ปฏิบัติการฟิสิกส์ 2 สำหรับวิศวกร

Physics Laboratory 2 for Engineers

1. รู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติการทางฟิสิกส์
2. มีทักษะในการใช้อุปกรณ์  และเครื่องมือในการปฏิบัติการทางฟิสิกส์
3.มีทักษะในปฏิบัติการเกี่ยวกับการต่อวงจรพื้นฐานอย่างง่าย วงจรอนุกรม วงจรขนาน
4.มีทักษะในการคำนวณหาค่าต่างๆทางไฟฟ้า รู้จักวิเคราะห์และสรุปผลทดลองได้อย่างมีเหตุผล
5. พัฒนาทักษะและจิตพิสัยในการปฏิบัติงานด้านการทดลองที่เป็นระบบ
6. พัฒนาเจตคติที่ดีต่อการแก้ปัญหาโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
1. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและฝึกทักษะทางฟิสิกส์มากขึ้น
2. นักศึกษานำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้กับรายวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
3. เพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์โลกปัจจุบัน
ปฏิบัติการการใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้าเบื้องต้น Solar Cell วงจรตัวต้านทานแบบอนุกรมและขนาน The RC time constant การวิเคราะห์วงจรเคอร์ชอฟฟ์ วงจร RLC แบบอนุกรมและขนาน วงจรบริสด์สโตนวิลส์ สนามแม่เหล็กในตัวนำ กระแสสมดุล การสะท้อนและการหักเห
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
- ตระหนักในคุณธรรม จริยธรรม และความซื่อสัตย์สุจริต
- มีวินัย เคารพกฎ ระเบียบและกติกาต่างๆ ที่ดีงามของสังคม
- มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นกลุ่มได้
- สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมระหว่างการสอน
- สังเกต บันทึกพฤติกรรมการเรียน การปฏิบัติการการทดลอง การบันทึกผลและรายงานผลการทดลอง การแต่งกายและตรงต่อเวลา
- มอบหมายงานรายบุคคลและงานกลุ่ม
- ไม่มีการทุจริตในการทดสอบและการคัดลอกรายงานผลการทดลอง
- ประเมินผลจากการสังเกต บันทึกพฤติกรรมการเรียน การปฏิบัติการการทดลอง การแต่งกายและตรงต่อเวลา
- ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
รู้จักอุปกรณ์ที่ใช้ในการปฏิบัติการทางฟิสิกส์  มีทักษะในการใช้อุปกรณ์ และเครื่องมือวัดทางไฟฟ้าเบื้องต้นในการปฏิบัติการทางฟิสิกส์  และคำนวณหาค่าต่างๆทางไฟฟ้า รู้จักวิเคราะห์และสรุปผลทดลองได้อย่างมีเหตุผลและพัฒนาทักษะในการปฏิบัติงานด้านการทดลองที่เป็นระบบโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์
-มอบหมายให้ศึกษาปฏิบัติการและทำความเข้าใจล่วงหน้า โดยให้เตรียมสมุดบันทึกการทดลอง
-มีการบรรยายแนะนำขั้นตอนที่สำคัญในการทดลองให้แก่ผู้เรียนเพื่อให้ผู้เรียนได้ซักถามก่อนเข้าทำปฏิบัติการ เพื่อให้ผู้เรียนได้ทำปฏิบัติการด้วยความมั่นใจและมีความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ
-หลังจากทำการทดลองและส่งรายงานแก่อาจารย์ผู้สอสแล้วจะมีการอภิปรายที่เกี่ยวข้องกับการทำการทดลองที่ทำในวันนั้นเพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจยิ่งขึ้นและสามารถที่จะศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตัวเองได้จากสื่อต่าง ๆ ที่มีอยู่
- ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
- ประเมินจากผลการทดสอบ
พัฒนาความสามารถในการคิดให้มีการคิดที่เป็นระบบอย่างถูกต้อง รู้จักการจัดการข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปรผลให้ถูกต้อง
- แบ่งกลุ่มปฏิบัติการ และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ของปฏิบัติการต่างๆอย่างเป็นระบบ
- ทำการจัดเก็บข้อมูลให้ถูกต้องอย่างเป็นระบบ
- ทำการวิเคราะห์ข้อมูล/คำนวณ (ถ้ามี )
- ทำการสรุปผลการทดลองและเขียนรายงาน
- ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียน และแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาพร้อมทั้งค้นคว้าเพิ่มเติม
ประเมินผลจากรายงานผลการทดลอง และการตอบปัญหาในชั้นเรียน
- พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียน และผู้เรียนกับผู้สอน
- พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานกลุ่ม
- พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
- จัดกิจกรรมกลุ่มในการทำบทปฏิบัติการ
- มอบหมายงานกลุ่ม และรายบุคคล
- การนำเสนอรายงานและอภิปรายกลุ่ม
- ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
- ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ 
- ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข/จัดเก็บข้อมูลการทดลองอย่างเป็นระบบ
- พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียนใช้รูปแบบ  เครื่องมือ  และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
 - พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
- มีการอธิบายวิธีการปฏิบัติการทดลอง และ/หรือ การคำนวณที่สอดคล้องกับทฤษฎี
- มีการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการสืบค้น
- การนำเสนอโดยใช้รูปแบบ  เครื่องมือ  และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
- ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอ โดยใช้เทคโนโลยี สารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ
- ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย การอภิปรายกรณีศึกษาต่างๆ ที่มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
ไม่มี
ไม่มี
ไม่มี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 FUNSC104 ปฏิบัติการฟิสิกส์ 2 สำหรับวิศวกร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 2.1, 2.3, 3.1, 3.2 ทดสอบย่อยของแต่ละการทดลอง และแบบทดสอบ ปฏิบัติการ ตลอดภาคการศึกษา 30%
2 1.2, 1.3, 1.4, 2.1, 2.3, 3.1, 3.2, 4.1, 4.2, 4.3, 5.1, 5.2, 5.3 ปฏิบัติการทดลอง, การบันทึกผลการทดลอง, สมุด และรายงานการทดลอง ตลอดภาคการศึกษา 70%
1) คู่มือปฏิบัติการฟิสิกส์ 2 สำหรับวิศวกร, ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
2) คณาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยนเรศวร (ม.ป.ป.). คู่มือปฏิบัติการฟิสิกส์ 2 ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2554
3) คณาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. เอกสารประกอบการเรียนวิชาฟิสิกส์ 2 (261102). คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 2554
4) ภาควิชาฟิสิกส์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ฟิสิกส์ 2 . พิมพ์ครั้งที่ 15, สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550
1)  คู่มือปฏิบัติการทดลอง
1)  คู่มือปฏิบัติการทดลอง
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นของผู้ร่วมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2  มีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดประชุมเพื่อปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนหรือทำการวิจัย
ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา เช่น การสอบถามนักศึกษา การตรวจผลงานของนักศึกษา หรือผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้และประสบการณ์ที่หลากหลาย