ศิลปะภาพพิมพ์ 2

Printmaking 2

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการทำภาพพิมพ์ด้วยกรรมวิธีแม่พิมพ์ร่องลึก(Intaglio Process) โดยเน้นในด้านการทดลองรูปแบบ วิธีการและความคิดสร้างสรรค์
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ การถ่ายทอดรูปแบบ พร้อมทั้งกระบวนการสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่นำเสนอ และเข้าใจในกระบวนการภาพพิมพ์
2. วัตถุประสงค์ในการพัฒนาปรับปรุงรายวิชา
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ การถ่ายทอดรูปแบบ พร้อมทั้งกระบวนการสร้างสรรค์ให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่นำเสนอ และเข้าใจในกระบวนการภาพพิมพ์
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์จากกระบวนการภาพพิมพ์ร่องลึก(Intaglio Process) โดยเน้นความพิเศษเฉพาะของเทคนิคและแนวความคิด
สอนเสริม :สอนเสริมตามความต้องการของนักศึกษาเฉพาะรายบุคคลประมาณ 1 ชั่วโมง
 
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ ความมีวินัยและสร้างระเบียบในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้


1.1.1ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
 
1.1.2มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งมีทัศนคติที่เปิดกว้าง เคารพและยอมับฟังแนวคิดของผู้อื่น เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ
 
1.1.3 รู้หน้าที่ในการทำงานของตนเอง องค์กรและสังคม
 
1.1.4สามารถวิเคราะห์วิธีการสร้างสรรค์การทำงานศิลปะได้อย่างเข้าใจ
 
1.1.5มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.2.1บรรยายพร้อมสาธิตขั้นตอนวิธีคิดและสร้างสรรค์งานศิลปะรวมถึงการแสดงการสาธิตเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ภาพพิมพ์ด้วยเทคนิคต่างๆ


1.2.2อธิบายแบกลุ่มหน้าชั้นเรียนและอธิบายแบบรายบุคคล

1.2.3 กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าหาตัวอย่างงานศิลปินที่เกี่ยวข้อง หรือสิ่งที่เป็นแรงบันดาลใจใการสร้างสรรค์งานเฉพาะตน
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และสร้างสรรค์งานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา

1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาสร้างสรรค์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมและสอดคล้องกับแนวความคิดในการสร้างสรรค์

1.3.3 ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาและสังเกตพฤติกรรม

1.3.4 ประเมินจากผลการดำเนินตามแผนการสอนในเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในทุกวิชา
 
2.1.1มีความสามารถในการศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติงานสร้างสรรค์โดยเน้นรูปแบบและเนื้อหา เพื่อถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานศิลปะภาพพิมพ์โลหะและภาพพิมพ์ล่องลึก

2.1.2มีความสามารถในการแก้ปัญหาและพัฒนาผลงานในเทคนิคภาพพิมพ์ร่องลึก

2.1.3มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานผลงานศิลปะภาพพิมพ์ที่มีคุณค่าในเทคนิคภาพพิมพ์ร่องลึก
ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายรูปแบบโดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการนำมสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์โดยวิธีบรรยายและสาธิตกระบวนการสร้างสรรค์ในห้องปฏิบัตกการอีกทั้งให้นักศึกษาชมวิดิโอจากศิลปินที่มีชื่อเสียงในแต่ละเทคนิคพร้อมทั้งวิเคราะห์เนื้อหาสาระให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา นอกจากนี้ยังได้เรียนรู้จากสถานที่จริงด้วยการไปศึกษาดูงานผลงานศิลปินภาพพิมพ์ที่สตูดิโอหรือหอนิทรรศการศิลปวัฒนธรรม
2.3.1ประเมินผลงานที่ปฏิบัติและวิเคราะห์พัฒนาการการสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและเหมาะสมกับรูปแบบและกระบวนการศิลปะภาพพิมพ์ร่องลึก

2.3.2ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูลเป็นกรณีศึกษารายบุคคล
3.1.1สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลที่นำมาเป็นแรงบันดาลใจอย่างเหมาะสม

3.1.2พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ และความสอดคล้องของกระบวนการคิดกับกระบวนการสร้างสรรค์

3.1.3มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ร่องลึก
 
3.2.1 การมอบหมายให้นักศึกษาทำงานสร้างสรรค์ที่ได้ทดลองค้นคว้าและแก้ไขปัญหาและการนำเสนอผลงาน

3.2.2 อภิปรายเดี่ยวและกลุ่มโดยร่วมแสดงความคิดเห็น 3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาในหัวข้อที่ศึกษาอย่างเหมาะสมรายบุคคล

3.2.4 สะท้อนแนวคิดจากกระบวนการต่างๆที่นักศึกษาสนใจเป็นพิเศษ
3.3.1ประเมินผลงานตามสภาพจริงของผลงานและวิเคราะห์พัฒนาการการสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและเหมาะสมกับรูปแบบและกระบวนการศิลปะภาพพิมพ์ร่องลึก

3.3.2 ประเมินโครงการหรือการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์

3.3.3 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาระหว่างการเรียน

3.3.4ประเมินจาการปฏิบัติงานของนักศึกษาและการมีส่วนร่วมในการเรียน
4.1.1 มีการพัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน

4.1.2มีการพัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมาและเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง

4.1.3 มีการพัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิชอบดังนี้

4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มสอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษยสัมพันธ์และการมีมารยาททางสังคม

4.2.2มอบหมายงานการค้นคว้าหาข้อมูลในการสร้างสรรค์ผลงานตามแต่หัวข้อที่นำเสนอและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันเพื่อฝึกทักษะการแสดงความคิดเห็นและการเคารพในความเห็นที่แตกต่างตลอดจนการฝึกวิพากษ์วิจารณ์งานผู้อื่นอย่างมีมารยาท

4.2.3 การนำเสนอรายงานการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์งาน
 
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการทำงานกลุ่มในห้องปฏิบัติงาน

4.3.2ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกในการ
นำเสนอผลงานพฤติกรรมการและผลงานกลุ่มในชั้นเรียน

4.3.3 ประเมินจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมพิเศษอื่นๆที่กำหนดขึ้น
 
5.1.1 ทักษะการคิด และกำหนดหัวข้อค้นคว้างานสร้างสรรค์โดยค้นคว้าในระบบออนไลน์

5.1.2พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน

5.1.3พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษาด้วยระบบออนไลน์

5.1.4พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลการสร้างสรรค์ทางอินเตอร์เน็ต


5.1.5ทักษะในการนำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือและเทคนิคที่เหมาะสม
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองเป็นรายบุคคล

5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคนิค วิธีการที่เหมาะสม
 
5.3.1ประเมินจากผลงานและรูปแบบการนำเสนอ

5.3.2ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอและวิธีการนำเสนอ
 
5.3.3 ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
 
6.1.1มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำได้อย่างถูกต้อง

6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง

6.1.3มีทักษะใการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงานในกระบวนการภาพพิมพ์ร่องลึก
6.2.1ใช้วิธีการสอนในลักษณะการบรรยายหน้าชั้นเรียนและการสาธิตขั้นตอนการสร้างสรรค์งานในแต่ละเทคนิค

6.2.2นำเสนอวิดิโอสาธิตขั้นตอนการสร้างสรรค์จากศิลปินที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะเทคนิค

6.2.3มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลในเทคนิคที่สนใจเป็นรายบุคคลและกลุ่ม

6.2.4มอบหมายให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงานสร้างสรรค์ตลอดภาคการศึกษา
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4–2.6, 3.24,5,6 การประเมินย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค การประเมินย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค ตลอดภาคการศึกษา 30%
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4–2.6, 3.2, 4.1–4.6, 5.3-5.4 , 6 ประเมินสรุปทุกชิ้นผลงาน วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานและผลงาน การส่งผลงานตามที่มอบหมาย การประเมินย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค การประเมินย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 50%
3 1,2,3,4, 5,6 -การเข้าชั้นเรียน -การมีส่วนร่วมในกิจกรรมที่มอบหมาย -การอภิปรายและเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน -ความรับผิดชอบในหน้าที่ ตลอดภาคการศึกษา 20%
1.1 ชลูด นิ่มเสมอ.องค์ประกอบศิลปะ.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช, 2531 1.2 อิทธิพล ตั้งโฉลก.ทศวรรษภาพพิมพ์ไทย.กรุงเทพมหานคร.สำนักพิมพ์คอนเทมพลัสบางกอกฟายอาร์ทเซ็นเตอร์, 2535 1.3 สูจิบัตรนิทรรศการศิลปกรรมที่เกี่ยวข้องทั้งในประเทศและสากล อาทิ สูจิบัตรนิทรรศการศิลปกรรมแห่งชาติ สูจิบัตรนิทรรศการงานภาพพิมพ์นานาชาติจัดโดยประเทศไทยและสูจิบัตรนิทรรศการงานภาพพิมพ์นานาชาติจัดโดยประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา เช่น การสร้างสรรค์ในกระบวนการภาพพิมพ์ร่องลึก(Intaglio Process) ในเทคนิคภาพพิมพ์โลหะกัดกรด(Etching) อาทิเช่น Hard Ground, Soft Ground, Relief, Aquatint และ Multiple Plate เป็นต้น
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา เช่น การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ในกระบวนการภาพพิมพ์ร่องลึก(Intaglio Process) ในเทคนิคภาพพิมพ์โลหะกัดกรด(Etching)และเทคนิคภาพพิมพ์ จารเข็ม( Dry Point) อาทิเช่น Hard Ground, Soft Ground, Relief, Aquatint และ Multiple Plate เป็นต้น
1.1 กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
 
1.2การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา


1.3การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน

2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา

2.3 ผลงานการสร้างสรรค์

2.4 ผลความพึงพอใจของผู้เรียน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้

3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน

3.2 การวิจัยสร้างสรรค์ในและนอกชั้นเรียน

3.3ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เข้าร่วมกิจกรรมการประกวดการสร้างสรรค์งานศิลปกรรม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

4.1การตรวจสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร

4.2มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบ ผลงานสร้างสรรค์ วิธีการให้คะแนนผลงาน และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
 
 
5.2 เชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขาจากภายนอกสถาบัน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากผลงาน และข้อมูลการค้นคว้า