ระบบสารสนเทศในองค์กร
Information System in Organization
ความรู้ความเข้าใจ แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี
เข้าใจหลักการโครงสร้างของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดองค์กร ระบบสารสนเทศเพื่อการแข่งขัน และการตอบสนองต่อองค์กร
มีทักษะในการวิเคราะห์ความต้องการของงานธุรกิจ ระบบข่าวสารและทฤษฎีในการตัดสินใจ การพัฒนาและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศในธุรกิจ แหล่งสารสนเทศ การเลือกใช้แนวโน้มในอนาคตของระบบสารสนเทศ
เพื่อให้สอดคล้องกับสาระวิชาในกรอบหลักสูตรมาตรฐานด้านคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา
แนวความคิดพื้นฐานเกี่ยวกับระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี โครงสร้างของระบบสารสนเทศ ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดองค์กร ระบบสารสนเทศเพื่อการแข่งขัน และการตอบสนองต่อองค์กร ระบบข่าวสารและทฤษฎีในการตัดสินใจ การพัฒนาและการจัดการทรัพยากรสารสนเทศในธุรกิจ แหล่งสารสนเทศ การเลือกใช้แนวโน้มในอนาคตของระบบสารสนเทศ
1 ชั่วโมง
พัฒนาผู้เรียนให้มีมีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ และสามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม
เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ พร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาในประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา พฤติกรรมระหว่างการทำงานกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย โดยผู้สอนอาจซักถามประเด็นด้านจริยธรรม ประเมินผลการวิเคราะห์และออกแบบกรณีศึกษา
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีของระบบสารสนเทศประเภทต่าง ๆ สามารถวิเคราะห์ปัญหาในธุรกิจ และสามารถกำหนดแนวทางในการนำระบบสารสนเทศมาให้ในองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพสอดคล้องกับความต้องการสถานการณ์ รวมถึงศึกษาถึงผลกระทบในการใช้ระบบสารสนเทศที่ขาดคุณธรรม และจริยธรรม
บรรยาย ให้กรณีศึกษา กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม โดยเลือกระบบสารสนเทศประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกรณีศึกษษ ให้นักศึกษาใช้เครื่องมือในการทำรายงานและการนำเสนอ
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ นำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา
มีวิจารณญาณในการวิเคราะห์ความสอดคล้องของระบบสารสนเทศแต่ละประเภท สามารถใช้เทคนิคในการสืบค้นเก็บรวบรวมข้อมูลและความต้องการระบบของหน่วยงาน เพื่อนำเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของธุรกิจ
บรรยาย ให้กรณีศึกษา กำหนดให้นักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม
นำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา และ การอภิปรายกลุ่ม
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนในองค์กรธุรกิจในการเก็บข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเองและรับผิดชอบงานในกลุ่ม
บรรยาย และยกตัวอย่างจากกรณีศึกษา
นำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา และตอบข้อซักถามของอาจารย์
สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อสารอย่างเหมาะสม
บรรยาย พร้อมมอบหมายให้ทำกิจกรรมเสนอแนะ เพื่อให้นักศึกษาสามารถคิดวิเคราะห์ปรับใช้กระบวนการคิดคำนวณให้เหมาะสมกับกรณี
นำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา และตอบข้อซักถามของอาจารย ตรวจรายงานทางเทคนิค
สามารถเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อสนับสนุนการทำงานของธุรกิจได้อย่างเหมาะสม
บรรยายพร้อมมอบหมายให้ทำกิจกรรมเสนอแนะ เพื่อให้นักศึกษาสามารถเลือกเครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับกรณีศึกษา
นำเสนอผลการทำงานกรณีศึกษา และตอบข้อซักถามของอาจารย์ ตรวจรายงานทางเทคนิค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา | คุณธรรมจริยธรรม | ความรู้ | ทักษะปัญญา | ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ | ทักษะคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ | ||||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ลำดับ | รหัสวิชา | ชื่อวิชา | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 1 | 2 | 3 | 4 | 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 1 | 2 | 3 | 4 |
1 | 12032101 | ระบบสารสนเทศในองค์กร |
กิจกรรมที่ | ผลการเรียนรู้ * | วิธีการประเมินผลนักศึกษา | สัปดาห์ที่ประเมิน | สัดส่วนของการประเมินผล |
---|---|---|---|---|
1 | 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 1.5, 1.6 2.1, 2.2, 2.4, 2.6 3.1, 3.3, 3.4 4.2, 4.4, 4.5, 4.6 5.3, 5.4 | รายงานกลุ่มครั้งที่ 1 นำเสนอผลงานด้วยวาจารายงานทางเทคนิค เรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศในปัจจุบัน ประกอบด้วย | 8 | 10% |
2 | 2.1, 2.2, 2.4, 2.6 3.1, 3.3, 3.4 | สอบกลางภาค | 9 | 30% |
3 | 1.2, 1.5 2.1, 2.2, 2.4, 2.6 3.1, 3.3, 3.4 4.2, 4.4, 4.5, 4.6 | แบบฝึกหัดในชั้นเรียน , งานมอบหมาย | 5, 12 | 20% |
4 | 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 1.5, 1.6 2.1, 2.2, 2.4, 2.6 3.1, 3.3, 3.4 4.2, 4.4, 4.5, 4.6 5.3, 5.4 | รายงานกลุ่มครั้งที่ 2 นำเสนอผลงานด้วยวาจารายงานทางเทคนิค กรณีศึกษาระบบสารสนเทศทางธุรกิจ | 16 | 10% |
5 | 2.1, 2.2, 2.4, 2.6 3.1, 3.3, 3.4 | สอบปลายภาค | 17 | 30% |
เอกสารประกอบการสอน วิชา ระบบสารสนเทศในองค์กร (Information System in Organization)
วศิน เพิ่มทรัพย์ และ วิโรจน์ ชัยมูล. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์เทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : โปรวิชั่น, 2548.
สัลยุทธ์ สว่างวรรณ. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่นอินโดไชน่า, 2545.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น,2547.
Kenneth C.Laudon , Jane P.Laudon. Management Information System. New Jersey : Prentice-Hall, 2002.
Larry Long. Management Information systems. New Jersey : Prentice-Hall ,1989.
สัลยุทธ์ สว่างวรรณ. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ. กรุงเทพฯ: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่นอินโดไชน่า, 2545.
โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น,2547.
Kenneth C.Laudon , Jane P.Laudon. Management Information System. New Jersey : Prentice-Hall, 2002.
Larry Long. Management Information systems. New Jersey : Prentice-Hall ,1989.
-
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
การสะท้อนคิด จากพฤติกรรมของผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ผลการสอบ
การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
การประเมินโดยคณะกรรมการประเมินข้อสอบ
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่นหรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบรายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
มีการปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4