ระเบียบวิธีวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์

Research Method in Product Design

           1.  รู้ความหมาย  ความสำคัญของการวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์
2.  เข้าใจระเบียบวิธีและขั้นตอนการทำวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์
3.  เข้าใจการสร้างกรอบแนวคิดในการทำวิจัยด้านการออกแบบ
4.  สามารถนำความรู้ไปใช้ในการทำวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์
5.  ตระหนักและเห็นคุณค่าในความสำคัญของการทำวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในกระบวนการทำวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์  การค้นคว้าข้อมูลจากแหล่งข้อมูลต่างๆ  การเขียนโครงการวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย และการนำเสนอผลงานวิจัย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในวิชา การเตรียมโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์ (Pre-Product Design Project) และ วิชาโครงงานออกแบบอุตสาหกรรม (Industrial Design Project)  รวมถึงการเตรียมพร้อมที่จะเป็นนักวิจัยออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ในหน่วยงานหรือในสถานประกอบการที่นักศึกษาเข้าไปทำงานหลังจากจบการศึกษา
ศึกษาเกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัยออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ กระบวนการวิจัย การวางแผนการวิจัย การเขียนโครงการวิจัย  เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การเก็บรวบรวมข้อมูล  การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปผลและการนำเสนองานวิจัยสำหรับสอบโครงงานออกแบบผลิตภัณฑ์
อาจารย์ประจำรายวิชา  แจ้งให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์ ทาง msn และ ทาง email address ของอาจารย์ผู้สอน
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการของผู้เรียน
1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม  จริยธรรม =
     1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ =
                      1.1.3 มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา  และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคมและ สิ่งแวดล้อม =
      1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ =
1.2.1  ใช้วิธีการสอน active learning ในชั้นเรียน / ผู้เรียนเรียนเพิ่มเติมจากสื่อ Digital ที่ออนไลน์ ใน google drive ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลาตามความต้องการของผู้เรียน และแสดงความซื่อสัตย์ต่อการเรียนและการส่งผลงาน

มีกิจกรรมนำเสนองานที่ได้รับมอบหมายหน้าชั้นเรียน
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามใบงานที่ให้และตรงเวลา
                     1.3.2  ประเมินผลงานตามที่ได้รับมอบหมาย
                   1.3.3  ผู้เรียนประเมินผลตนเองและเพื่อนในชั้นเรียน  กรณีศึกษา
นักศึกษาจะมีความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการทำงานวิจัยเพื่อการออกแบบ =    
                     การวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหาในการทำวิจัย การสร้างกรอบคิดในการวิจัย   ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ การสืบค้นข้อมูลเพื่อการออกแบบ การกำหนดประชากรและกลุ่มตัวอย่าง  การเขียนโครงร่างวิจัยและการสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย   การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสม  การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เทคโนโลยี =   
บูรณาการนำผลงานวิจัยไปใช้ในสร้างสรรค์งาน หรือแก้ปัญหา  วิธีการนำเสนอผลงานวิจัย การเขียนรายงานการวิจัย  การเขียนบทความวิจัย และ การเผยแพร่งานวิจัย การนำเสนองานวิจัยและ การจัดแสดงผลงานวิจัย   =   
            ใช้วิธีการสอน Collaborative learning, กิจกรรมการสอนแบบ Active learning จัดทำสื่อ Digital   ในรูปแบบ e-book ออฟไลน์และออนไลน์ เป็นสื่อเสริม เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ตลอดเวลาตามความต้องการของผู้เรียน และ ผู้สอนใช้วิธีการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยใช้ delivery mode - Team Learning  ผู้เรียนสามารถวางแผนในการเรียน Mind mapping เชื่อมโยงความรู้ ทฤษฎี ที่ได้จากการนำเสนอโดยสื่อการสอน เอกสารอ่านประกอบ  ผู้เรียนสืบค้นข้อมูลนำความรู้ที่ได้มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในห้องเรียน   การมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ใช้การสอนแบบการเรียนรู้ร่วมกัน ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและระหว่างผู้เรียนด้วยกันเอง มีปฏิสัมพันธ์ช่วยกันแสวงหาความรู้     
2.3.1 ใช้แบบทดสอบหลังเรียนในแต่ละบทเรียน มีการประเมินผลโดยการสอบย่อย  มีการสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
           2.3.2   ในส่วนของงานที่มอบหมาย ประเมินจากผลงานและประเมินจากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
                      2.3.3  ผู้เรียนประเมินตนเองและประเมินผลงานของเพื่อน   
 
ประยุกต์ความรู้ พัฒนาความสามารถในการสร้างกรอบคิดในการการทำวิจัย  ความสามารถในการสืบค้นเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสำรวจหรือศึกษาข้อมูลเบื้องต้น  การวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลงานวิจัยสร้างสรรค์และวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่สำเร็จแล้ว =
                   ความสามารถในการนำความรู้มาคิดใช้อย่างเป็นระบบ เขียนผังความคิด (Mind mapping) การเขียนโครงการวิจัย การเขียนบทความวิจัย  ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี ในการเรียน จากสื่อออนไลน์ที่ผู้สอนจัดทำ และการส่งงาน =
3.2.1   Flip classroom, Think pair share และให้โอกาสผู้เรียนได้ใช้เทคโนโลยี สืบค้นความรู้จากฐานข้อมูลต่างๆ  เรียนรู้ด้วยตนเอง วางแผนการเรียนและการประเมินผลการเรียน การตรวจสอบผลการเรียนด้วยตนเอง  ผู้สอนทำหน้าที่สรุปองค์ความรู้เพื่อความถูกต้อง
              3.2.2   การมอบหมายให้ผู้เรียนวิเคราะห์และสังเคราะห์ผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาหลักสูตร ปฏิบัติงาน
              3.2.3   มอบหมายให้ผู้เรียนฝึกสืบค้นข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ สำรวจข้อมูลเบื้องต้นเพื่อหากรอบแนวคิดในการทำวิจัย การศึกษาโจทย์จริงจากองค์กรหรือจากสถานการณ์ที่เป็นปัญหา แล้วนำมาเขียนเป็นโครงร่างงานวิจัย ฝึกสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย การลงภาคสนามในฐานะผู้ช่วยวิจัยร่วมกับอาจารย์ผู้สอน การวิเคราะห์ข้อมูล และเขียนผลงานวิจัย อีกทั้งนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
             3.2.4   การสะท้อนแนวคิดจากพฤติกรรมการเรียน การทำงานเป็นขั้นตอนตามระเบียบวิธีวิจัย และผู้สอนให้โอกาสผู้เรียนทำงานตามความถนัด
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค 
           3.3.2   สอบย่อย  วัดผลจากการคะแนนงานกิจกรรมและ การนำเสนอผลงาน
           3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการเรียนทั้งเรียนในชั้นเรียนและเรียนด้วยสื่ออื่น  
         4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน และระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน=
         4.1.2   พัฒนาความเป็นผู้พูดและผู้ฟัง  ผู้นำและผู้ตาม การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  ™
        4.1.3  พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา ™ 
        4.1.4   พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีในการเรียน  การส่งงาน มีความซื่อสัตย์ในการปฏิบัติงาน  =
4.2.1   ให้ผู้เรียนปฏิบัติงานตามใบงาน เช่น ให้เขียนโครงร่างงานวิจัย สร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยด้วยทฤษฎี ให้เขียนบทความวิชาการ
        4.2.2  มอบหมายงานรายบุคคล เช่น ให้สืบค้นงานวิจัยสร้างสรรค์ งานวิจัยทางด้านพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรม หรือทางด้านบรรจุภัณฑ์และงานกราฟิกที่ทำสำเร็จแล้วจากห้องสมุด จากฐานข้อมูลงานวิจัย สำเนาหรือดาวน์โหลดมาทำการวิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อนำมาทำวิจัยต่อยอด   จัดทำเป็นไฟล์และส่งให้ผู้สอนทางอินเทอร์เน็ต   
         4.2.3    นำเสนอผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัย   การนำเสนอโครงงานวิจัยหน้าชั้นเรียน
         4.2.4    ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมมือกัน วิเคราะห์โจทย์ที่ได้รับจากชุมชน จากสถานประกอบการ เช่น ระดมสมอง กำหนดปัญหา  สร้างเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน (กิจกรรมรายบุคคล และ กิจกรรมกลุ่ม)
           4.3.2  ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมาย
           4.3.3   ประเมินจากนำเสนอหน้าชั้นเรียน
            5.1.1   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง  =
            5.1.2   พัฒนาทักษะในวิเคราะห์และสังเคราะห์สื่อ =
            5.1.3   พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ  การ Scan และ Upload ส่งงานทางอินเทอร์เน็ต  การสนทนาในกลุ่มไลน์  ในอีเมล์  ™  
5.2.1   กิจกรรม Active learning
           5.2.2   นักศึกษาทำงานตามใบงานที่มอบหมาย
           5.2.3   นักศึกษานำเสนอผลงานที่ได้รับมอบหมายในชั้นเรียนโดยใช้สื่อเป็นเครื่องมือ
           5.2.4   มอบหมายให้ส่งผลงานเป็นอิเล็กทรอนิกส์ไฟล์ทางอีเมล์ของอาจารย์ผู้สอน
           5.2.5   มอบหมายงานให้เรียนหาความรู้ด้วยตนเอง  จากสื่อ digital ซึ่งมีครบทุกบทเรียน ประกอบด้วย เอกสารอ่านประกอบ  วิดีโอ Power point  ใบงาน  และ Web link ที่เกี่ยวข้อง แบบทดสอบหลังเรียน
5.3.1   ประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติตามใบงานที่มอบหมาย
         5.3.2  ประเมินจากการนำเสนอ
         5.3.3   ประเมินจากการมีส่วนร่วม การเป็นผู้ฟังที่ดี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา
1 43023351 ระเบียบวิธีวิจัยออกแบบผลิตภัณฑ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,2.2, 2.3 3.1,3.2 ทำแบบทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน บทที่ 1-7 สอบกลางภาค ทำแบบทดสอบหลังเรียน บทที่ 8-14 สอบปลายภาค 1-7 8 9-15 17 10% 15% 10% 15%
2 3.1,3.2 4.1 4.2, 4.3, 4.4 5.1,5.2, 5.3 การปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายและ การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน การเข้าเรียนสื่อออนไลน์ การ scan และ upload ส่งงานทันเวลา ตลอดภาคการศึกษา 25%
3 1.1, 1.2, 1.3, 1.4 5.1, 5.2, 5.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกลุ่ม และการเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 15%
นิรัช  สุดสังข์. 2548.  การวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.  กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
   บุญชม  ศรีสะอาด. 2545.  การวิจัยเบื้องต้น.  พิมพ์ครั้งที่ 7.  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาสน์.
  พรสนอง   วงศ์สิงห์ทอง. 2545.   วิธีวิทยาการวิจัยการออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่ง
           จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  ภัทรา   นิคมานนท์. 2542.  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์.
  รวีวรรณ  ชินะตระกูล. 2539.   เทคนิคการวิจัย: การวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยี
            พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
  ศิริชัย  กาญจนวสี  ทวีวัฒน์  ปิตยานนท์ และ ดิเรก   ศรีสุโข. 2545.  การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสมกับการ
           วิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ : บุญศิริการพิมพ์.
  อรนุตฎฐ์  สุธาคำ.  2555.  หนังสือประกอบการสอน เรื่อง ระเบียบวิธีวิจัยเพื่อการออกแบบ.  เชียงใหม่:
          มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา .
   Blessing, Lucienne T.M.Lucienne T.M. Blessing (Author)
› Visit Amazon's Lucienne T.M. Blessing Page
Find all the books, read about the author, and more.
See search results for this author
Are you an author? Learn about Author Central
;  Chakrabarti, Amaresh.  2009.   DRM, a Design Research
          Methodology.  New York:  Springer.
   Crouch, Christopher; Pearce, Jane. 2012.  Doing Research in Design. London: Berg
          Publishers.
   Visocky, O’Grady, Jennifer.  2006.  A Designer’s Research Manual: Succeed in Design by
 Knowing Your Client and What They Really Need.  China: Rockport.
เอกสารอ่านประกอบ ในรูปแบบ ebook
               ใบงาน
               สื่อ Digital
        คณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, สำนักงาน. 2541.  แนวทางปฏิบัติจรรยาบรรณนักวิจัย.  ม.ป.ป.
        วัชรินทร์  จรุงจิตสุนทร. 2548.  i.d. Story Theory & Concept of Design :  หลักการและแนวคิดการ ออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : ไอดีไซน์ พลับลิชชิ่ง.
         เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น  
                       สิทธิบัตร http://www.ipthailand.org/dip/index.php                                    http://www.toryod.com/
 
 
 
 
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเมล์และเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1   การสังเกตผู้เรียนขณะทำกิจกรรม
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา การส่งงาน
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสัมภาษณ์นักศึกษา หรือการตอบแบบสอบถามของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา
5.1   ปรับปรุงแผนการสอน และเนื้อหาให้ทันสมัย
5.2   ปรับปรุงรูปแบบการสอนให้สอดคล้องกับผู้เรียนศตวรรษที่ 21