การเขียนเชิงสร้างสรรค์

Creative Writing

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกระบวนการสำรวจ  ค้นคว้า  รูปแบบงานเขียนเชิงสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ  ฝึกการเขียนโดยใช้ความคิดและจินตนาการ ตลอดจนกลยุทธ์ในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ เน้นสร้างงานเขียนเชิงสร้างสรรค์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ฝึกการใช้ความคิดและจินตนาการ รวมถึงกลยุทธ์การเขียนเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในด้านการเขียนเชิงสร้างสรรค์ ฝึกการใช้ความคิดและจินตนาการ รวมถึงกลยุทธ์การเขียนเชิงสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
       ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
       สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
1.2.1  ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
1.2.2  กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.1  การเข้าเรียนตรงเวลา
1.3.2  การส่งงานตามเวลาที่กำหนด
1.3.3  การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
      พัฒนาผู้เรียนให้สามารถบูรณาการความรู้ที่ได้จากการสำรวจค้นคว้า รวบรวม เกี่ยวกับรูปแบบและกลยุทธ์การเขียนเชิงสร้างสรรค์ประเภทต่าง ๆ รวมถึงจากความคิดและจินตนาการตามความสนใจ กับศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในรูปแบบของงานเขียนเชิงสร้างสรรค์
      ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
2.2.1  ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2  ให้นักศึกษาใช้ความคิดและจินตนาการสร้างสรรค์งานเขียนในหัวข้อที่สนใจ
2.2.3  ให้นักศึกษาได้ศึกษาจากกรณีศึกษา และตัวอย่างต่าง ๆ
2.3.1  การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
2.3.2  การวิเคราะห์กรณีศึกษา และตัวอย่างต่าง ๆ
2.3.3  ผลงานจากการค้นคว้าของนักศึกษาและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
       พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะในการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการผลิตงานเขียนเชิงสร้างสรรค์
       ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
3.2.1  ให้นักศึกษาค้นคว้า รวบรวม วิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ
3.2.2  ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการเขียนเชิงสร้างสรรค์จากความคิดและจินตนาการ
3.2.3  ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่ม เพื่อแสดงความคิดเห็น แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะให้แก่กัน
3.3.1  การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
3.3.2  การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
3.3.3  การฝึกปฏิบัติ การทำงานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
       ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดีต่อเพื่อนร่วมชั้น อาจารย์ และสังคม
       จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมแบบกลุ่มในชั้นเรียน กระตุ้นให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น และช่วยกันระดมสมองในการฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน
4.3.1  ให้นักศึกษาประเมินกันเองในกิจกรรมกลุ่ม
4.3.2  ผู้สอนประเมินจากการปฏิบัติงานกลุ่ม
4.3.3  สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
       ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเป็นเครื่องมือในการสืบค้น ศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ
5.2.1  สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับการใช้สื่อและเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการสืบค้นและศึกษา
5.2.2  ให้นักศึกษาฝึกใช้เทคโนโลยีประกอบการเขียนเชิงสร้างสรรค์
5.3.1  ผลการฝึกจัดทำและใช้สื่อและเทคโนโลยีประกอบการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา
5.3.2  ผลจากการค้นคว้าข้อมูล และศึกษาเพิ่มเติมของนักศึกษ
       นักศึกษาได้ลงมือฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ รวมทั้งได้รับมอบหมายให้จัดทำ หนังสืออิเลคทรอนิกส์ (E Book)เป็นโครงการ การเขียนเรื่องสั้น (Short story) เป็นงานกลุ่มเพื่อฝึกทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 โดยได้รับความรู้ในเรื่องงานเขียนเชิงสร้างสรรค์และการทำหนังสืออิเลคทรอนิกส์ (E Book)มาประยุกต์ในการทำโครงการ การเขียนเรื่องสั้น (Short story)
6.2.1  การฝึกจัดทำและใช้สื่อและเทคโนโลยีประกอบการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักศึกษา
6.2.2  ให้นักศึกษาทำการค้นคว้าข้อมูลในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ และการทำงานร่วมกันของนักศึกษา
      ผลงานการเขียนเชิงสร้างสรรค์ (Short story) ในรูปแบบของหนังสืออิเลคทรอนิกส์ (E Book)
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 13031029 การเขียนเชิงสร้างสรรค์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3, 2.4, 3.3 สอบกลางภาค 9 20%
2 2.3, 2.4, 3.3 สอบปลายภาค 17 20%
3 2.3, 2.4, 3.3, 4.1, 5.2, 5.3 แบบฝึกหัด / กิจกรรม / งานมอบหมาย / การนำเสนองานเขียน ตลอดภาคการศึกษา 30%
4 2.3, 2.4, 3.3, 4.1, 5.2, 5.3 งานเขียนเรื่องสั้น/นิยาย E Book (งานกลุ่ม) ตลอดภาคการศึกษา 20%
5 1.1, 1.3 การเข้าชั้นเรียนและความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชาการเขียนเชิงสร้างสรรค์ รวมถึงงานเขียนเชิงสร้างสรรค์ประเภทต่างๆ
1. Sanchez, Hector, et al. 2006. English for Professional Success. Thomson ELT. USA.
2. Zemach E. D. & Islam C. 2011. Writing Paragraphs: from sentences to paragraph (Student Book). Macmillan Publisher Limited. London.
1. Folse K.S, Muchmore-vokoun A, & Solomon E.V. 2010. Great Writing 2 : Great Paragraphs. 3rd Ed. Heinle Cengage Learning. Boston. USA.
2 Spaventa L.J & Spaventa M.L. 2001. Writing to Learn: The Essay. McGraw-Hill. New York USA.
3. เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
      การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
          1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
          1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
      การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
          2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
          2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
          2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
      นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
          3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
      ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
        4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
        4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
       นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
       5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ4
       5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัย หรือ ประสบการณ์ของอาจารย์