การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ

Business Data Communication and Network

นักศึกษาสามารถอธิบายถึงระบบ และองค์ประกอบพื้นฐานของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ นักศึกษาสามารถอธิบายการทำงานขององค์ประกอบต่างๆ ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่มีการใช้งานอยู่ทั่วไป นักศึกษาสามารถออกแบบ และกำหนดองค์ประกอบโดยรวมของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อใช้งานในธุรกิจ
- เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และเข้าใจถึงโครงสร้างของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระบบสื่อสารข้อมูล
- เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจถึงสัญญาณข้อมูล อุปกรณ์ที่ใช้ในการสื่อสารและระบบการส่งข้อมลในรูปแบบต่างๆ
- เพื่อให้ นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในเรื่องความมั่นคงปลอดภัยของระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในสถาปัตยกรรมของระบบเครือข่าย และรูปแบบการสื่อสารข้อมูล
- เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำหลักการสื่อสารข้อมูลด้วยระบบคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ในงานธุรกิจได้
 
ศึกษา วิเคราะห์ และออกแบบประยุกต์การใช้ระบบคอมพิวเตอร์เครือข่ายเพื่อเป็นเครื่องมือในการจัดระบบการแบ่งกลุ่ม การปฏิบัติงานภายในองค์กรธุรกิจ การจัดระบบสำนักงานฯลฯ และการสื่อสารข้อมูลทางการตลาด และข่าวสารทางธุรกิจทั้งเครือข่ายภายใน (Intranet) และภายนอก (Internet)
- ชั่วโมงการสอน 4 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
- อาจารย์ให้คำปรึกษาเป็นรายคนและรายกลุ่มตามต้องการหรือทาง e-mail โดยไม่จำกัดเวลา ในช่วงเวลาที่อาจารย์ไม่มีภาระการสอนอื่นหรือภาระงานอื่นๆ และสามารถนัดหมายได้ทางโทรศัพท์มือถือ หรือติดต่อทาง e-mail หรือ Facebook
- อาจารย์ประจำรายวิชา แจ้งให้นักศึกษาทราบถึงการให้คำปรึกษาในชั่วโมงแรกของการเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการประกอบอาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
- ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต
- มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสงคม
- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
- เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
- เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
- สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคมมีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
- บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้ระบบเครือข่ายสื่อสารข้อมูลทางธุรกิจ
- อภิปรายกลุ่ม
- กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือกำหนดบทบาทสมมุติ
- พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
- มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
- มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ และทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
- สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายความต้องการ ทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา
- สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงระบบคอมพิวเตอร์ให้ตรงตามข้อกําหนด
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
- ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
- ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ
- การมอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าหาบทความและข้อมูลที่เกี่ยวข้องและนำเสนอผลการศึกษา
- วิเคราะห์กรณีศึกษา ในการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในปัจจุบัน
- สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้ระบบสื่อสารข้อมูลผ่านเครือข่าย
- วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน
- สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
- สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกแก่การแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ในกลุ่มทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
- มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
- จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
- มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การอ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
- การนำเสนอรายงาน
ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
- มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
- สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
- มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website และการทำรายงานโดยมาจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
- นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
- ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 ด้านคุณธรรมและจริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 2.1 2.2 2.3 2.4 2.6 3.1 3.3 3.4 4.2 4.4 4.5 4.6 5.3 5.4
1 12032204 การสื่อสารข้อมูลและเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทางธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 , 3.1 , 4.2 , 4.4 , 5.1 การนำเสนอรายงาน เรื่องระบบปฏิบัติการเครือข่ายที่นักศึกษาสนใจ 3 5%
2 1.2 , 3.1 , 4.2 , 4.4 , 5.1 การทำงานกลุ่มและผลงาน รายงานเรื่อง การออกแบบเครือข่ายไร้สาย Infrastructure ขององค์กรภายนอก 12 5%
3 1.2 , 3.1 , 5.1 เข้าร่วมปฏิบัติการและส่งใบงานตามกำหนด 14-16 20%
4 1.1 , 1.2 จิตพิสัย เช็คชื่อเข้าชั้นเรียน 1-17 10%
5 2.1 , 2.2 , 2.3 วัดผลการสอบกลางภาค ข้อสอบอัตนัยและปรนัย 7 30%
6 2.1 , 2.2 , 2.3 วัดผลการสอบปลายภาค ข้อสอบอัตนัยและปรนัย 17 30%
- เครือข่ายคอมพิวเตอร์และการสื่อสาร. โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2559
- เจาะระบบ Network 2nd Edition. จตุชัย แพงจันทร์, อนุโชต วุฒิพรพงษ์. นนทบุรี : ไอดีซี, 2551
- Cisco Networking Academy Program CCNA1.กรุงเทพฯ:เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า, 2547.
- Cisco Networking Academy Program CCNA2.กรุงเทพฯ:เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า, 2547.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
- ข้อเสนอแนะผ่าน Social Network ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
- การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
- ผลการเรียนของนักศึกษา
- การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอน จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
- สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
- การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
- การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
- มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
- ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
- เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ