เทคโนโลยีชีวภาพพื้นฐานทางการเกษตร

Fundamental Agricultural Biotechnology

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่างๆ ดังนี้
1.1 เข้าใจความหมาย หลักการ แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพ
1.2 เข้าใจเกี่ยวกับองค์ประกอบและกิจกรรมของเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
1.3 เข้าใจเทคนิคและกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพที่สำคัญ
1.4 สามารถประยุกต์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร  
1.5 เข้าใจข้อกำหนดและแนวทางในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในสิ่งมีชีวิต
1.6 เข้าใจความปลอดภัยทางชีวภาพ
1.7 เข้าใจสถานภาพปัจจุบันและผลกระทบของเทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อการเกษตร
1.8 มีเจตคติที่ดีต่อการศึกษาวิชาชีวเคมี
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ความเข้าใจทางเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร  
2.2 เพื่อปรับปรุงเนื้อหาที่สอนให้เป็นปัจจุบัน ทั้งนี้เพื่อพัฒนาความรู้และเทคโนโลยีทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพพื้นฐานทางการเกษตรให้สอดคล้องกับการพัฒนาระดับประเทศ และระดับโลก
ศึกษาเกี่ยวกับความหมาย หลักการ แนวคิดพื้นฐานที่สำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพ; เทคนิคและกระบวนการทางเทคโนโลยีชีวภาพที่สำคัญ;การประยุกต์ความรู้ทางเทคโนโลยีชีวภาพมาใช้เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร; ข้อกำหนดและแนวทางในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพในสิ่งมีชีวิตและความปลอดภัยทางชีวภาพ; สถานภาพปัจจุบันและผลกระทบของเทคโนโลยีชีวภาพที่มีผลต่อการเกษตร
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม เฉพาะรายที่ต้องการ
š1.1 มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดี และคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
1.2 มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
1. ชี้แจง ตกลงกฎเกณฑ์ต่างๆ และวิธีการเรียนการสอน ปรับทัศนคติต่อรายวิชาในชั่วโมงแรก
2. การตั้งประเด็นคำถามให้ผู้เรียนเกิดแนวความคิด เกิดการแสดงความคิดเห็นร่วมกันเพื่อให้เกิดความรู้สึกมีส่วนร่วมในชั้นเรียน มีแรงจูงใจในการเรียน
3. การอภิปรายรายบุคคลและรายกลุ่มเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมกับบุคคล ฝึกความเป็นผู้นำและสามารถนำไปบูรณาการได้
4. กระตุ้นให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
5. ปลูกฝังความมีระเบียบวินัยในตัวเอง โดยการกำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. ไม่มีการทุจริตในการสอบ
4. ประเมินผลกิจกรรมที่มอบหมายรายกลุ่มและรายบุคคล
5. สังเกตจากพฤติกรรมการตอบคำถาม
˜2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
š2.2 มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิต รู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
1. บรรยายและใช้สื่อการสอนชนิดต่างๆ อย่างเหมาะสม
2. การซักถามในบทเรียนรวมทั้งร่วมกันอภิปราย เพื่อแสดงความคิดเห็นและความสัมพันธ์เหล่านั้นตามความเข้าใจ
3. ทำการสอนโดยอาศัยวิดีโอหรือภาพเคลื่อนไหว (animation) เพื่อให้นักศึกษาเกิดการจินตนาการตามเนื้อหาและเกิดความเข้าใจในเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น
4. นำงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนมาทำการบูรณาการกับการเรียนการสอน เพื่อให้เกิดการอภิปราย เกิดคำถาม และเกิดการแก้ปัญหา
5. สร้างคำถาม มอบหมายงานเพื่อให้นักศึกษาได้เกิดการเรียนรู้และสืบค้นด้วยตนเองแล้วนำเสนอรายงานหน้าชั้น (presentation) หรือทำรายงาน (report)
1. การทำแบบทดสอบหลังเรียน
2. ผลการทำข้อสอบกลางภาคและปลายภาค
3. ประเมินผลการเรียนรู้จากผลงานที่มอบหมายในระหว่างเรียน เช่น จากการนำเสนอรายงานหน้าชั้น หรือ จากการทำรายงาน
3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
˜3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
3.3 ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ และรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้ และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
1. บรรยายและอภิปรายกรณีศึกษาร่วมกันในชั้นเรียนโดยเชื่อมโยงความสัมพันธ์ภายในเนื้อหาวิชาบูรณาการเข้ากับงานวิจัย งานบริหารวิชาการหรือศิลปวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น
2. การมอบหมายให้นักศึกษาทำความเข้าใจกับงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์แล้ว นำมาเสนอให้เพื่อนร่วมชั้นได้อภิปรายร่วมกัน เกิดทักษะในการค้นคว้า ตอบคำถาม ถามปัญหา แก้ปัญหาเฉพาะหน้าในการนำเสนอ
1. สอบกลางภาคและปลายภาคโดยข้อสอบเน้นการใช้สถานการณ์
2. สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายปัญหาและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในชั้นเรียน
3. จากการนำเสนอผลงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย
4.1 ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
š4.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
1. มอบหมายงานกลุ่มให้นักศึกษาจัดระบบการทำงานกลุ่มด้วยตนเอง
2. จัดกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนและนอกชั้นเรียนเพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกันและบุคคลภายนอก
1. ประเมินจากกระบวนการทำงาน และผลงานที่ทำเป็นกลุ่มหรือโครงงาน
2. พฤติกรรมการทำงานทั้งในและนอกชั้นเรียน
5.1 มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน
š5.2 มีทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง โดยใช้สื่อการสอนชนิดต่างๆ หรือสื่อออนไลน์อย่างเหมาะสม
2. นำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
1. คุณภาพของการจัดทำรายงาน
2. การนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีอย่างเหมาะสม
6.1 มีทักษะทางวิชาชีพ หมายถึง มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ สามารถแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้ที่เรียนมา และพัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ทางวิชาชีพ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 1 2 1 2 3 1 2 1 2 1
1 BSCAG004 เทคโนโลยีชีวภาพพื้นฐานทางการเกษตร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 3.1 การเข้าชั้นเรียน 1-8 และ 10-16 5%
2 3.1, 3.2, 3.3, 3.4 และ 3.5 การนำเสนองาน/การรายงาน การส่งงานตรงตามเวลา และการมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 25%
3 3.1, 3.2, 3.3 และ 3.5 การสอบกลางภาค 9 35%
4 3.1, 3.2, 3.3 และ 3.5 การสอบปลายภาค 18 35%
วรพันธ์ บุญชัย. (2558) เทคโนโลยีชีวภาพเบื้องต้น. กรุงเทพฯ: โอ. เอส. พรื้นติ้ง เฮ้าส์.
นิตย์ศรี แสงเดือน และสัมพันธ์ คัมภิรานนท์ (2553). เทคโนโลยีชีวภาพทางการเกษตร. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Chakravarty, A. K. (2013) Introduction to Biotechnology, Oxford University Press, USA.
Fromm, J. H. and Hargrove, S. M. (2012) Essentials of Biochemistry, Springer-Verlag Berlin Heidelberg, New York, USA.
Herren, V. R. (2013) Introduction to Biotechnology: An Agricultural Revolution, DELMAR CENGAGE Learning, USA
Mosier, N. S. and Ladisch, M. R. (2009) Modern Biotechnology: Connecting Innovations in Microbiology and Biochemistry to Engineering Fundamentals, John Wiley&Son, Inc. New York, USA.
Ratledge, C. and Kristiansen, B (2006) Basic Biotechnology, Cambridge University Press, UK.
Voet, D. and Voet, J. G. (1995) Biochemistry (2nd ed.), John Wiley&Son, Inc. New York, USA.
ภาวิณี คณาสวัสดิ์. (2537). การตรึงเอนไซม์และเซลล์. ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ทั้งด้านวิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนที่ส่งผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ ข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
1.2 ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
1.3 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเองโดยดูจากผลการเรียนของนักศึกษา เพื่อเป็นแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ สัมมนา หรือฝึกอบรม เพื่อพัฒนาและวางแผนปรับปรุงการเรียนการสอน
ให้อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ และทวนสอบจากคะแนนสอบหรืองานมอบหมายของผู้เรียน
การทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจาก

ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการเรียนของนักศึกษา

อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนและปรับปรุงเนื้อหาที่สอน กลยุทธ์การสอนและอุปกรณ์สื่อการสอนที่ใช้ให้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย