สหกิจศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร

Cooperative Education in Food Science and Technology

เมื่อนักศึกษาฝึกงานสหกิจศึกษานี้แล้ว นักศึกษาจะมีสมรรถนะในด้านต่าง ๆ ได้แก่
1.1 มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการปฏิบัติงานในสาขาอาชีพของตนเอง รู้จักศึกษา ค้นคว้าหาความรู้ที่เหมาะสมสำหรับการประกอบอาชีพให้มีความก้าวหน้า และรู้จักปรับตัวให้เท่าทันสถานการณ์
1.2 นักศึกษาได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการและวิธีการนำความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอาหารมาใช้ในการทำงาน ได้เห็นความเชื่อมโยงระหว่างความรู้ทางทฤษฎีและการนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดผลในทางปฏิบัติ
1.3 มีทักษะในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และ/หรือเทคนิคที่เกี่ยวข้องกับงานในสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
1.4 ฝึกความอดทน การมีวินัย และความซื่อสัตย์ในการปฎิบัติงาน
1.5 พัฒนาความสามารถในการปรับตัวให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ เข้าใจชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมองค์กร
1.6 มีทักษะในการสื่อสารที่ดี รู้จักนำความรู้ ทักษะทางเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และสารสนเทศมาปรับใช้ในการปฏิบัติงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์
เพื่อให้เนื้อหาสาระการเรียนรู้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอาหาร จึงมีการปรับปรุงเนื้อหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับฝึกประสบการณ์ โดยการเรียนรู้ฝึกฝนจากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริงในระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้เรียนมีเวลามากพอสำหรับการเรียนรู้ทักษะในการปฏิบัติงานจากผู้ที่ความรู้และประสบการณ์โดยตรง ตลอดจนการศึกษาระบบการทำงาน การเรียนรู้วัฒนธรรมและค่านิยมขององค์กร
ฝึกปฏิบัติงานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหารในสถานประกอบการหรือองค์กรผู้ใช้บัณฑิตเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 16 สัปดาห์  นักศึกษาจะต้องผ่านการอบรมเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติงานสหกิจศึกษา โดยบูรณาการความรู้ที่ได้จากการศึกษาในหลักสูตรกับการปฏิบัติงาน ตลอดจนจัดทำโครงการ รายงานผลการปฏิบัติงาน เขียนรายงาน นำเสนอโครงงานแบบปากเปล่า และจัดทำรายงานเป็นรูปเล่ม มีการประเมินผลร่วมกันระหว่างหน่วยงานและสถานศึกษาเพื่อพัฒนาตนไปสู่การประกอบอาชีพ การประเมินผลในรายวิชาเป็นระดับคะแนน พอใจ (S) และ ไม่พอใจ (U)
1.  ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา (Ethics and Moral)
˜1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
˜1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต
˜1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม
˜1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
˜1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
- ปฐมนิเทศนักศึกษาด้านคุณธรรมจริยธรรม การปฎิบัติของนักศึกษาในสถานประกอบการก่อนฝึกงานสหกิจศึกษา
- กำหนดให้ปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถานประกอบการเช่นเดียวกับพนักงานประจำ
- ผู้รับผิดชอบการฝึกฝ่ายสถานประกอบการมอบหมายงานให้แก่นักศึกษาเพื่อให้นักศึกษา
ปฎิบัติงานได้ตามความเหมาะสม โดยมีพนักงานพี่เลี้ยงให้คำแนะนำ
- ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง จากการสังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกระหว่างการฝึกงาน โดยมีการบันทึกผลการประเมิน
- อาจารย์ผู้รับผิดชอบการฝึกงานประเมินความซื่อสัตย์ การมีวินัย และความรับผิดชอบ จากข้อมูลที่ปรากฏในการประเมินผลการฝึกงานสหกิจศึกษาของนักศึกษา จากผู้รับผิดชอบการฝึกงาน
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา
˜ 2.2 มีความรู้ในสาขาอื่น ได้แก่ วิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ การบริหารจัดการ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
š 2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการรวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ
š 2.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมทั้งการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
- สถานประกอบการจัดพนักงานพี่เลี้ยง ให้คำแนะนำการปฏิบัติงานตามหน้าที่ อาจมีการมอบหมายเอกสารข้อมูลของสถานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้ศึกษาด้วยตนเอง
- ศึกษาและฝึกปฏิบัติจริงด้วยตนเองภายใต้การดูแลของพนักงานพี่เลี้ยง
- นักศึกษาเรียนรู้ด้วยตนเองจากการสังเกตและการปฏิสัมพันธ์กับพนักงานประจำ และการศึกษา
เอกสารของสถานประกอบการ
-นักศึกษาจดบันทึกการปฏิบัติงานรายวันและบันทึกรายละเอียดความรู้ที่ได้รับเพื่อใช้ในการเขียนรายงาน
ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง และอาจารย์ที่ปรึกษาการฝึกงาน จากบันทึกการฝึกงานประจำวันและรายงานการฝึกงานสหกิจศึกษา
และการประเมินผลการฝึกงานสหกิจศึกษาของนักศึกษา
˜3.1 มีความสามารถในการ ค้นหาข้อเท็จจริง  ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายและใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหาหรืองานอื่นๆโดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ
˜3.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์
˜3.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
˜3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
- การฝึกปฏิบัติจริงในสถานประกอบการ
- พนักงานพี่เลี้ยงอาจมีการมอบหมายโครงการพิเศษให้กับนักศึกษา
- การประชุมร่วมระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่รับผิดชอบ และนักศึกษา ในช่วงกลางของการฝึก
เพื่อการนำเสนอแนวความคิดการแก้ปัญหาของนักศึกษา และการให้ข้อมูลย้อนกลับโดยเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล และอาจารย์ที่รับผิดชอบ
ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่รับผิดชอบ และจากการแสดงออกของนักศึกษาระหว่างการ
ประชุมร่วม และจากรายงานการฝึกงาน
˜ 4.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองและรับผิดชอบในกลุ่ม
˜ 4.2  สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜ 4.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ
˜ 4.4  สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
– การฝึกปฏิบัติงานเช่นเดียวกับพนักงานประจำ
- การประชุมร่วมระหว่างพนักงานพี่เลี้ยง อาจารย์ที่รับผิดชอบ และนักศึกษา ในช่วงกลางของการฝึก
เพื่อการนำเสนอแนวความคิดของนักศึกษาและการให้ข้อมูลย้อนกลับโดยพนักงานพี่เลี้ยง และ อาจารย์ที่
รับผิดชอบ
- ประเมินจากข้อร้องเรียน (ถ้ามี) จากสถานประกอบการและเพื่อนนักศึกษาที่ร่วมฝึกงาน
- ประเมินการแสดงออกของนักศึกษาระหว่างการประชุมร่วม โดยพนักงานพี่เลี้ยง และ อาจารย์ที่
รับผิดชอบ
š5.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมาย และเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
˜5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜5.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้นๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
˜5.4 มีวิจารณญานในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล
˜5.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม
š5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรมและสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
š5.7 สามารถใช้ภาษาไทยได้อย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้อย่างเหมาะสม
- การฝึกการนำเสนอความคิดเห็นต่อพนักงานพี่เลี้ยง และอาจารย์ผู้รับผิดชอบในการนิเทศนักศึกษา
- กำหนดให้นำเสนอการฝึกงานสหกิจศึกษาหลังจากนักศึกษาเสร็จสิ้นการฝึกงานและรายงานตัวกลับ โดยใช้ powerpoint ประกอบการรายงาน
- กำหนดให้ส่งเอกสารรายงานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
- ประเมินจากการนำเสนอรายงานการฝึกงานสหกิจศึกษาการนำเสนอความรู้ใหม่ การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม ความต่อเนื่องของเนื้อหาที่นำเสนอ การใช้สื่อที่เหมาะสมนำเสนอ
- ประเมินจากเอกสารรายงานการฝึกงานสหกิจศึกษาหลังจากนักศึกษารายงานตัวกลับจากฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ภายใน 1 เดือน
 
˜6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ รวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
- พนักงานพี่เลี้ยงประเมินนักศึกษาตามแบบฟอร์มการประเมินหลังการฝึกงานสหกิจศึกษาที่ทางคณะฯส่งไปให้
- ประเมินโดยพนักงานพี่เลี้ยง
– ประเมินจากการนำเสนอรายงานการฝึกงานสหกิจศึกษาและเอกสารรายงานการฝึกงานสหกิจศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 5. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 1.
1 24129402 สหกิจศึกษาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
- อาจารย์ผู้รับผิดชอบประมวลผลการฝึกงานสหกิจศึกษาของนักศึกษา พร้อมทั้งข้อเสนอแนะต่างๆ จากนักศึกษา พนักงานพี่เลี้ยง และอาจารย์นิเทศ รายงานต่ออาจารย์รับผิดชอบหลักสูตร และประธานหลักสูตร หรือหัวหน้าสาขาวิชาเพื่อทราบ แล้วรายงานให้คณะฯทราบและพิจารณา
- ประธานหลักสูตรทำหน้าที่ในการจัดประชุมผู้สอน ร่วมพิจารณานําข้อเสนอแนะมาปรับปรุงสําหรับการใช้รอบปีการศึกษาถัดไป นําแสดงไว้ในรายงานผลการดําเนินการหลักสูตร