การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง

Coastal Aquaculture

1. รู้ความรู้เบื้องต้นในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
2. เข้าใจเรื่องอาหารอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน
3. เข้าใจหลักการเพาะเลี้ยงและอนุบาลสัตว์น้ำชายฝั่งประเภทต่างๆ
4. มีทักษะในการเพาะพันธุ์ การอนุบาล และการเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งที่มีผลต่อสิ่งแวดล้อมและเศรษฐกิจ
5. เห็นความสำคัญของการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
1. เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและมีทักษะด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเศรษฐกิจ
2. นักศึกษานำความรู้และทักษะไปใช้ในการดำรงชีวิต ประกอบอาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้เนื้อหาสมบูรณ์สอดคล้องกับการแปลงในโลกปัจจุบัน
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, อาหารสำหรับอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน, การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกลุ่มครัสตาเซียน, การเพาะเลี้ยงปลาน้ำกร่อยและทะเล, การเพาะเลี้ยงหอย และสัตว์น้ำอื่นๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
๑.๑.๑) ให้นักศึกษาตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม
๑.๑.๒) มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่น
๑.๑.๓) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
๑.๑.๔) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นกลุ่มและสามารถแก้ไขปัญหา ข้อขัดแย้ง
๑.๑.๕) มีจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพทางประมง
๑.๒.๑) บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการเรียน การทำงาน และการนำเอาความรู้ที่ได้จากวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งไปใช้ในชีวิตจริง
๑.๒.๒) มอบหมายให้ทำรายงานเป็นรายบุคคลหรือกลุ่ม
๑.๒.๓) อภิปรายกลุ่ม
๑.๓.๑) ประเมินพฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
๑.๓.๒) มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
๑.๓.๓) ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
๑.๓.๔) สังเกตความสนใจและซักถามระหว่างการบรรยาย
๒.๑.๑) มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถนำความรู้ในวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งมาบูรณาการกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมงได้
๒.๑.๒) มีความสนใจและติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ (งานวิจัย), ความรู้ใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งชนิดใหม่ๆ
๒.๑.๓) สามารถพัฒนาความรู้ ความชำนาญในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งชนิดต่างๆ ตลอดกระบวนการผลิตได้
๒.๒.๑) บรรยายเกี่ยวกับความหมายและความสำคัญในการศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง, อาหารสำหรับอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน, การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำกลุ่มครัสตาเซียน, การเพาะเลี้ยงปลาน้ำกร่อยและปลาทะเล, การเพาะเลี้ยงหอย รวมทั้งสัตว์น้ำอื่นๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
๒.๒.๒) มอบหมายงานให้มีการค้นคว้าบทความ ความรู้ใหม่ๆ หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งใหม่ๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
๒.๒.๓) มอบหมายให้ทำรายงานบทปฏิบัติเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
๒.๓.๑) ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
๒.๓.๒) ประเมินผลจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล ความสนใจและซักถามระหว่างการบรรยาย
๒.๓.๓) ประเมินพฤติกรรมการเข้าเรียนและส่งงานตามกำหนดเวลา
๓.๑.๑) พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการเรียนรู้ มีการค้นคว้าแนวคิดและหลักฐานใหม่ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อมูลที่ได้ในการแก้ไขปัญหาหรืองานอื่นๆ ได้ด้วยตนเอง
๓.๑.๒) สามารถใช้ทักษะ ความรู้ความเข้าใจทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และประสบการณ์ในภาคปฏิบัติ มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานทางวิชากรและวิชาชีพ
๓.๑.๓) มีทักษะปฏิบัติตามที่ได้รับการฝึกฝน จากเนื้อหาสาระสำคัญของวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้
๓.๒.๑) มีบทปฏิบัติการให้นักศึกษาได้มีการชี้ส่วนประกอบต่างๆ ของสัตว์น้ำชายฝั่งต่างๆ ตามกระบวนการ
๓.๒.๒) ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา โดยแบ่งกลุ่มนักศึกษาให้มีการระดมสมองในการแก้ไขปัญหา และวิจารณ์ร่วมกันระหว่างอาจารย์และนักศึกษา
๓.๓.๑) ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน
๓.๓.๒) การทดสอบย่อย (Quiz) การสอบกลางภาคและปลายภาค
๓.๓.๓) การนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
๔.๑.๑) สามารถทำงานเป็นกลุ่มและรับผิดชอบร่วมกันกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ และร่วมแสดงความคิดเห็นในกลุ่มได้อย่างเหมาะสม
๔.๑.๒) สามารถปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ในทุกสถานภาพ
๔.๑.๓) มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายจากกลุ่ม
๔.๒.๑) มอบหมายงานทั้งงานรายบุคคลและงานกลุ่ม
๔.๒.๒) อธิบายข้อปฏิบัติในการเข้าชั้นเรียนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ
๔.๒.๓) แบ่งกลุ่มนักศึกษาในภาคปฏิบัติ กำหนดหัวหน้ากลุ่มหมุนเวียนภายในกลุ่ม
๔.๓.๑) ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมายทำงานเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด และคุณภาพของงานเป็นไปตามที่กำหนด
๔.๓.๒) ตรวจสอบความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา การแต่งกายที่เหมาะสม และการทำความสะอาดหลังการปฏิบัติ
๔.๓.๓) สังเกตและให้นักศึกษาประเมินการทำงานของสมาชิกในกลุ่ม รวมทั้งนักศึกษาอื่น ๆ ในรายวิชาทั้งด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและด้านความรับผิดชอบ
๕.๑.๑) มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลและจัดการข้อมูล
๕.๑.๒) สามารถสรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียนรู้จักเลือกและใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างประสิทธิภาพ
๕.๑.๓) มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอ เพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
๕.๑.๔) สามารถใช้ภาษาไทยในการนำเสนอด้วยการเขียนและการพูดได้อย่างเหมาะสม และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้และเหมาะสม
๕.๑.๕) สามารถใช้ทักษะทางคณิตศาสตร์คำนวณค่าความเค็มที่ใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งได้ รวมถึงการวัดความยาวของสัตว์น้ำชนิดต่างๆ ที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ
 ๕.๒.๑) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองทั้งจากอินเตอร์เน็ต, หนังสือในห้องสมุด และแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลและแหล่งข้อมูลที่เหมาะสม
๕.๒.๒) การสอนโดยมีการนำเสนอข้อมูลจากการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต เพื่อเป็นตัวอย่างกระตุ้นให้นักศึกษาเห็นประโยชน์จากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอและสืบค้นข้อมูล
๕.๒.๓) ทำรายงานโดยเน้นแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
๕.๒.๔) นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น การใช้ Power point ที่เข้าใจ 
๕.๓.๑) ทักษะการใช้ภาษาเขียนจากเอกสารรายงานและการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
๕.๓.๒) ทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
๕.๓.๓) รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมและความต่อเนื่องของเนื้อหาที่นำเสนอเข้าใจง่าย
๖.๑.๑) มีทักษะการบริหารเวลาในการปฏิบัติได้อย่างเหมาะสม
๖.๑.๒) มีทักษะในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในปฏิบัติการที่เหมาะสม
๖.๑.๓) มีทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ
๖.๒.๑) อธิบายวิธีการปฏิบัติ และลำดับขั้นตอนการปฏิบัติ
๖.๒.๒) สาธิตและแนะนำทักษะการปฏิบัติ กำชับการควบคุมระหว่างกระบวนการปฏิบัติ และมีการสอบภาคปฏิบัติ
๖.๓.๑) ประเมินความสำเร็จของงาน ตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม
๖.๓.๒) ประเมินการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์อย่างเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4.ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 23013406 การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ๒.๑.) มีความรู้ความเข้าใจในหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา สามารถนำความรู้ในวิชาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งมาบูรณาการกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการประมงได้ ๓.๑.) สามารถใช้ทักษะ ความรู้ความเข้าใจทางทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และประสบการณ์ในภาคปฏิบัติ มาปรับใช้ในการปฏิบัติงานทางวิชากรและวิชาชีพ ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี 9,18 และตลอดภาคการศึกษา 60%
2 มีทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีทักษะในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ในปฏิบัติการที่เหมาะสม และมีทักษะในการปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ - การส่งรายงานผลการทดลองในแต่ละบทปฏิบัติการ - ความร่วมมือในการทำงานเป็นหมู่คณะทำ (ภาคปฏิบัติ) - ความสนใจในงานที่ได้รับมอบหมาย - การนำเสนองานหน้าชั้นเรียน - การคำนวณต่างๆ ในบทปฏิบัติการ ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 มีคุณธรรม จริยธรรม และศีลธรรม ต่อตนเองและผู้อื่น การเข้าชั้นเรียนสม่ำเสมอและการแต่งกายเข้าห้องเรียนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ - การอภิปรายผลหน้าชั้นเรียน - การเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน - การมีส่วนร่วมในการตอบคำถามต่างๆ - การเก็บอุปกรณ์หลังใช้งาน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1. การเพาะเลี้ยงหอย. คเชนทร  เฉลิมวัฒน์. ภาควิชาวาริชศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.228 หน้า
2. เทคโนโลยีการประมงเบื้องต้น. สิทธิพันธ์  ศิริรัตนชัย. 2540. ภาควิชาวาริชศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 301 หน้า
3. การเพาะเลี้ยงหอยตะโกรมเชิงการค้า. โครงการผลิตหอยตะโกรมเชิงพานิชย์. กรมประมง. 57 หน้า
4. กุ้งขาว.ธนพงศ์  แสงซื่อ และคณะ. 2548. แลปอินเตอร์เทค. 159 หน้า
ไม่มี
บทความเกี่ยวกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งต่างๆ จากเว็บไซต์ต่างๆ เช่นหน่วยงานของกรมประมง เป็นต้น หรืออื่นๆ ตามความเหมาะสมของเหตุการณ์และความเป็นปัจจุบัน
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
1. ผลการทดสอบย่อย (Quiz)
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ ๒ จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน หรือมีการวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
    4.1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
   4.2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม   
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง