เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

Sufficiency Economy for Sustainable Development

1.1 เข้าใจเกี่ยวกับ ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
1.2 รู้เข้าใจพื้นฐานทางด้านสังคม  เศรษฐกิจ และการเมืองไทยที่มีต่อการพัฒนา 
1.3 เข้าใจหลักธรรมาภิบาล
1.4 เข้าใจแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
1.5 ประยุกต์ใช้ปรัชญาแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน
1.6 เห็นคุณค่าของการดำรงชีวิตโดยยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง      
1. เพื่อปรับปรุงคุณภาพในการจัดการกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยฝึกให้นักศึกษาคิด วิเคราะห์สังเคราะห์โดยผ่านกิจกรรมหรือกรณีศึกษาทีมีความทันสมัยต่อเหตุการณ์ปัจจุบัน
2.เพื่อให้นักศึกษารู้จักการใช้ชีวิตด้วยความพอเพียงในสังคมเมืองและรู้จักปรับตัวในยุคโลกาภิวัตน์แห่งการเปลี่ยนแปลงรวมทั้งการนำแนวคิดและวิถีการดำเนินชีวิตของบุคคลต้นแบบไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอีกทั้งตระหนักถึงความประหยัดและอดออม เพื่อเป็นภูมิคุ้มกันในการดำเนินชีวิต
ศึกษาความรู้พื้นฐานทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมือง ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หลักธรรมาภิบาล แนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืน การใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน กับปัจเจกบุคคลและสังคม
- อาจารย์ประจำรายวิชาให้นักศึกษาติดต่อโดยตรง ติดต่อผ่านทาง e-mail  เพื่อให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษานอกชั้นเรียน และสื่อสาร-นัดหมายงานต่าง ๆ  โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนรู้จักและเข้าใจการพัฒนาตนเองเพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้  ตลอดจนการพัฒนาด้านร่างกาย  อารมณ์  สังคม  และด้านสติปัญญา  การเข้าใจธรรมชาติของสังคมและมนุษย์ รวมไปถึงพฤติกรรมต่างๆ ของตนเองและผู้อื่น  การนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตของตนดังนี้
1.1.1 มีวินัย  ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
1.1.2.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ อย่างรอบคอบและมีสติ
1.1.3 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น  รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.4มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
 
1.2.1 บรรยายพร้อมซักถามแนวคิดเกี่ยวกับปรัชญา  หลักธรรม  แนวความคิด  เจตคติ  ภาระหน้าที่และความรั[ผิดชอบ  การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม  พฤติกรรมของมนุษย์  การทำงานเป็นทีม  คุณสมบัติด้านคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาวิชาชีพ
1.2.2 อภิปรายกลุ่มเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิตในด้านต่างๆ
1.2.3 อภิปรายกลุ่มเรื่องพฤติกรรมมนุษย์ในวัยต่างๆ 
1.2.4 แบ่งกลุ่มเสนอแนวความคิดเกี่ยวกับปัญหาสังคมและสิ่งแวดล้อมในปัจจุบัน
1.2.5 รวบรวมข้อมูล ข่าว พฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม  พฤติกรรมด้านบวก  พฤติกรรมด้านลบ  และนำมาแลกเปลี่ยนวิเคราะห์วิจารณ์ร่วมกันในชั้นเรียน
1.2.6 ใช้สื่อการสอน เช่น power-point, clip, วีดิทัศน์ และอื่น ๆ
1.3.1   การเข้าชั้นเรียน
1.3.2   ส่งงานตามที่กำหนด
1.3.3   มีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
1.3.4   ประเมินผลจากการวิเคราะห์ข่าว
1.3.5   ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายหน้าชั้นเรียน โดยโปรแกรมPower point วีดิทัศน์ และอื่น ๆ
1.3.6   ประเมินจากรูปเล่มรายงานที่ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงานและต้องมีเอกสารอ้างอิง อย่างน้อย 5 เล่ม
2.1.1   มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2   สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
2.1.3   สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.1.4   มีความรู้เบื้องต้นในทางสังคมศาสตร์ และมนุษย์ศาสตร์     
2.1.5   มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม
2.1.6   ตระหนักและเห็นความสำคัญของคุณธรรม  จริยธรรม  จรรยาวิชาชีพตลอดจนมีระเบียบวินัยในชีวิตและสังคม
2.1.7   สามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ให้เหมาะสมกับตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
บรรยาย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอหน้าชั้น การอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์ โดยมอบหมายให้นักศึกษาต้องติดตามข่าว สังคมตามหัวข้อที่เรียน โดยมุ่งการสอนแบบเน้นนักศึกษาเป็นศูนย์กลางการเรียน (Student Center) และการเรียนโดยการแก้ปัญหา (Problem base Learning)
2.3.1   กิจกรรมชั้นเรียน
2.3.2   รูปเล่มรายงาน
2.3.3   การนำเสนองานในชั้นเรียน
3.1.1   มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการและวิชาชีพ
3.1.2   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
การสอนวิชาปรัชญาแนวคิดของเศรษฐกิจพอเพียงช่วยให้นักศึกษาสามารถดำรงชีวิตอยู่รวมกับผู้อื่นในสังคมได้  รู้จักคิดวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาอย่างมีสติ  มีเหตุผล  ฟังแนวคิดของคนอื่น ๆ ฝึกการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในการทำงานเป็นทีมร่วมกับผู้อื่น  รู้จักบทบาท  และหน้าที่ของตนเอง  เข้าใจพฤติกรรมของมนุษย์ในสังคม  การสร้างมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น  และเพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปรับใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.1 วิเคราะห์กรณีศึกษา โดยการลงพื้นที่โครงการ หรือชุมชนต้นแบบพอเพียง โดยใช้เครื่องมือ 7 ชิ้นการศึกษาชุมชน
3.2.2 จัดทำโครงงาน / บูรณาการงานวิจัยในกระบวนวิชากับการศึกษาชุมชน
3.2.3 จัดการสอนโดยเน้นกระบวนการคิด
3.2.4 นักศึกษาร่วมกันวิพากษ์ (Critical Thinking)ประเด็น มิติทางสังคมด้านต่าง ๆ
3.3.1   การทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วมของนักศึกษา
3.3.2   รูปเล่มรายงานการศึกษาชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง คนต้นแบบพอเพียง ถูกต้องตามระบบการเขียนรายงาน เนื้อหาครบถ้วน
3.3.3   สอบกลางภาคและการสอบปลายภาค
4.1.1   สามารนำความรู้ในศาสตร์มาพัฒนาตนเองและช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
         การสอนวิชาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนช่วยให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ตรงจากบุคคลหรือชุมชนต้นแบบที่ดำเนินตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  นักศึกษาต้องรู้จักการออมและทำบัญชีรายรับรายจ่าย การรวมกลุ่มกันสร้างความเข้มแข็งในชุมชน การฝึกคิดวิเคราะห์แบบโยนิโสมนสิการ เพื่อทันต่อโลกาภิวัตน์ทันต่อการเปลี่ยนแปลง การมีภูมิคุ้มกันที่ดี  เข้าใจหลักการธรรมาภิบาล เพื่อประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตอย่างพอเพียง
4.2.1 จัดการเรียนการสอนโดยกระบวนการกลุ่ม และกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อร่วมแสดงความคิดเห็น ตลอดจนแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
4.2.2 นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินผลการนำเสนองานกลุ่ม
4.2.3 ศึกษาชุมชนต้นแบบโดย นักศึกษาเลือกพื้นที่ ที่สนใจโดย มีครูผู้สอนเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำแนะนำ
4.3.1 สังเกตการสอนการสอนโดยกระบวนการกลุ่ม และกระบวนการมีส่วนร่วม
4.3.2 ประเมินนักศึกษาในการมีส่วนร่วม การนำเสนองานกลุ่ม
4.3.3 ประเมินโดยการสัมภาษณ์ การศึกษาชุมชนต้นแบบ
5.1.1   สามารถสืบค้น ศึกษา  วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
       วิชาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนพัฒนาทักษะการใช้ Internet โดยการสืบค้นข้อมูลจากการข้อมูลจากหนังสือพิมพ์รายวัน รายสัปดาห์ รายปักษ์และหนังสือพิมพ์อิเลคทรอนิกส์พัฒนาทักษะการเลือกรับข้อมูลข่าวสารจากแหล่งสืบค้นต่างๆ
5.2.1 ศึกษาสืบค้นจากแหล่งเรียนรู้จริง 
5.2.2   ใช้การสอนแบบบรรยายและให้ดูตัวอย่างจากคลิปวีดีโอ
5.2.3   ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเนื้อหาจากเว็บไซด์
5.2.4   นำเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนและให้คำปรึกษา อาทิเช่น Line, facebook 
5.3.1 ประเมินรูปแบบการนำเสนองานโดยใช้โปรแกรมทางคอมพิวเตอร์
5.3.2การเผยแพร่ผลงานผ่าน youtube, facebook, Line
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 , 3.1 -สอบกลางภาค -สอบปลายภาค 8, 17 50%
2 1.3, 2.3, 3.3, 4.3, 5.3 - การเข้าชั้นเรียน - การซักถาม - การตอบคำถาม - การตั้งใจเรียน - การมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม - การแสดงความคิดเห็น - ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.3, 3.3 3.3, 4.3 1.3,3.3, 4.3 แบบฝึกหัด การจัดโครงการ นิทรรศการ การศึกษาบุคคล/ชุมชนต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง /เขียนรายงานการศึกษาชุมชน การนำเสนองาน ตลอดภาคการศึกษา 40%
      1.1 คณาจารย์แผนกวิชาสังคมศาสตร์ เศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
สุเมธ ตันตเวชกุล. เศรษฐกจพอเพียงตามแนวพระราชดำริ . 2544. 
       อภิวัฒน์ ภิรมย์รื่น.  วารสารศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม ปีที่ 3 ฉบับที่ 5 กรกฏาคม 2549
       แนวคิดการพัฒนาและการทรงงานเชิงพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
         ดร.จิรายุ  อิสรางกูล ณ อยุธยา
       มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาประเทศตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการ 
       พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
3.1 www.google.com
3.2 http://th.wikipedia.org/wiki/
3.3 www.youtube.com
3.4 http://lib.cri.or.th/news/2006/GreenRes/grr.html
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือสถานประกอบการต่างๆ