สิ่งแวดล้อมทางการประมง

Fisheries Environment

1. รู้และเข้าใจเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม แนวความคิดระบบนิเวศทางน้ำ
2. เข้าใจความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางน้ำ  ยาปราบศัตรูพืชในแหล่งน้ำ ชีววิทยา       น้ำเสีย  วิเคราะห์สิ่งแวดล้อมทางการประมง
3. เข้าใจผลกระทบของสิ่งแวดล้อมทางการประมง  การจัดการทรัพยากร  และสิ่งแวดล้อม
4. มีทักษะในการสำรวจองค์ประกอบนิเวศวิทยาทางน้ำ ตรวจสอบแหล่งน้ำเสียและผลกระทบของสิ่งแวดล้อมทางการประมง
5.  มีจิตสำนึกที่ดีในเรื่องสิ่งแวดล้อมกับการประมง
        เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในด้านสิ่งแวดล้อมทางการประมงที่มีความก้าวหน้าไปและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม    แนวความคิดเกี่ยวกับระบบนิเวศทางน้ำ  ความรู้เกี่ยวกับมลพิษทางน้ำ   ชีววิทยาน้ำเสียและผลกระทบของสิ่งแวดล้อมทางการประมง       แนวทางการแก้ไขและการจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมทางการประมง
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษา
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
    - มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
   - สอดแทรกหรือยกตัวอย่างประกอบในขณะที่สอนเนื้อหา โดยสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม การรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
   - กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลาและเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
   - ให้งานมอบหมายและกำหนดเวลาส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด
- มีความรู้ ความเข้าใจ ทั้งทางด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
- สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของวิชาที่ศึกษา
-  ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต    เป็นต้น
- มอบหมายนักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติมและจัดทำเป็นรายงานตลอดจนนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
-  ทดสอบโดยสอบข้อเขียนในการการทดสอบย่อย สอบกลางภาค และสอบปลายภาค
-  การประเมินผลจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินผลจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
          - มีทักษะทางการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ
- การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning: PBL)
          -ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา จากกรณีศึกษาตามประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
          -แนะนำให้ใช้ความรู้ทางทฤษฏีเพื่อการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานสิ่งแวดล้อมทางการประมงตามที่ได้รับมอบหมาย
          -ฝึกให้วิเคราะห์ปัญหาจากกรณีศึกษาที่มีผู้ศึกษาไว้แล้ว โดยให้ไปค้นคว้าจากเอกสารต่าง ๆ ร่วมกับการค้นคว้าจากฐานข้อมูล
- ทดสอบโดยสอบข้อเขียน และสังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายปัญหาในชั้นเรียน
- ดูจากรายงาน การนำเสนอรายงานและการมีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นในชั้นเรียน
- มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
- สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
- มอบหมายงานกลุ่มและมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามกิจกรรมที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษา   ทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
- ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
- ประเมินความรับผิดชอบจากรายงานกลุ่มของนักศึกษา
- ประเมินจากกระบวนการทำงาน และผลงานที่ทำเป็นกลุ่มหรือโครงงาน
- ให้นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่ม ทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ
-ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร และทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
-มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ และนำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- ประเมินจากรายงาน ภาษาที่ใช้ในการเขียนรายงานการใช้สื่อ และการนำเสนอในชั้นเรียนด้วยสื่อเทคโนโลยี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
             ประจวบ ฉายบุ. 2547. เอกสารประกอบการสอนวิชาการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมทางน้ำ. สาขาวิชาการจัดการประมง ภาควิชาเทคโนโลยีการประมง คณะผลิตกรรมการเกษตร. มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 188 น.
ไม่มี
เกษม  จันทร์แก้ว. (2545).  การจัดการสิ่งแวดล้อมแบบผสมผสาน. กรุงเทพมหานคร : วิทยาลัยสิ่งแวดล้อม  มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์