วิจัยธุรกิจ

Business Research

1.  เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจความหมายและความสำคัญของการวิจัย
2.  เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจลักษณะทั่วไปของการวิจัย และขั้นตอนการดำเนินการวิจัยทางธุรกิจ
3.  เพื่อให้ผู้เรียนรู้สามารถดำเนินการวิจัยทางธุรกิจโดยเลือกจากปัญหาวิจัยทางธุรกิจ
4.  เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจหลักการและเทคนิคของการวิจัย ทั้งการกำหนดวัตถุประสงค์และตั้งสมมติฐานในการวิจัย
5.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถดำเนินการวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลการวิจัย
6.  เพื่อให้ผู้เรียนรู้และเข้าใจการวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายข้อมูล
7.  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเขียนรายงานวิจัยทางธุรกิจ
8.  เพื่อให้ผู้เรียนตระหนักรู้จรรยาบรรณของการวิจัยทางธุรกิจ
จากวิธีการเรียนการสอนในภาคการศึกษาที่ผ่านมา ผู้สอนออกแบบการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจในการทำงานวิจัยแล้ว ผู้เรียนสามารถนำความรู้ทางทฤษฎีการวิจัยมาใช้ในการสร้างงานวิจัยธุรกิจได้ด้วยตนเองคนละหนึ่งเรื่องและมีการติดตามความก้าวหน้าของงานวิจัยตามกระบวนการวิจัย การเรียนการสอนเป็นไปตามหัวข้อของการเรียนทฤษฎี ได้แก่  การเลือกหัวข้องานวิจัย เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง กรอบแนวคิดการวิจัย ตัวแปรและสมมติฐาน แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล และการเขียนรายงานการวิจัย การให้นักศึกษาซึ่งไม่เคยทำงานวิจัยต้องใช้ความพยายามชี้แนะแนวทางเพื่อปรับปรุงแก้ไข ให้นักศึกษามีทักษะการเขียนในเชิงวิชาการได้ ทำให้ผู้สอนใช้เวลาและหลายครั้งต้องมีการปรับปรุงแก้ไขหลายครั้งกว่าจะได้งานเขียนที่เหมาะสมกับการเป็นงานวิจัย ในช่วงแรกพบว่า นักศึกษามีความกระตือรือร้นในการเรียนและการทำงานวิจัยอย่างดี มีความพยายามปรับปรุงแก้ไขตามคำแนะนำของผู้สอนอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งถึงกระบวนการเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องหรือการทบทวนวรรณกรรม นักศึกษากลับขาดความกระตือรือร้นในการเรียนและการทำงานวิจัย จนกระทั่งผู้สอนต้องสอบถามแล้วได้ข้อเท็จจริงว่า มีการให้นักศึกษาทำงานวิจัยในหัวข้อที่นักศึกษาไม่ได้มีความสนใจและไม่มีความเข้าใจในงานวิจัยในเรื่องนั้นเลย และได้มีการทำงานวิจัยในขั้นตอนล่วงหน้ากว่าการเรียนรายวิชาวิจัยธุรกิจ แต่เมื่อทำการทดสอบความรู้ความเข้าใจในงานวิจัยที่ทำจึงได้พบว่า นักศึกษาไม่ได้มีความรู้ความเข้าใจในงานวิจัยเรื่องนั้นๆ แต่อย่างใด และเมื่อสอบถามพบว่า นักศึกษาบางคนทำงานวิจัยใกล้สำเร็จเรียบร้อยแล้ว นักศึกษาส่วนใหญ่กลับไม่สนใจในการเรียน
นอกจากนั้น การเรียนการสอนวิชาวิจัยธุรกิจ ดำเนินการสอนกระบวนการทำการวิจัย เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติงานวิจัยได้อย่างถูกต้องตามหลักการทำงานวิจัย เกิดความเข้าใจของนักศึกษาที่ไม่ตรงกับหลักการของวิชาวิจัยธุรกิจในหลายหัวข้อ เช่น (1) บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การประมวลทฤษฎีและแนวคิดที่ใช้ในการวิจัย การสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ก่อนที่ผู้วิจัยจะสามารถเขียนกรอบแนวคิดการวิจัย ในขณะที่นักศึกษากลับเขียนกรอบแนวคิดการวิจัยก่อนการประมวลทฤษฎีและแนวคิด และการสังเคราะห์งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (2) นอกจากนั้น ยังมีการทำให้นักศึกษามีความเข้าใจที่แตกต่างจากแนวทางการเขียนทบทวนวรรณกรรมในส่วนของงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ว่าควรเขียนงานวิจัยแต่ละชิ้นออกจากกัน หรือที่เรียกว่า “เขียนแบบขนมชั้น” ในขณะที่แนวคิดการวิจัยธุรกิจซึ่งได้นำมาจากการเขียนทบทวนวรรณกรรมของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ควรเขียนสังเคราะห์หรือสรุปแต่ละประเด็นที่เกี่ยวข้องว่ามีงานวิจัยใดที่เกี่ยวข้อง สอดคล้อง หรือขัดแย้ง แต่ละประเด็นอย่างไร และสรุปได้ว่า งานวิจัยของผู้วิจัยนั้นมีความสอดคล้องหรือขัดแย้งอย่างไรกับงานวิจัยใด จึงทำให้นักศึกษาเกิดความสับสน
จากปัญหาดังกล่าว ผู้สอนจึงออกแบบการเรียนการสอนในภาคเรียนต่อไปให้สามารถจัดการรายวิชาได้ตรงตามวัตถุประสงค์รายวิชา ภายใต้วิธีการและการบรรลุเป้าหมายของผู้สอนเอง จึงออกแบบการเรียนการสอนรายวิชาวิจัยธุรกิจ โดยการให้นักศึกษาทำงานวิจัยคนละหนึ่งเรื่องตามกระบวนการของการวิจัย ในช่วงเวลาของการศึกษาทางทฤษฎีในกระบวนการวิจัยนั้น มีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อพัฒนาทักษะการเขียนทางวิชาการ โดยเริ่มจากหัวข้อ ที่มาและความสำคัญของปัญหา การเขียนวัตถุประสงค์ และการทบทวนวรรณกรรม ต่อจากนั้นจะให้นักศึกษานำเสนอการทบทวนวรรณกรรมหรืองานวิจัยที่ตนได้ไปศึกษามาทั้งบทความภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อนักศึกษาสามารถเขียนและนำเสนอ หรือสนทนาในทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องที่ตนเองเชี่ยวชาญได้
ศึกษาความหมายและความสำคัญของการวิจัย ลักษณะทั่วไปของการวิจัย ขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัยทางธุรกิจ การเลือกปัญหาวิจัยทางธุรกิจ หลักการและเทคนิคของการวิจัย กำหนดวัตถุประสงค์และตั้งสมมติฐานในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายข้อมูล การเขียนรายงานวิจัยทางธุรกิจ และสามารถนำหลักการทำวิจัยมาใช้ได้อย่างมีจริยธรรมในการทำวิจัย
อาจารย์ประจำรายวิชาจัดตาราง กำหนดวัน เวลา ในการให้คำปรึกษา (Office Hour) เป็นรายกลุ่มวิจัย รวมจำนวน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และนักศึกษาสามารถขอคำปรึกษาผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยตรงกับอาจารย์ผู้สอนได้ตลอดเวลา
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
ผู้เรียนมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม ดังนั้น อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิชาการต่างๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมตามที่ระบุไว้ดังนี้
1)  มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ผู้สอนออกแบบการเรียนการสอนกับภาคทฤษฎีการทำงานวิจัย การจะสามารถประเมินความเข้าใจในรายวิชาวิจัยธุรกิจได้นั้น นักศึกษาต้องสามารถทำงานวิจัยคนละ 1 เรื่อง ผู้สอนจะกำหนดให้มีการส่งงานวิจัยในแต่ละขั้นตอนตามที่ผู้สอนได้สอนทฤษฎีถึงขั้นตอนนั้นๆ โดยกำหนดให้ส่งขั้นตอนนั้นก่อนที่มีการเรียนการสอน 1 วัน เพื่อวันที่เรียนจะได้มีการปรับแก้ไข ก่อนที่จะดำเนินการวิจัยในขั้นตอนต่อไป และจะมีการหักคะแนนนักศึกษาที่ส่งไม่ตรงตามวันเวลาดังกล่าว นอกจากนั้น นักวิจัยจำเป็นมีจริยธรรมในการทำงานวิจัย คือ ต้องมีความซื่อสัตย์และคุณธรรมในทางวิชาการและการจัดการ ต้องมีพื้นฐานความรู้ในสาขาวิชาที่ทำวิจัย ต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่วิจัย ต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย ต้องปราศจากอคติในทุกขั้นตอน พึงนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางที่ชอบ เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
2)  สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังคม การทำงานวิจัยธุรกิจนอกจากจะต้องมีคุณธรรมและจริยธรรมแล้ว การทำงานวิจัยอาจต้องอ้างอิงข้อมูล รายงาน และงานวิจัยของผู้อื่น เมื่อมีการนำข้อมูล รายงาน หรืองานวิจัยของผู้อื่นจากสื่อสิ่งพิมพ์ หรืออินเตอร์เน็ตนั้น มาใช้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยของตนเอง จำเป็นต้องมีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและต่อผู้อื่น นั่นคือการอ้างอิงที่มา ไม่คัดลอกงานวิจัยของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง นอกจากนั้น ผู้วิจัยจะต้องไม่อ้างอิงข้อมูล รายงาน หรือผลงานวิจัยของผู้อื่นหรือบิดเบือนในทางให้เกิดผลกระทบหรือความเสียหายต่อผู้อื่น องค์กร หรือสังคม การเมืองการปกครอง ความสงบเรียบร้อยภายในและระหว่างประเทศ วัฒนธรรมประเพณี หรือกระทำการโดยมีผลกระทบด้านกฎหมาย ก่อให้เกิดอาชญากรรมบนอินเตอร์เน็ต หรือกระทำการพนันบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หรือเผยแพร่ภาพคณาจารย์บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เป็นต้น
การจัดทำงานวิจัยตามกระบวนการวิจัยแต่ละขั้นตอน โดยอาจารย์ผู้สอนจะทำการตรวจสอบคุณธรรมจริยธรรมในการทำงานวิจัยด้วยการตรวจสอบการคัดลอกงานเขียนของผู้อื่นทุกขั้นตอน โดยการตรวจสอบจากการใช้คำสำคัญสืบค้นทางอินเตอร์เน็ต ตั้งแต่ขั้นตอนการเลือกหัวข้อ ที่มาและความสำคัญของปัญหา ตรวจสอบว่าหัวข้อวิจัยธุรกิจดำเนินการจากธุรกิจที่กำลังดำเนินการจริง การตรวจสอบการคัดลอกเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจากงานวิจัยในอินเตอร์เน็ตว่าเกิดจากการประมวลงานวิจัยด้วยตัวเองแล้วทำการสังเคราะห์เป็นงานเขียนของตัวเอง มิใช่การคัดลอกจากงานวิจัยของผู้อื่น หากตรวจสอบพบว่านักศึกษาคัดลอกงานวิจัยของผู้อื่นในขั้นตอนนั้นๆ ผู้สอนให้คำแนะนำและให้ทำส่งใหม่ โดยให้เป็นการเขียนจากการประมวลความรู้จากการอ่านงานวิจัยของผู้อื่น การตรวจสอบวิธีนี้นอกจากเป็นการป้องปรามการคัดลอกงานวิจัยของนักศึกษาแล้ว ยังเป็นการฝึกคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณของการเป็นนักวิจัย รวมเป็นจนกระทั่งจรรยาบรรณวิชาชีพของนักศึกษาในอนาคตอีกด้วย
อีกทั้ง การส่งรายงานความก้าวหน้าของงานวิจัย ผู้สอนกำหนดให้มีการส่งรายงานความก้าวหน้าทุกสัปดาห์ก่อนวันที่มีการเรียนวิจัยธุรกิจหนึ่งวัน เช่น ถ้าตารางเรียนวิจัยธุรกิจในวันพฤหัสบดี นักศึกษาจะต้องส่งความก้าวหน้าของงานวิจัยในวันพุธของสัปดาห์นั้น ซึ่งอาจเป็นการส่งในรูปของเอกสารกระดาษ หรือส่งในรูปของไฟล์ในสื่อแอปพลิเคชั่นไลน์ (AppLIne) กลุ่มของ “วิจัยธุรกิจ” โดยมีการสร้างแรงจูงใจให้นักศึกษาส่งการบ้านให้ตรงเวลาด้วยการให้ของรางวัล
กลยุทธ์การประเมินการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม สามารถประเมินได้ทุกขั้นตอนการทำงานวิจัยจากรายงานความก้าวหน้าของงานวิจัย โดยสามารถประเมินจากกิจกรรมต่อไปนี้
1)  ประเมินคุณธรรม จริยธรรมจากการส่งรายงานความก้าวหน้าของงานวิจัย ด้วยการบันทึกสถิติกำหนดการส่งรายงานความก้าวหน้า ด้วยการให้ส่งเข้ากลุ่มแอพไลน์เพื่อเป็นการกระตุ้นเตือนและสร้างแรงจูงใจให้ผู้ที่ยังไม่ส่งดำเนินการให้ตรงเวลา นอกจากนั้น การประเมินด้วยวิธีการตรวจสอบการคัดลอกด้วยการใช้คำสำคัญสืบค้นการคัดลอกงานวิจัย หากพบว่าคัดลอกผู้สอนจะให้คำแนะนำและให้เขียนส่งใหม่โดยให้เป็นการเขียนสังเคราะห์จากความรู้ที่ตนเองได้รับจากงานวิจัยผู้อื่นแทนการคัดลอก
2)  ประเมินความกระตือรือร้น ความตั้งใจความรู้และความเข้าใจ ตลอดจนการปฏิบัติตามกฎของห้องเรียนจากการสังเกตพฤติกรรมระหว่างเข้าเรียน ความตรงต่อเวลา ปฏิกิริยาตอบสนองระหว่างเรียน การส่งรายงานความก้าวหน้า ปฏิบัติตามเงื่อนไขของการเรียนการสอน ตลอดจนการแต่งกายที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
3)  ประเมินการมีส่วนร่วม ระหว่างเรียนและการทำงานเป็นกลุ่ม ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานผลงานวิจัย มีการแบ่งงานกันทำ ประเมินการมีความเคารพต่อกฎ ด้วยการกำหนดให้ต้องส่งหัวข้อการนำเสนอรายงานล่วงหน้าเพื่อจัดลำดับการรายงานหน้าชั้นเรียน แล้วกำหนดให้มีการแบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่มออกเป็นหน้าที่ต่างๆ การประเมินผลความเอื้อเฟื้อ และความมีน้ำใจ สามารถประเมินจากการสังเกตการทำงานร่วมกันระหว่างสมาชิกกลุ่ม การมีส่วนร่วม และบทบาทของสมาชิกกลุ่มในการทำงานวิจัย สังเกตการณ์ในขั้นตอนของการนำเสนอผลการวิจัย ความมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมวิจัย
มีองค์ความรู้ในสาขาวิชาอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ ตระหนัก รู้หลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องสำหรับหลักสูตรวิชาชีพ มีความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของความรู้เฉพาะด้านในสาขาวิชา และตระหนักถึงงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ มีองค์ความรู้ในสาระสำคัญของการวิจัยธุรกิจอย่างเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการทางวิจัยธุรกิจสร้างเป็นงานวิจัยธุรกิจเพื่อแก้ปัญหาได้อย่างบูรณาการในสาขาวิชาชีพ รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข โดยในสามารถนำสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสมกับประเภทของข้อมูล อีกทั้งสามารถประมวลผลของการเก็บรวบรวมข้อมูลจากตัวเลขทางสถิติได้อย่างถูกต้องตามหลักการทางสถิติที่ใช้ในการวิจัย เมื่อนำเสนอผลการวิจัยสามารถเลือกใช้สื่อนำเสนอ ตลอดจนวิธีการนำเสนอได้อย่างชัดเจน และมีการพัฒนาบุคลิกภาพการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และมีทักษะในการทำงานเป็นทีม
1)  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการวิจัยทางธุรกิจ โดยครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการค้นหาปัญหาการวิจัย จุดประสงค์การวิจัย กระบวนการทำวิจัยธุรกิจ ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ การจัดทำโครงการวิจัยธุรกิจเบื้องต้น สามารถจำแนกประเภทของการวิจัย การออกแบบการวิจัย การเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดทำรายงานวิจัย และสามารถประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยอย่างเหมาะสมกับปัญหาธุรกิจที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนสามารถออกแบบการวิจัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสภาพปัญหาของธุรกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นทางวิชาการด้านวิจัยได้
2)  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน 
กรณีศึกษางานวิจัยทางธุรกิจ จะเป็นเครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ด้านความรู้จากรายวิชาต่างๆ ที่นักศึกษาได้เล่าเรียนมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจ โดยสามารถวางแผนดำเนินการวิจัยโดยเริ่มต้นจากการค้นหาปัญหาการวิจัยจากหน่วยธุรกิจหน่วยหนึ่ง การรวบรวมข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ทั้งทฤษฎี แนวคิด งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และข้อมูลการดำเนินงานและปัญหาจากหน่วยธุรกิจ ในที่นี้อาจเป็นปัญหาที่ต้องใช้ความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ในทางบริหารธุรกิจ เช่น การจัดการธุรกิจ การตลาด การบัญชีการเงิน เศรษฐศาสตร์ เศรษฐกิจและสังคม ซึ่งในการแก้ปัญหาของหน่วยธุรกิจจำเป็นต้องประยุกต์ใช้ความรู้หลากหลายสาขาวิชา ทักษะหลายด้าน เพื่อทำความเข้าใจในปัญหา วิเคราะห์สาเหตุของปัญหา แล้วนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาโดยใช้เครื่องมือที่เหมาะสม
3)  มีความรู้และความเข้าในในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดาเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ จากกรณีศึกษางานวิจัยทางธุรกิจ ผู้วิจัยต้องมีความรู้ความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ การวางแผนธุรกิจ การจัดการองค์กร การจัดการวัตถุดิบ การวางแผนการผลิต การตลาด การจำหน่าย การเงินการบัญชี การจัดหาเงินทุน การบริการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคโดยมีกำไรเป็นเป้าหมาย
4)  มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจรวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน การประกอบธุรกิจทุกประเภท จะต้องพบปัญหาต่างๆ ที่ต้องตัดสินใจอยู่เสมอไม่ว่าจะเป็นด้านการลงทุน ด้านการผลิต ด้านการตลาด โดยกระบวนการผลิตจะผลิตจำนวนเท่าไหร่ เมื่อไหร่และต้องสั่งซื้อวัตถุดิบมาใช้ในการผลิต ต้องใช้แรงงาน การตอบสนองความพึงพอใจของผู้ใช้สินค้าหรือบริการ การคำนวณค่าเสื่อมราคาของสินค้าทุน การวิจัยธุรกิจช่วยให้ผู้วิจัยเกิดความรู้ทางวิชาการใช้เป็นพื้นฐานในการขยายความรู้ดั้งเดิมให้กว้างขึ้นและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาในเรื่องต่างๆ
5)  มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานได้จริง การวิเคราะห์ข้อมูลทางการวิจัย ผู้วิจัยสามารถประมวลผลข้อมูลด้วยการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ทั้งนี้อาจใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่สามารถนำมาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติได้ เช่น โปรแกรม Excel หรือโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สามารถนำเสนอข้อมูลด้วยกราฟหรือแผนภูมิได้อย่างชัดเจนและเหมาะสม
1)  ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง  การให้นักศึกษาได้มีโอกาสทำงานวิจัยคนละ 1 เรื่อง จะทำให้นักศึกษาสามารถพัฒนาการการเรียนรู้ด้านความรู้จากวิธีการแก้ปัญหาหลากหลายรูปแบบ เนื่องจาก การทำงานวิจัย นอกจากผู้วิจัยจักต้องมีความรู้ทางวิชาการแล้ว นักวิจัยควรต้องมีความสามารถด้านอื่น เช่น ความสามารถในการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ สื่อออนไลน์ ความสามารถในการบริหารจัดการขั้นตอนการทำวิจัย เนื่องจากในแต่ละขั้นตอนของการทำวิจัยอาจต้องเกี่ยวข้องกับบุคคล หน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องใช้ความสามารถ ทักษะหลากหลายด้าน เช่น การติดต่อประสานงาน การพิมพ์หนังสือราชการ การขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหรืออาจารย์ที่ปรึกษา เป็นต้น ซึ่งวิธีการต่างๆ นี้จะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ว่า การจะทำงานวิจัยให้สำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องเรียนรู้ทางทฤษฎี และเรียนรู้การปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง ทั้งยังต้องสามารถใช้ปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอีกด้วย 
การให้ผู้เรียนฝึกนำเสนองานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการนำเสนอในเชิงวิชาการ ฝึกการนำเสนองานวิจัย และฝึกพูดภาษาอังกฤษ ตลอดจนให้รู้จักบรรยากาศของการนำเสนอผลงานวิชาการ ฝึกการเตรียมตัวนำเสนอ และการแก้ปัญหาจากการนำเสนอ
2)  จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษ การเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัย หากเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ จะเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากพื้นที่ที่ทำการศึกษาวิจัย ผู้เรียนหรือนักวิจัยจำเป็นต้องศึกษาปัญหาจากหน่วยธุรกิจ ค้นหาประเด็นปัญหา เขียนโครงร่างงานวิจัยเพื่อนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์ ทั้งนี้ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของธุรกิจจะเป็นผู้บอกเล่าถึงประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ ปัญหาและอุปสรรคในธุรกิจ เพื่อเป็นให้ผู้วิจัยสามารถออกแบบการวิจัยได้อย่างเหมาะสมกับธุรกิจจริง
3)  จัดการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เพื่อให้เข้าถึงปัญหาของหน่วยธุรกิจ นอกจากการสอบถาม หรือสัมภาษณ์ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจแล้ว ผู้วิจัยอาจได้รับทราบปัญหา และข้อมูลจากการเข้าไปฝึกปฏิบัติงานในหน่วยธุรกิจนั้นๆ เพื่อให้ผู้วิจัยเข้าใจปัญหา และสามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างตรงประเด็น ทั้งยังสามารถนำวิธีการแก้ปัญหาสร้างเป็นงานวิจัยเพื่อเป็นกรณีศึกษาให้กับหน่วยธุรกิจอื่นได้
1)  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน การทดสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน จะเป็นการทดสอบความรู้ความสามารถทางทฤษฎีในวิจัยธุรกิจ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทางทฤษฎีก่อนที่จะลงมือปฏิบัติทำงานวิจัยได้อย่างมีหลักการทางวิทยาศาสตร์และสามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาธุรกิจได้ ความรู้ทางทฤษฎีทั้งในเรื่องของกระบวนการทำวิจัยธุรกิจตามขั้นตอน การจัดทำโครงการวิจัย การออกแบบการวิจัย การเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดทำรายงานวิจัย
2)  ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา การส่งรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ก่อนวันที่มีการเรียนการสอน 1 วันของทุกสัปดาห์ หรือส่งในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ตามเวลาที่กำหนด ใช้ในการประเมินความตรงต่อเวลา และคุณภาพของงาน โดยจะกำหนดคะแนนในแต่ละขั้นตอนไว้เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาคุณภาพการทำงาน
3)  ประเมินจากการนำเสนอผลงานวิจัย เมื่อนักศึกษาดำเนินตามขั้นตอนกระบวนการวิจัยจนเสร็จสิ้นแล้ว จะต้องรายงานผลงานวิจัย เพื่อนำเสนอผลการศึกษาวิจัย ผู้สอนจะประเมินคุณภาพของงานวิจัยจากการวัดความรู้ในงานวิจัย และความรู้ในหน่วยธุรกิจที่ศึกษา ด้วยการสังเกตจากการนำเสนอข้อมูลงานวิจัยที่ครอบคลุมทั้งในแง่ของทฤษฎีและข้อมูลเชิงประจักษ์ การตอบข้อซักถามและการประยุกต์ทฤษฎีกับกรณีศึกษาหน่วยธุรกิจ โดยสามารถอธิบายตัวแปรเหตุ และตัวแปรผลได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ และสามารถนำเสนอแนวคิดเพื่องานวิจัยกับหน่วยธุรกิจอื่นได้
ประเมินผลการนำเสนองานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ จากประสิทธิภาพของการนำเสนอทั้งในด้านทักษะทางวิชาการในการทำความเข้าใจในงานวิจัย ทักษะทางภาษาทั้งทักษะการพูด การอ่าน การฟัง และการเขียน ตลอดจนการตอบคำถามเป็นภาษาอังกฤษ ตลอดจนการประเมินวิธีแก้ปัญหาการนำเสนอ
นักศึกษาต้องสามารถค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูลแนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อมูลที่ได้ในการแก้ไขปัญหาและงานอื่นๆ ด้วยตนเอง สามารถศึกษาปัญหาที่ค่อนข้างซับซ้อน และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงความรู้ทางทฤษฎี ประสบการณ์ทางภาคปฏิบัติ และผลกระทบจากการดสินใจ สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจอันถ่องแท้ในเนื้อหาสาระทางวิชาการและวิชาชีพ สาหรับหลักสูตรวิชาชีพ นักศึกษาสามารถใช้วิธีการปฏิบัติงานประจำ และหาแนวทางใหม่ในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
นอกจากนี้ นักศึกษาต้องมีความรอบรู้ สามารถสืบค้นข้อมูล และข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและสามารถประเมินข้อมูล แนวคิด และหลักฐานใหม่ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อการใช้งานตามสถานการณ์จากแหล่งข้อมูล ที่หลากหลาย สามารถประยุกต์ใช้ความรู้จากทฤษฎีและประสบการณ์ เพื่อคิดวิเคราะห์ และสังเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ แก้ไขปัญหาและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขได้อย่างมีเหตุผลตามที่ระบุไว้ดังนี้
1)  สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 
การวิจัยธุรกิจ เป็นการทำให้นักศึกษาสามารถประมวลความรู้ทั้งหมดที่ได้ศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ เช่น ความรู้ด้านบริหารธุรกิจ การจัดการองค์กร การตลาด เศรษฐศาสตร์ บัญชี และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น นักศึกษายังต้องมีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนงานวิจัย เช่น เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลดังกล่าวอาจสืบค้นได้จาก สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เอกสาร สิ่งพิมพ์ จากหน่วยงาน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทักษะทางปัญญาเพื่อให้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้นักวิจัยยังต้องสามารถจำแนกข้อมูลที่รวบรวมได้ จัดระเบียบให้อยู่ในรูปแบบของการนำเสนอ เช่น ตาราง สถิติ แผนภาพ แผนภูมิ เป็นต้น อันจะทำให้ผู้อ่าน หรือผู้สนใจเข้าใจในข้อมูลที่เก็บรวบรวม และสามารถนำข้อมูลที่จัดระเบียบมาใช้ประโยชน์ในการทำงานวิจัยต่อไปได้
นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังต้องสามารถจำแนกข้อมูลที่จัดระเบียบแล้วให้อยู่ในรูปแบบทางวิทยาศาสตร์ คือตัวแปรเหตุ และตัวแปรผล และสอดคล้องกับหลักทฤษฎีที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา สามารถในการคิดค้นตัวแบบ (Model) ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหน่วยธุรกิจ และสามารถประยุกต์ใช้ตัวแบบที่ค้นพบกับปัญหาหน่วยธุรกิจอื่นได้
2)  สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ การวิจัยธุรกิจจากกรณีศึกษา ทำให้ผู้วิจัยเรียนรู้บทบาทของผู้บริหารองค์การธุรกิจซึ่งต้องใช้ทักษะการตัดสินใจ ผู้บริหารหรือผู้ประกอบการจะต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการตัดสินใจ เมื่อผู้วิจัยเข้าไปศึกษาการประกอบธุรกิจทำให้ทราบถึงสภาพทั่วไป การบริหารจัดการ การผลิต การตลาด การเงินและการบัญชี การบริหารจัดซื้อวัตถุดิบ ตลอดจนผลการประกอบการ และในที่สุดผู้วิจัยจะต้องสามารถวิเคราะห์สภาพของปัญหาและสาเหตุของปัญหาของธุรกิจ สามารถคิดค้นทางเลือกเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยเพื่อการแก้ปัญหา สามารถวิเคราะห์ผลกระทบรอบด้านจากทางเลือก และสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการในทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา
3)  คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผลสามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป การสามารถคิดค้นทางเลือกเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยเพื่อการแก้ปัญหาทางธุรกิจได้นั้น ผู้วิจัยจะสามารถอธิบายเป็นข้อสรุปเชิงทฤษฎีทางการบริหารธุรกิจได้
4)  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ เมื่อสามารถคิดค้นทางเลือกเพื่อใช้ในการศึกษาวิจัยเพื่อการแก้ปัญหา สามารถวิเคราะห์ผลกระทบรอบด้านจากทางเลือก และสามารถให้คำแนะนำแก่ผู้ประกอบการในทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาแล้ว ผู้วิจัยสามารถสามารถนำทางเลือกดังกล่าวไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจอื่นได้
1)  กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม การทำโครงงาน หรืองานวิจัย 1 เรื่อง จะมีสมาชิกกลุ่มละ 2 คน เพื่อให้นักศึกษารู้จักการทำงานเป็นทีม และมีการแบ่งงานกันทำ เสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นกับทีม การเขียนงานวิจัย เป็นการเขียนในเชิงวิชาการ จะเป็นการฝึกหัดให้นักศึกษาที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการเขียนบทความในเชิงวิชาการ ฝึกคิดบนพื้นฐานของเหตุและผล (Logic) นำมาวิเคราะห์ค้นหาตัวแปรเหตุที่กำหนดตัวแปรผล แล้วสามารถสร้างเป็นตัวแบบทางคณิตศาสตร์ที่ใช้อธิบายพฤติกรรมของหน่วยธุรกิจ ในการอธิบายสภาพความเป็นไปของสถานประกอบการ การบริหารจัดการ การบัญชี เศรษฐศาสตร์ และการตลาด นอกจากนี้ นักศึกษายังต้องสามารถแบ่งเวลาระหว่างการศึกษาทฤษฎีในห้องเรียน และการแบ่งเวลาให้กับการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในการศึกษาค้นคว้าเพื่อทำงานวิจัย แล้วนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับงานวิจัย ซึ่งต้องใช้เวลานอกเหนือจากการศึกษาในห้องเรียน รู้จักการติดต่อประสานงานองค์กร การนัดหมายบุคคลสำคัญ และการฝึกแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหากเกิดปัญหาต่างๆ ในระหว่างปฏิบัติงาน
2)  มีการอภิปรายเพื่อสรุปประเด็นผลการศึกษาและปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเสนอแนวทางแก้ไข การทำงานวิจัยธุรกิจ เริ่มต้นจากสถานประกอบการใกล้ตัวนักศึกษา จะทำให้นักศึกษารู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงนอกเหนือจากการบอกเล่าในตำรา การได้รับฟังประสบการณ์จากผู้ประกอบการโดยตรง จะทำให้ผู้วิจัยเข้าถึงปัญหาของธุรกิจนั้นๆ ทำให้ผู้วิจัยสามารถก่อเกิดความคิดในการแก้ปัญหา ดังนั้น การเปิดโอกาสให้นักศึกษานำเสนอผลการวิจัยจะเป็นเวทีที่ให้นักศึกษาได้กล้าแสดงความคิดความเห็นต่อประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม และเสนอแนะแนวคิดในการแก้ปัญหาธุรกิจต่อหน่วยธุรกิจนั้นได้ และยังเป็นการปลูกฝังธรรมชาติของนักศึกษาให้รู้จักเป็นคนช่างคิดแบบสร้างสรรค์ให้กับนักศึกษาในยุกต์ข้อมูลข่าวสารได้อีกด้วย
นอกจากนั้น การให้นักศึกษาได้มีโอกาสแสดงความคิดความเห็น ด้วยวิธีการนำเสนอผลการวิจัย จะเป็นการฝึกการพูดในที่สาธารณะ การพูดเชิงวิชาการ การจัดการนำเสนอ การใช้ภาษาในการนำเสนอ ฝึกการใช้ทักษะในการติดต่อประสานงานและการเตรียมการ ฝึกการสรุปความคิดและนำเสนอตามหลักเหตุและผล ฝึกการใช้สื่ออุปกรณ์นำเสนออย่างเหมาะสมกับข้อมูล เหมาะสมกับผู้ฟัง เหมาะสมกับโอกาสและระยะเวลา
3)  เน้นถึงศาสตร์และศิลป์ รวมถึงรูปแบบในการนำเสนอผลงาน และให้นักศึกษาได้มีการนำเสนอผลงานจริง การนำเสนอผลการวิจัย ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการบริหารจัดการ ต้องใช้ความสามารถ ทักษะที่หลากหลายทั้งศาสตร์และศิลป์ เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง เช่น การติดต่อประสานงานบุคคลสำคัญ อาจารย์ผู้เข้าร่วมฟัง การตระเตรียมอุปกรณ์ หรือสื่อนำเสนอ ภาพประกอบ ตัวอย่างจริง หรือแบบจำลอง เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ผู้ฟังการนำเสนอ การลำดับการนำเสนอ การบริหารเวลา การโน้มน้าวความสนใจจากผู้ฟัง การแบ่งหน้าที่ในการนำเสนอ การจัดเตรียมสื่อสิ่งพิมพ์ ตลอดจนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
1)  ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา การนำเสนอรายงานผลการวิจัย นักศึกษาต้องใช้ทักษะทางปัญญาที่หลากหลาย ทั้งในด้านความสามารถในทางวิชาการ การติดต่อประสานงาน และการบริหารจัดการ ผู้สอนจะสามารถประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาจากกิจกรรมนี้ได้อย่างครอบคลุม กล่าวคือ ประเมินจากคุณภาพของงานวิจัย ประเมินได้จาก ความรู้ความเข้าใจในงานวิจัย การตอบข้อซักถาม การประเมินความสามารถในการติดต่อประสานงานตั้งแต่การเริ่มต้นแจ้งอาจารย์และผู้เข้าร่วมประชุมทราบล่วงหน้า ตลอดจนในวันที่มีการประชุม ซึ่งจะประเมินได้จากจำนวนผู้เข้าฟังการนำเสนอผลงานวิจัย การประเมินความสามารถในการบริหารจัดการ ตั้งแต่การแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบ การดำเนินการประชุม การลำดับการประชุม การควบคุมเวลาระหว่างประชุม รวมไปจนถึงการโน้มน้าวให้ผู้ฟังรับฟังการนำเสนอจนจบ
2)  ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ ในการทดสอบความรู้ด้านวิชาการหรือทฤษฎีเกี่ยวกับการวิจัยธุรกิจ เป็นการประเมินว่านักศึกษามีความรู้ในกระบวนการวิจัย ความรู้ในเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย เพื่อนักศึกษามีกระบวนการความคิดอย่างมีหลักการเหตุและผล สามารถค้นหาตัวแปรเหตุและตัวแปรผลได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง สามารถเลือกใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล สร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนเลือกใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3)  ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา การทำโครงงานเป็นการบูรณาการความรู้ต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น เศรษฐศาสตร์จุลภาค การบริหารธุรกิจ การวางแผน การจัดการ การแบ่งงานกันทำ การจัดสรรทรัพยากร วัตถุดิบ บุคลากร และเวลาเพื่อใช้สำหรับการทำงานวิจัย การประเมินจากผลงาน รายงานการวิจัย และการปฏิบัติงานของนักศึกษาจะเป็นตัวชี้วัดที่จะสามารถประเมินคุณภาพของการทำงานในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง
 
1)  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
2)  มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
3)  มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอานวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4)  มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
การทำงานวิจัย กลุ่มละ 2 คน โดยที่สมาชิกมีเป้าหมายเดียวกันที่ต่างคนยอมรับร่วมกัน การทำงานจะมีประสิทธิภาพได้ กลุ่มหรือทีมมีความสำคัญมาก ต้องมีความร่วมมือกันระหว่างสมาชิกเป็นอย่างดี แสดงออกซึ่งการยอมรับ การให้เกียรติกัน มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน การวางแผนร่วมกัน การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้ที่มีความคิดเห็นไม่ตรงกัน และการแบ่งงานกันทำตามความสามารถ และสามารถรับผิดชอบ
มอบหมายงานที่ต้องใช้การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา การทำงานวิจัยให้สำเร็จลุล่วงได้นั้น นอกจากจะเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องที่ทำงานวิจัยแล้ว ผู้วิจัยยังได้เรียนรู้กับทักษะที่จะทำให้กระบวนการของงานวิจัยนั้นสำเร็จลุล่วง ซึ่งอาจเป็นทักษะที่เกี่ยวหรือไม่เกี่ยวเนื่องกับองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่น การติดต่อประสานงานกับบุคคล หรือหน่วยธุรกิจที่ทำวิจัย ในขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งอาจต้องมีการติดต่อประสานงานล่วงหน้า อาจต้องร่างจดหมายราชการเพื่อขออนุญาตเข้าสัมภาษณ์หรือเก็บข้อมูล อาจต้องมีการนัดหมายล่วงหน้า การใช้คำพูดทางการในการสัมภาษณ์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในข้อมูลของหน่วยธุรกิจที่ต้องการเก็บข้อมูลก่อนการเข้าสัมภาษณ์ เช่น ประวัติความเป็นมาของหน่วยธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน หรือสินค้าและบริการของหน่วยธุรกิจนั้นๆ
ดังนั้น ทักษะการติดต่อประสานงานที่ผู้วิจัยพึงมีจะทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์
1)  ประเมินจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม การทำงานวิจัย เป็นการทำงานที่มีเป้าหมายเดียวกันในขณะที่ต่างคนอาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน การยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกันและหาข้อยุติจากความแตกต่าง ความสามารถในการทำงานเป็นทีมและความร่วมมือกันในระหว่างสมาชิกกลุ่มผู้วิจัยจะสามารถประเมินได้จากการสังเกตการทำงานในแต่ละขั้นตอนของการรายงานความก้าวหน้าของงานวิจัย ว่าผู้วิจัยมีการแบ่งงานกันทำ และการยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนและอาจารย์ และยินดีปรับปรุงแก้ไข และกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นหากมีความคิดเห็นที่แตกต่าง
2)  ประเมินจากผลงานของนักศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ความสามารถในการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมการทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ผู้สอนสามารถประเมินทักษะในการทำงานเป็นทีม การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การให้ความร่วมมือ และความรับผิดชอบในหน้าที่
3)  มีการร่วมประเมินทั้งอาจารย์และนักศึกษา ถึงแม้การทำงานวิจัยจะนักศึกษาเป็นผู้วิจัยหลัก งานวิจัยจะสำเร็จไปมิได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ ที่ให้คำปรึกษาให้งานวิจัยของนักศึกษาดำเนินไปอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามขั้นตอน
1)  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน  การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยเป็นกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ที่อธิบายถึงหลักเหตุผลผ่านตัวแปรที่เกี่ยวข้องด้วยวิธีการทางคณิตศาสตร์ ดังนั้น การที่ผู้วิจัยจะสามารถอธิบายตัวแปรจากหน่วยธุรกิจ นอกจากต้องมีความรู้ในทฤษฎีของเหตุผลแล้ว ผู้วิจัยจะต้องสามารถนำตัวแปรเหตุมาใช้อธิบายตัวแปรผล สร้างเป็นตัวแบบหรือแบบจำลอง (Model) ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งต้องใช้ความสามารถด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข เพื่อใช้วิเคราะห์ปรากฏการณ์ของหน่วยธุรกิจบนแบบจำลองที่สร้างขึ้น สามารถถ่ายทอดหรือสื่อสารให้ผู้สนใจหรือผู้อ่านเข้าใจในแบบจำลองด้วยวิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2)  สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ การนำเสนอรายงานการวิจัยจากประเด็นปัญหาทางธุรกิจ จะเป็นสิ่งที่อธิบายความเข้าใจของนักศึกษา หรือผู้วิจัย แล้วสามารถถ่ายทอดอธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจปัญหา สาเหตุของปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำเสนอที่ดียังสามารถนำเสนอความคิดให้ผู้ฟังมองเห็นความสำคัญของปัญหา และสามารถสร้างแนวคิดในการแก้ปัญหาด้วยการสร้างงานวิจัยจากปัญหาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันได้
3)  สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำเสนองานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยนำเสนองานวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เป็นการฝึกฝนการอ่านทำความเข้าใจงานวิจัย สรุปใจความสำคัญ แล้วสามารถนำมาถ่ายทอดให้ผู้ฟังหรือผู้สนใจได้อย่างถูกต้อง
4)  สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ การประมวลผลข้อมูลการวิจัยโดยใช้เครื่องมือทางสถิติในการอธิบายผลการศึกษาและอภิปรายหรือสรุปปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น ซึ่งจำเป็นต้องใช้สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ในการอธิบายลักษณะรายละเอียดของข้อมูล และใช้สถิติเชิงอนุมาน (Inferential Statistics) เพื่อหาข้อสรุปความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่เกี่ยวข้องในงานวิจัย เพื่อนำไปสู่การตอบข้อสงสัยของนักวิจัยและการแก้ไขปัญหาทางธุรกิจในที่สุด
5)  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำเสนอรายงานผลการวิจัย โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นเครื่องมือในการนำเสนอ ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ Excel การสร้างกราฟ ใช้โปรแกรมพิมพ์งานเอกสาร Words ใช้โปแกรม Power Point ในการนำเสนองานวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งการจัดเตรียมข้อมูลเพื่อสนับสนุนการนำเสนอ
1)  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยต้องใช้ทักษะการเรียนรู้ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงวิธีการทางคณิตศาสตร์และสถิติที่นำไปใช้กับงานวิจัยอย่างเหมาะสม ด้วยการเน้นในเรื่องของกระบวนการวิจัยที่ต้องมีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เช่น ที่มาของกลุ่มตัวอย่างและจำนวนกลุ่มตัวอย่าง การตั้งสมมติฐานและการพิสูจน์ และการเลือกสถิติที่ใช้วิเคราะห์ ในการขั้นตอนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าใจในสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการสื่อสาร ผู้สอนจะเน้นในเรื่องของเครื่องมือหรือเทคนิคในการนำเสนอข้อมูลอย่างเหมาะสมกับประเภทของข้อมูล เช่น การนำเสนอในรูปแบบพรรณนา ตาราง แผนภาพ แผนภูมิ รูปแบบ เป็นต้น ทั้งยังเน้นให้ผู้เรียนเลือกช่องทางในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม เช่น การนำเสนอผ่านโปรแกรมนำเสนองาน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ หรือสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์
2)  ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้ เมื่อนักศึกษามีทักษะเชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ผู้สอนจะใช้กลยุทธ์ในการทำให้สามารถเรียนรู้เทคนิคในการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ด้วยการให้นักศึกษาพิสูจน์ข้อสมมติฐานของการวิจัย และทดลองตั้งสมมติฐานกับหน่วยธุรกิจในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อพิสูจน์ข้อสมมติฐานดังกล่าว
3)  มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอผลงานวิจัย นอกจากต้องมีความรู้ในงานวิจัยเป็นอย่างดีแล้ว ยังต้องมีทักษะในการนำเสนอที่หลากหลาย เช่น ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการโน้มน้าว ความสามารถในการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ และทักษะการเลือกใช้สื่อ ซึ่งการเลือกใช้สื่อที่เหมาะสมกับการนำเสนอผลงานวิจัยในยุคปัจจุบันมัก
1)  การทดสอบย่อย กลางภาค และปลายภาค
2)  ผลงานของนักศึกษาจากงานที่มอบหมายให้แต่ละบุคคล และเลือกการนาเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
3)  ประเมินจากการอธิบายหลักการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
4)  ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ตัวเลข ซึ่งได้รับมอบหมายร่วมกัน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม - การเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา และเวลาส่งงานที่ได้รับมอบหมาย - ผลงานวิจัยและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานวิจัย มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม - การเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา และเวลาส่งงานที่ได้รับมอบหมาย - ผลงานวิจัยและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงานวิจัย 1-18 15%
2 ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ - การสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน - ประเมินจากงานที่มอบหมาย - ประเมินจากการนำเสนอผลงานวิจัย ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ - การสอบกลางภาคและปลายภาคเรียน - ประเมินจากงานที่มอบหมาย - ประเมินจากการนำเสนอผลงานวิจัย 8-18 2-16 16-17 60%
3 การสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล ประเมินจากการนำเสนอรายงานการวิจัย 2-17 5%
4 ความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน และความรับผิดชอบ ประเมินจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม ประเมินจากผลงานวิจัยรายกลุ่ม 2-17 5%
5 การประยุกต์หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณ และสามารถสื่อสารเพื่ออธิปบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงานวิจัย ประเมินจากผลงานวิจัยและการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ 16-17 10%
สรชัย  พิศาลบุตร. (2553). การวิจัยทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทจูน พับลิชชิ่ง จำกัด.
วัชราภรณ์ สุรยาภิวัฒน์. (2550). วิจัยธุรกิจยุคใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกสารประกอบการสอนวิชาวิจัยธุรกิจ
ฐานข้อมูล ThaiLis
เว็บไซต์ห้องสมุดทุกมหาวิทยาลัย
เว็บไซต์ ของ สกว.
http://www.csubak.edu/ssric/  ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
http://www.Library.miami.edu/data/ ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
http://trochim.human.cornell.edu ให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย (Research Methods)
http://www.sosig.ac.uk  ให้ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ครบทุกด้าน
http://www.ats.ucla.edu/
http://e-book.ram.edu/e-book/inside/html/dlbook.asp?code=ec111
http://www.econ.tu.ac.th/?action=journal-all&menu=26&type=journal-all&pgmenu=77
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวความคิดและความคิดเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1)  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2)  การสะท้อนคิดของผู้เรียน
3)  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
4)  ข้อเสนอแนะจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่อาจารย์ผู้สอนใช้เป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
1)  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2)  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3)  ผลการเรียนของนักศึกษา
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
1)  เมื่อได้ผลการประเมินสอนนำข้อมูลมาวิเคราะห์แนวทางปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น โดยปรับปรุงเนื้อหาที่สอน และวิธีการวัดผลและประเมินผล
2)  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา
3)  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1)  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2)  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
ผู้สอนใช้วิธีการดำเนินการทบทวนและวางแผนการปรับปรุงประสิทธิภาพของรายวิชาดังแนวทางต่อไปนี้
1)  วางแผน (Plan) ผู้สอนมีการวางแผนการสอนโดยเตรียมการสอนก่อนเริ่มสอนให้สอดคล้องกับแผนการสอนที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น
2)  ลงมือทำ (Do) ผู้สอนลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางเอาไว้
3)  ตรวจสอบ (Check) มีการทำแบบประเมินโดยนักศึกษาและโดยผู้สอนทั้งก่อนและหลังเรียน มีการวัดผลการเรียนระหว่างภาคและสิ้นสุดภาคการศึกษา และมีการประมวลผลและแจ้งผลไปยังนักศึกษาได้โดยตรงโดยใช้ระบบประมวลผลกลางของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
4)  การปฏิบัติ (Action) เมื่อมีการปฏิบัตินอกกรอบแผนงานที่กำหนดไว้จะมีการชี้แจงไว้ในการรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชาและมีการปรับปรุงในภาคการศึกษาถัดไป ส่วนข้อปฏิบัติใดที่มีความถูกต้องดีแล้วก็ดำเนินการพัฒนาต่อไป
นอกจากนี้อาจต้อง มีการปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี  หรือตามข้อเสนอแนะและผลทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 รวมถึงการปรับเปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน  เปลี่ยนหรือจัดการเรียนการสอนเป็นทีม   หรือแบ่งหัวข้อรับผิดชอบเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการวิจัยทางธุรกิจให้มีความหลากหลายมากขึ้น