบบกลุ่มย่อย เป็นกรณีศึกษาตัวอย่าง
1) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม
2) ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
สามารถนำวิธีวิเคราะห์เชิงตัวเลข ประยุกต์ในกรณีศึกษาทางบัญชี และเสนอวิธีการแก้ไข
บรรยาย นักศึกษาฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและกรณีศึกษา และร่วมกันอภิปราย
1) ทดสอบย่อย
2) สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 4
1 BACAC111 การบัญชีการเงิน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 6,12 8 18 30% 30% 30%
2 1 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตาม ระเบียบและข้อตกลงในการเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
-  รศ.ธารี  หิรัญรัศมีและคณะ. การบัญชีการเงิน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ วิทยพัฒน์. 2560
-  รศ.สุพาดา สิริกุตตา. การบัญชีการเงิน.  กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ บริษัทธรรมสาร จำกัด, 2550
-  มาตรฐานการบัญชีไทย
-  มาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ
- เว็บไซต์สภาวิชาชีพ
- เว็บไซต์กรมสรรพากร
- เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจ
- วารสารการบัญชี
การประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาในส่วนของนิสิตผู้เรียนในแต่ละหมู่นั้น ผู้สอนของทุกหมู่เรียนจะประชุมตกลงกันในกิจกรรมที่จะดำเนินการเพื่อให้ได้รับผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาที่สอนในแนวทางเดียวกัน และนำมาวิเคราะห์เพื่อการวางแผนการปรับปรุงต่อไป
          กิจกรรมที่จะนำไปสู่การประเมินประสิทธิภาพของรายวิชาโดยนิสิต  ได้แก่
          1.1  ผู้สอนจัดกิจกรรมพบนิสิตนักศึกษาเป็นกลุ่มซึ่งใช้กลุ่มที่ได้จัดไว้ในการมอบหมายงานทำแบบฝึกหัด เพื่อให้นิสิตนักศึกษาได้สนทนาในสาระเกี่ยวกับประสิทธิภาพของการเรียนการสอนที่ดำเนินอยู่
          1.2  ผู้สอนติดตามผลการมอบหมายงานของนิสิตแต่ละกลุ่มเป็นระยะ เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าและปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในการทำงาน
          1.3  ผู้สอนมอบหมายให้นิสิตนักศึกษาแต่ละคนเขียนบันทึกแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับวิธีการเรียนการสอนที่ดำเนินอยู่
          1.4  จัดให้มีการประเมินผู้สอนและประเมินรายวิชาโดยใช้แบบประเมินโดยส่วนกลางก่อนสอบกลางภาค เพื่อให้ผู้สอนได้ทราบและสามารถปรับปรุงได้ในภาคการศึกษานั้น หากผลการประเมินพบว่าควรมีการปรับปรุง
การประเมินการสอนโดยผู้ร่วมทีมการสอนและผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการ ดังนี้
         2.1  การประเมินการสอนโดยผู้ร่วมทีมการสอนดำเนินการโดยให้ผู้สอนได้เข้าสังเกตการณ์การสอนของหมู่เรียนอื่น แล้วนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันพร้อมข้อเสนอแนะ
         2.2  การประเมินการสอน โดยผู้ร่วมทีมการสอนร่วมกันออกข้อสอบและใช้ข้อสอบชุดเดียวกันทดสอบผู้เรียนเพื่อวัดผลการเรียนรู้ในแต่ละด้านตามที่ระบุ
         2.3  การประเมินการสอนโดยผู้ทรงคุณวุฒิ ดำเนินการทวนสอบข้อสอบก่อนนำไปใช้ โดยให้ผู้ทรงคุณวุฒิพิจารณาและเห็นชอบข้อสอบก่อนนำไปใช้
การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
          3.1  จัดให้มีการสัมมนาเพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการพัฒนารายวิชา โดยนำผลการประเมินประสิทธิภาพรายวิชา ผลการประเมินการสอน ผลการสอบ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้อง มาใช้ประกอบการพิจารณา
          3.2  จัดให้มีการวิจัยในชั้นเรียน หรือ การรายงานการปฏิบัติงานสอน ทุกสัปดาห์
ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา การสอบทานความตรงประเด็นของข้อสอบ โดยหัวหน้าสาขาวิชา
จากผลการประเมินประสิทธิภาพในข้อ 1. และ ข้อ 2. ดังกล่าวแล้วข้างต้น รวมทั้งการนำไปปรับปรุงการสอนในข้อ 3. แล้วนั้น เพื่อให้การสอนของรายวิชานี้มีคุณภาพอันนำไปสู่การผลิตบัณฑิตทางการบัญชีที่มีคุณภาพตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชีและการเงิน ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน ดังนี้
          5.1  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน โดยการให้มีอาจารย์ผู้สอนเดิมอยู่อย่างน้อย 1 คน แล้วจัดอาจารย์ผู้สอนใหม่เข้ามาหากสามารถดำเนินการได้ เพื่อให้ได้รับมุมมองใหม่จากอาจารย์ผู้สอนท่านใหม่
          5.2  ทบทวนและปรับปรุงหัวข้อการสอน กลยุทธ์การสอน วิธีการสอน วิธีการวัดผลและประเมินผล ฯลฯ ตามที่ได้รับจากผลการประเมิน