หลักการตลาด

Principles of Marketing

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ในบทบาทและความสำคัญของการตลาดที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ พัฒนาการของแนวความคิดการตลาด
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในกิจกรรมและหน้าที่ต่างๆ ทางการตลาด ลักษณะและพฤติกรรมการซื้อแต่ละตลาด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดส่วนประสมการตลาด กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมสำหรับแต่ละส่วนประสม
1.3  เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในการประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในกิจกรรมการตลาด รวมถึงจริยธรรมการตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในระบบสารสนเทศทางการตลาด รวมถึงการเรียนรู้บทบาท และความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อความได้เปรียบในการแข่งขันทางการตลาด และการพัฒนาระบบสารสนเทศทางการตลาด
ศึกษาบทบาทและความสำคัญของการตลาดที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ พัฒนาการของแนวความคิดการตลาด กิจกรรมและหน้าที่ต่างๆ ทางการตลาด ลักษณะและพฤติกรรมการซื้อแต่ละตลาด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดส่วนประสมการตลาด กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมสำหรับแต่ละส่วนประสม การประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้ในกิจกรรมการตลาด จริยธรรมการตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคม
อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล (เฉพาะรายที่ต้องการ) หรือรายกลุ่มนอกชั้นเรียน ตามความต้องการของนักศึกษา ดังนี้
1) จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ เวลา 16.00-17.00 ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาการตลาด  คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์  โทร. 084-9093490
2) e-mail: Nayty_2521@hotmail.com หรือ เว็บไซต์เครือข่ายสังคม (Facebook) เฉพาะกลุ่มของระดับชั้นสาขาวิชาการตลาด ได้ทุกวัน
-มีความรู้ความเข้าใจในหลักจริยธรรม คุณธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพทางธุรกิจมีจิตสำนึกสาธารณะตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรมเสียสละ ไม่เอารัดเอาเปรียบซื่อสัตย์สุจริตทั้งต่อตนเองและผู้อื่น
-มีความเคารพต่อกฎระเบียบ และข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
-สอดแทรกหลักจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพในเนื้อหารายวิชา
-ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัยโดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลาการส่งงานภายในเวลาที่กำหนดตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
-การเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลาตลอดจนการแต่ง กายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
-การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที มอบหมายและการเข้าร่วมกิจกรรม
-การสังเกตพฤติกรรมในการทำงานเป็นกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน
-ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
-ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
-มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษาสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
-มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
-จัดรูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามลักษณะของรายวิชาและเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ
-จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยมอบหมายให้ทำรายงานโครงงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียน
-การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
-ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาคเช่นการบ้านงานที่มอบหมายรายงานการทดสอบย่อยการนำเสนอรายงานการค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
-สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
-สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
-การศึกษาค้นคว้าและรายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน
-การมอบหมายงานการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาหรือสถานการณ์จำลอง
-ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้าโครงงานโดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
-ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา
-มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
-มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
-จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมเป็นกลุ่มโดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
-มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
-พฤติกรรมการทำกิจกรรมกลุ่มของนักศึกษา
-การรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
-สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างสรรค์
-สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
-สอดแทรกความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารการค้นคว้าข้อมูลและการนำเสนอผลงานในเนื้อหาของรายวิชาที่เกี่ยวข้อง
-จัดให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
-ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
-พฤติกรรม การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนและความสามารถในการใช้ภาษาการสื่อสารของนักศึกษาเพื่อสื่อสาร
-สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
-จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน
-การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆเพื่อคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรม จริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BBABA601 หลักการตลาด
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 - การวิเคราะห์กรณีศึกษา การค้นคว้า การนำเสนอรายงาน 1.) การทำรายงาน/งานที่มอบหมาย 2.) การส่งงานตามกำหนดเวลา 3.) การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน 1-8, 10-16 1) 20% 2) 10% 3) 10%
2 - การเข้าชั้นเรียน : คะแนนเจตคติ 1-8, 10-16 10%
3 - การทดสอบ 1) การสอบกลางภาค 2) การสอบปลายภาค 9, 17 1) 20% 2) 30%
-คณาจารย์สาขาวิชาการตลาด.  หลักการตลาด.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น, 2549. 
-สุดาพร  กุณฑลบุตร.  หลักการตลาดสมัยใหม่.  พิมพ์ครั้งที่ 5 (ฉบับปรับปรุง).  กรุงเทพฯ  :  จุฬาลงกรมหาวิทยาลัย, 2557. 
-ชมรมลูกพ่อขุนประยุกต์.  หลักการตลาด.  กรุงเทพฯ : ม.ป.ป. 
-กุลฉัตร  ฉัตรกุล  ณ  อยุธยา.  ระบบสารสนเทศทางการตลาด.  เชียงใหม่ :  ภาควิชาการตลาด  คณะบริหารธุรกิจ  มหาวิทยาลัยพายัพ,  2550. 
-ดวงพร  เกี๋ยงคำ.  คู่มือ Office 2007 ฉบับสมบูรณ์.  กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2552. 
-บุญธรรม  กิจปรีดาบริสุทธิ์.  สถิติวิเคราะห์เพื่อการวิจัย.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ : จามจุรีโปรดักท์, 2549. 
-รศ.ศิริวรรณ  เสรีรัตน์ และคณะ. กลยุทธ์การตลาด  การบริหารการตลาด และกรณีศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์, 2541.
-สุวิมล  แม้นจริง, ผศ., การจัดการการตลาด. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2546. 
-Kotler, Philip and Kelvin Keller.  Marketing  Management.  12th edition.  New Jersey : Pearson Education, 2006. 
-หนังสือพิมพ์ธุรกิจต่าง ๆ เช่น ประชาชาติธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ ผู้จัดการ ฯลฯ 
-วารสาร นิตยสาร บทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ ทางการตลาด และ เว็บไซด์ทางธุรกิจ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 
2) แบบประเมินผู้สอน 
3) ข้อเสนอแนะจากนักศึกษาระหว่างเรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 
1) การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน 
2) ผลการเรียนของนักศึกษา 
3) การทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้ในรายวิชา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 
1) สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 
2) การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 
1) การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 
2) ประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรมระหว่างการเข้าเรียนและการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 
1) ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 
2) เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน หรือปรับปรุงกิจกรรม/โครงงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในการประยุกต์ความรู้นี้กับสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง