ปฏิบัติการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

Computer Engineering Laboratory

1.เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
2.เพื่อให้มีทักษะการปฏิบัติการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
3.มีความตระหนักถึงความสำคัญของปฏิบัติการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ทางด้านพื้นฐานการติดตั้งและดูแลรักษาระบบคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการและเครือข่ายเบื้องต้น
ปฏิบัติการทดลองหรือออกแบบทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เครือข่านคอมพิวเตอร์เบื้องต้น ทั้งใช้สายและไร้สาย การใช้งานและการปรับแต่งระบบปฏิบัติการ การเขียนโปรแกรมเชลล์สคริปต์ การติดตั้งและคอมไพล์ ซอฟต์แวร์บนยูนิกส์
อาจารย์ผู้สอนกำหนดวัน เวลา ในการให้คำปรึกษา (Office Hour) และแจ้งให้นักศึกษาทราบ สัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง   นอกจากนั้น นักศึกษาสามารถติดต่อผ่านโทรศัพท์ และ e-mail
ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย มีวินัย มีจรรยาบรรณ มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ความถ่อมตนและจิตใจเมตตาต่อเพื่อร่วมงาน ความไม่ละโมบ และการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีของประชาชนไทยตามรัฐธรรมนูญ
(1) ให้ทำโครงงาน หรือวิเคราะห์กรณีศึกษาที่ต้องประยุกต์ความรู้ในวิชากับปัญหาจริง โดยให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม
(2) กำหนดประเด็นที่เป็นเรื่องน่าสนใจในขณะนั้น ให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้า และอภิปรายกลุ่มฝึกสังเกตุพฤติกรรมของสมาชิกอื่น ๆ ทั้งในด้าน ภาษา ท่าทาง บุคลิกภาพ ฯลฯ
(3) สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ความสามารถในระหว่างที่ทำให้โครงงาน โดยการพูดคุยกับนักศึกษาเน้นความรับผิดชอบต่องาน วินัย จรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ในกลุ่ม ความถ่อมตนและความมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน และความซื่อสัตย์
สังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ของนักศึกษาและวิเคราะห์ฝึกสังเกตุที่เกิดระหว่างการทดลองใช้วิธีการสอนในข้อ (2) ข้างต้นว่าเป็นไปตามคาดหมายไว้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย ก็อาจเปลี่ยนสถานการณ์หรือปรับโครงการให้เหมาะสมมากขึ้น
ติดตั้งแม่ข่ายทำงานบนระบบคอมพิวเตอร์เสมือน เพื่อให้บริการในระบบเครือข่าย ปรับแต่งติดตั้งซอฟแวร์ที่ใช้ในเครื่องแม่ข่าย ติดตั้งระบบเครือข่ายแบบมีสายและไร้สาย ซ่อมบำรุงรักษาระบบเครือข่าย และงานปฏิบัติทางด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์อื่นๆ
บรรยายหัวข้อรายละเอียดต่าง ๆ โดยใช้สื่อ Power Point ประกอบการสาธิตการทำงานบนซอฟแวร์แบบจำลองและให้นักศึกษาร่วมอภิปรายประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้และตามด้วยตัวอย่างในการศึกษา อภิปรายโต้ตอบระหว่างอาจารย์และนักศึกษา การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ นำเสนอสรุปการอ่านจากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การนำเสนอการวิเคราะห์กรณีศึกษา
ความสามารถในการคิดและหาเหตุผลอย่างเป็นระบบความสามารถในการประยุกต์ความรู้ในวิชานี้เพื่อแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
มอบหมายงานให้นักศึกษาทำรายงานหรือกรณีศึกษาที่กำหนดโดยใช้ความรู้วิชานี้ไปสังเกต วิเคราะห์ อย่างมีเหตุผล และนำเสนอผลงานในรูปของการอภิปรายกลุ่ม
ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และการประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา และสภาพเนื้อหาในบทเรียนที่ได้ศึกษา
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษาด้วยกัน ทักษะความเป็นผุ้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ทักษะการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีของนักศึกษาและการปฏิบัติตัวที่ดีต่ออาจารย์
ให้ทำโครงการหรือวิเคราะห์กรณีศึกษาร่วมกันเป็นกลุ่มโดยเน้นความรู้ที่เรียนในวิชากับปัญหาที่กำหนด แทรกประสบการณ์ของอาจารย์ในระหว่างการสอนโดยผ่านการเล่าเรื่องต่าง ๆ พูดคุยกับนักศึกษาถึงความจำเป็นในวิชาที่เรียน ในระหว่างทำการสอน
ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด ประเมินรายงานที่นำเสนอและพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ประเมินพฤติกรรมในห้องเรียน เช่น การเข้าเรียน การทำงานส่ง การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
(1) ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
(2)  พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
(3) พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
(4) พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
(5) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(6) ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website สื่อการสอน e-learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เปิดให้มีการอภิปราย
การจัดทำรายงาน การมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน การนำเสนองานด้วยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1,2.5 3.1 3.4 5.1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 5 9 12 17 10% 25% 10% 30%
2 4.6,5.3,5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.2,1.5, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. สมชาย นำประเสริฐชัย เปิดโลกยูนิกซ์ กรุงเทพ ซีเอ็ดยูชั่น 2537
2. ภัทระ เกียรติเสรี สร้างอินเตอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ด้วย Linux ซีเอ็ดยูชั่น 2542
3. Richard Blum, Linux Command Line and Shell Scripping Bille Wiley Publishing 2008
1. Fred Halsal Data Communications, Compouter Networks and Operating Systems 4th ed Addison Wesley 1996
2. Willium Stallings Data and Computer Communication 3rd ed Macmilan New York 1991
ไม่มี
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ขอเสนอแนะผ่านเว็บ ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ผลการเรียนของนักศึกษา การสอบย่อย สอบกลางภาค และการสอบปลายภาค ผลการฝึกปฏิบัติ รายงานการค้นคว้าตาง ๆ ที่มอบหมาย การนำเสนอผลงาน การตอบคำถามของนักศึกษา
3.1 มีการทำมาตรฐานกรอบคุณวุฒิประจำรายวิชา และดำเนินการปรับปรุงการเรียนการสอน
3.2 จัดประชุมเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการทดสอบผลสัมฤทธิ์ในผลการเรียนรู้ที่วัดและประเมินผลผ่านแล้ว ในการสอบปลายภาคให้มีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สำคัญอีกครั้ง ความถูกต้องของรายงานที่จัดทำ การตรวจผลงานให้มีการสุ่มสัมภาษณ์เพื่อประสิทธิผล
จากการประเมินผลและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา   ได้มีการวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา   เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาอย่างน้อยทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือจัดการเรียนการสอนเป็นทีม   หรือแบ่งหัวข้อรับผิดชอบ