การบัญชีบริหาร

Managerial Accounting

1.1 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิด หลักการและวิธีการใช้ข้อมูลต้นทุนเพื่อการตัดสินใจวางแผนและควบคุมการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอนและไม่แน่นอน เช่น การงบประมาณ ความสัมพันธ์และการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกำไร การควบคุมสินค้าคงคลัง
1.2 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ แนวคิด หลักการ เกี่ยวกับระบบต้นทุนฐานกิจกรรม ระบบต้นทุนผันแปร การกำหนดราคาสินค้า ราคาโอน การประเมินการปฏิบัติงาน
1.3 เพื่อให้นักศึกษาทำการศึกษาค้นคว้า การนำข้อมูลด้านต้นทุนมาใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาองค์กร
2.1 เพื่อพัฒนาความรู้ของนักศึกษาในการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนเพื่อการตัดสินใจ 2.2 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี สาขาวิชาการบัญชี
ศึกษาการใช้ข้อมูลต้นทุนเพื่อการตัดสินใจวางแผนและควบคุมการดำเนินงานของฝ่ายบริหารภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอนและไม่แน่นอน เช่น การงบประมาณ การวางแผนและควบคุมสินค้าคงคลัง ความสัมพันธ์และการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกำไร ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม ระบบต้นทุนรวม ระบบต้นทุนผันแปรการกำหนดราคาสินค้า ราคาโอน การประเมินผลการปฏิบัติงาน
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
๑) สามารถปฏิบัติตามข้อตกลงการเรียนในห้องเรียนได้ ๒) สามารถทำงานกลุ่มที่มอบหมายภายในเวลาที่กำหนด
กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนและระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับนักศึกษา เช่น การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน การให้นักศึกษามีส่วนร่วมในการกำหนดข้อตกลงการเรียนในห้องเรียน การทำงานที่ได้รับมอบหมายเป็นกลุ่ม
๑) ติดตามการปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ตลอดภาคการศึกษาและให้คะแนน 10% ๒) ผู้สอนประเมินผลการนำเสนอผลการนำเสนอผลงานที่มอบหมายเป็นกลุ่ม 5% และ นักศึกษาทุกคนมีส่วนในการประเมินผลการนำเสนอผลงาน ให้คะแนนกลุ่ม 5%
๑) แนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชีเกี่ยวกับและวิธีการใช้ข้อมูลต้นทุนเพื่อการตัดสินใจวางแผนและควบคุมการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอนและไม่แน่นอน เช่น การงบประมาณ ความสัมพันธ์และการวิเคราะห์ต้นทุน ปริมาณ และกำไร การควบคุมสินค้าคงคลัง ระบบต้นทุนฐานกิจกรรม ระบบต้นทุนผันแปรการกำหนดราคาสินค้า ราคาโอน การประเมินการปฏิบัติงาน ๒) ความรู้ด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ได้แก่ แนวคิดเกี่ยวกับเครื่องมือการบริหารแบบใหม่ เช่น ABM ๓) เทคนิคการการใช้ข้อมูลต้นทุนเพื่อการตัดสินใจวางแผนและควบคุมการดำเนินงานภายใต้สถานการณ์ที่แน่นอนและไม่แน่นอน
๑) การบรรยาย ยกตัวอย่าง และการถาม-ตอบในชั้นเรียน ๒) การฝึกหัดแก้ไขโจทย์ปัญหา
๑) การทดสอบย่อย ๒) การสอบกลางภาค ๓) การสอบปลายภาค ๔) มอบหมายงาน
๑) สามารถสืบค้นข้อมูลประมวลผลข้อมูลและแนวคิดต่างๆ จากเวบไซด์ อ่านและอธิบายการนำข้อมูลด้านต้นทุนประกอบการตัดสินใจได้
๑) การบรรยาย ยกตัวอย่าง และการถาม-ตอบในชั้นเรียน ๒) เปิดโอกาสให้นักศึกษา ค้นคว้า นำเสนอหน้าชั้นเรียน
๑) การทดสอบย่อย ๒) การสอบกลางภาค ๓) การสอบปลายภาค ๔) คุณภาพการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
๑) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย ได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ๒) สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่มได้
๑) ทำงานกลุ่ม โดยกำหนดหัวข้อให้ ๒) ให้นักศึกษาจัดทำสื่อประกอบรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
คุณภาพการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและรูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์
สามารถรายงานผลการศึกษาค้นคว้าทั้งการรายงานด้วยวาจาและการเขียนรายงาน ตามงานที่ได้รับมอบหมาย
จัดทำสื่อประกอบประกอบการรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
คุณภาพของสื่อและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3.
1 BACAC132 การบัญชีบริหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค สอบวัดความร้ 8 25
2 สอบปลายภาค สอบวัดความรู้ 18 30
3 ทดสอบย่อย 15 4,7,10 15
4 รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน การรายงานความก้าวหน้า , คุณภาพการนำเสนอ , รูปเล่มรายงานฉบับสมบูรณ์ 8 - 17 25
5 สังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง เช็คชื่อเข้าชั้นเรียน , การมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน , มารยามในห้องเรียน 1-17 5
การบัญชีบริหาร โดย สุปราณี ศุภระเศรณีและคณะ
www.thailandaccount.com
ข้อมูลการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพที่ควรติดตามและข้อมูลสถานการณ์เกี่ยวกับเหตุการณ์ปัจจุบัน ซึ่งได้จากเวปไชต์ต่อไปนี้
www.fap.or.th
www.rd.go.th
การทดสอบย่อย
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยเมื่อสิ้นภาคการศึกษา ระบบออนไลน์
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับต้นทุนและหลักการบัญชีเพื่อประกอบการตัดสินใจ
ให้กรรมการด้านวิชาการเป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบและการตัดเกรด
รองคณะบดีฝ่ายวิชาการเป็นผู้นำเสนอข้อสอบและการตัดเกรด ก่อนที่จะมีการสอบและการ ประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2 ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน วิธีการประเมิน และเนื้อหารายวิชา