แคลคูลัส 2

Calculus 2

1. เข้าใจความหมายฟังก์ชั่นหลายตัวแปร สามารถระบุโดเมนของฟังก์ชั่นหลายตัวแปร และเขียนกราฟแสดงฟังก์ชั่นสองตัวแปรได้
2. หาลิมิตและตรวจสอบความต่อเนื่องของฟังก์ชันค่าจริงของสองตัวแปรที่กําหนดให้โดยใช้ทฤษฎีบท
3. หาอนุพันธ์ย่อยของฟังก์ชันค่าจริงของสองตัวแปรที่กําหนดให้
4. หาค่าอินทิกรัลสองชั้นของฟังก์ชันค่าจริงของสองตังแปรบนโดเมนของการอินทิเกรตที่กําหนดให้โดยใช้อินทิกรัลซ้อน
5. นําอินทิกรัลสองชั้นไปประยุกต์ใช้ เช่น ใช้หาพื้นที่ ปริมาตร มวล โมเมนต์ และโมเมนต์ของความเฉื่อย เป็นต้น
6. หาผลเฉลยของสมการเชิงอนุพันธ์สามัญอันดับที่หนึ่งและดีกรีหนึ่งที่กําหนดให้
1. เพื่อปรับรูปแบบแผนการสอนให้เข้ากรอบมาตรฐานคุณวุฒิการอุดมศึกษา (TQF)
2. เพื่อใช้ในรายวิชาก่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ที่ดีขึ้น 
          ศึกษาเกี่ยวกับฟังก์ชันหลายตัวแปร กราฟของฟังก์ชันสองตัวแปร  ลิมิต ความต่อเนื่อง อนุพันธ์ย่อยและการประยุกต์ ปริพันธ์หลายชั้น  และ  การประยุกต์ สมการเชิงอนุพันธ์สามัญอันดับ 1 ระดับขั้น 1 สมการเชิงอนุพันธ์เชิงเส้นอันดับn  ที่มีสัมประสิทธิ์เป็นค่าคงตัว
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
(1) มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
(2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
(3) มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
(4) เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ นอกจากนี้ ผู้สอนต้องสอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในทุกรายวิชา และส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกฝังจิตสำนึกใน การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องและเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
(1) การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา ที่มอบหมาย และการเข้าร่วมกิจกรรม
(2) ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
(3) ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
(4) ความซื่อสัตย์สุจริตในการทำงานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
 

(1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
(2) สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
(3) สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  สอบถาม ฝึกทำแบบฝึกหัด มุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ ชี้ให้เห็นจุดที่ต้องทำความเข้าใจ
(1) การทดสอบย่อย
(2) การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
(3) รายงานที่นักศึกษาจัดทำ
(4) งานที่ได้มอบหมาย
 

(1) มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ
(2) มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
(1) อภิปรายทฤษฎีควบคู่กับตัวอย่าง
(2) เสริมทักษะการอ่านและวิเคราะห์ให้รู้จักตั้งคำถาม
การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสอบถามรายบุคคล
(1) มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
(2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
(4) สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
(1) จับกลุ่มทำแบบฝึกหัด
(2) นักศึกษาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น
(3) ให้แบบฝึกหัดทบทวนเป็นการบ้าน
(1) สังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่มและในชั้นเรียน
(2) ประเมินจากความถี่และเวลาในการส่งงาน
(1) สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
(2) สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
(3) สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์โจทย์ แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม 
ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้เครื่องมือ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 2. มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 3. มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 4. เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 3. สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 1. มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 1. มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 3. สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 22012104 แคลคูลัส 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. ตรวจวัดด้านจิตพิสัย และการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
2 1-4 งานที่มอบหมาย สอบย่อย ทุกสัปดาห์ สอบย่อยสัปดาห์ที่ 4, 7, 12, 15 50%
3 2, 3 สอบกลางภาคและปลายภาคเรียน 8, 16 40%
ดำรง ทิพย์โยธา, ณัฏฐนาถ ไตรภพ และสุรชัย สมบัติบริบูรณ์. แคลคูลัส 2. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558, ISBN 978-974-03-3300-5.
รศ.ดร.ธีระศักดิ์ อุรัจจนานนท์, คณิคศาสตร์สร้างสรรค์, http://teerasak.rmutl.ac.th/  
1. ในวันแรกของการเรียนการสอน อาจารย์ผู้สอนอธิบายวิธีการสอนและวัดผล
2. สนทนาสอบถามความคิดเห็นนักศึกษาและให้นักศึกษาประเมินตนเองว่ามีระดับความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่กำลังจะศึกษาในภาคการศึกษานี้ที่ระดับใด เรียงลำดับจาก 1-5 (น้อยที่สุดถึงมากที่สุด) เป็นรายบุคคลคน
3. การใช้แบบประเมินการเรียนการสอนตอนปลายภาคเรียน
4. รับฟังความคิดเห็นผ่านเว็บบอร์ดของวิทยาลัยฯ
1. การสังเกตและวิเคราะห์พฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียน
2. ทดสอบวัด ผลการเรียนของนักศึกษาระหว่างเรียน
3. การตรวจงานที่มอบหมาย
4. รายงานสรุปเพื่อปรับวิธีการสอนให้เข้ากับกลุ่มนักศึกษา
1. ปรับปรุงการเรียนการสอนโดยอาศัยผลการประเมินในข้อ 2
2. รวบรวมข้อมูลรายงานพฤติกรรม และวิเคราะห์ผลระดับความรู้ที่นักศึกษาได้รับเพิ่มเติมหลังจบภาคการศึกษา
3. อาจารย์ผู้สอนเข้ารับความรู้เรื่องแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเพิ่มเติม
4. ปรับปรุงวิธีการสอนและรายละเอียดวิชาให้ทันสมัยอย่างสม่ำเสมอ
1. ระหว่างเรียนสุ่มตรวจสอบความรู้นักศึกษาอย่างสม่ำเสมอ
2. สรุปผลการประเมินความรู้จากนักศึกษาช่วงปลายภาคการศึกษา
3. อาจมีการทวนสอบคะแนนและเปรียบเทียบกระบวนการให้คะแนนโดยกรรมการวิชาการ
นำผลการประเมินจากนักศึกษาและการประเมินตนเองในครั้งนี้มากำหนดแผนการปรับปรุงในครั้งต่อไปและบันทึกเป็นหลักฐาน