เครื่องกำเนิดไอน้ำงานอุตสาหกรรม

Industrial Boiler

เมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนแล้ว นักศึกษาสามารถเข้าใจเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไอน้ำ และลักษณะงานอุตสาหกรรมที่ใช้ไอน้ำ การแบ่งชนิดของเครื่องกำเนิดไอน้ำ ลักษณะของหัวเผา การปรับสภาพน้ำเพื่อนำมาใช้ในระบบ อุปกรณ์ควบคุมอุปกรณ์ดับไอ ระบบท่อและฉนวน การบำรุงรักษา การตรวจสอบความปลอดภัยและกฎหมายควบคุม
เพื่อเพิ่มเติมสื่อการเรียนการสอนให้เข้ากับตำราเรียนที่มีตัวอย่างที่ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้นและเพื่อให้นักศึกษามีความรู้ในเรื่องหลักการหรือแนวคิดของเครื่องกำเนิดไอน้ำ ซึ่งเป็นการประยุกต์ใช้งานด้านความร้อนที่โรงงานส่วนใหญ่เลือกใช้เครื่องกำเนิดไอน้ำ ในขบวนการที่ต้องใช้ความร้อนโดยนักศึกษาสามารถนำไปปรับและประยุกต์ได้จริงเมื่อมีการนำ เครื่องกำเนิดไอน้ำนำมาประยุกต์ใช้งาน
ศึกษาเกี่ยวกับเครื่องกำเนิดไอน้ำ และลักษณะงานอุตสาหกรรมที่ใช้ไอน้ำ การแบ่งชนิดของเครื่องกำเนิดไอน้ำ ลักษณะของหัวเผา การปรับสภาพน้ำเพื่อนำมาใช้ในระบบ อุปกรณ์ควบคุมอุปกรณ์ดับไอ ระบบท่อและฉนวน การบำรุงรักษา การตรวจสอบความปลอดภัยและกฎหมายควบคุม
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ของมหาวิทยาลัยฯ
1.1.2 สามารถทำงานเป็นหมู่คณะและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.1.3 สามารถประเมินผลกระทบจากการใช้ ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ
1.2.1  ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ปฏิบัติตามกฎกติกาที่กำหนดหรือได้ตกลงกันไว้ และปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบ โดยเริ่มตั้งแต่การเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การทำงานกลุ่มและการส่งงานตามกำหนดเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัยฯ
1.2.2  ปลูกฝังเรื่องจรรยาบรรณทางวิชาชีพ ความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ ตลอดจนผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อบุคคล สังคม และสิ่งแวดล้อม หากกระทำการโดยขาดจรรยาบรรณทางวิชาชีพ
1.2.3  สอดแทรกแนวคิดเรื่องระเบียบวินัย ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงการเคารพระเบียบข้อบังคับ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การเข้าเรียนตรงต่อเวลา มารยาทการใช้อุปกรณ์ สื่อสาร
1.2.4 ปลูกฝังให้นักศึกษาได้ตระหนักถึงความซื่อสัตย์ โดยยกตัวอย่างจริงจากพฤติกรรมนักศึกษาในห้องเรียน เช่น การลอกการบ้าน การทุจริตจากการทดสอบเก็บคะแนน เป็นต้น
1.3.1 การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน การปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายและการส่งงานตามกำหนดระยะเวลา
1.3.2 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติ ตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
1.3.3 ความรับผิดชอบในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย
1.3.4 การกระทำทุจริตในการสอบ
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจหม้อไอน้ำในงานอุตสาหกรรม การประยุกต์ใช้งานหม้อไอน้ำในงานต่างๆ สามารถวิเคราะห์แก้ปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้งานหม้อไอน้ำทั้งทางทฤษฎีและปฎิบัติ
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญเชิงทฤษฎี ในเนื้อหาของรายวิชาหม้อไอน้ำในงานอุตสาหกรรม
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในวิชาหม้อไอน้ำในงานอุตสาหกรรมกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ได้
2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือในการแก้ปัญหาได้  
2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 บรรยายโดยเขียนบนกระดานประกอบกับการอ้างอิงในหนังสือ ใช้สื่อการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ ตลอดจนสื่อการสอนที่เป็นชิ้นงานจริง และลงปฏิบัติกับชุดฝึก หม้อไอน้ำแบบหลอดน้ำ และ ชุดทดสอบการทำงานหม้อไอน้ำแบบหลอดไฟสำหรับผลิตไฟฟ้าโดยทำงานในรูปแบบวัฎจักรแรงคิน และวัฎจักรซุบเปอร์ฮิต
2.2.2 ทำแบบฝึกหัดที่เกี่ยวกับเนื้อหาของสัปดาห์นั้นในห้องไปพร้อมกัน และลงฝึกปฎิบัติ
2.2.3 มอบหมายงานกลุ่มให้นำเสนอหน้าห้องทุกสัปดาห์ พร้อมซักถามจากเพื่อนในห้องเรียน และนำปัญหาจากการปฎิบัติงามาวิเคราะห์ปัญหาและแนวทางแก้ไข
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   ประเมินจากแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
2.3.3  พิจารณาจากงานปฏิบัติที่มอบหมาย
2.3.4 พิจารณาจากการแบ่งกลุ่มปฎิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
3.1.1 สามารถคิด วิเคราะห์และสรุปประเด็นปัญหาเพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาทางด้านเครื่องกำเนิดไอน้ำ และลักษณะงานอุตสาหกรรมที่ใช้ไอน้ำ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.2 มีจินตนาการในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรม หรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.3 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อหาความรู้ เพิ่มเติมและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้ใหม่ ๆ
3.2.1 ยกตัวอย่างกรณีศึกษาจากเครื่องกำเนิดไอน้ำ และลักษณะงานอุตสาหกรรมที่ใช้ไอน้ำ
3.2.2 ใช้ตัวอย่างที่ใกล้เคียงหรือเหมือนกับงานจริงประกอบการสอน กระตุ้นให้นักศึกษาคิดด้วยตนเอง และแสดงความคิดในการเริ่มต้นวิเคราะห์ปัญหา มอบหมายการบ้านและแบบฝึกหัดให้นักศึกษาทาประจำสัปดาห์ตามหัวข้อต่างๆ
3.2.3 ให้นักศึกษาค้นคว้า จัดทำรายงานทางเอกสารจากการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตหรือห้องสมุด
3.2.4 มอบหมายงานให้ลงปฎิบัติจริงกับชุดฝึกเครื่องกำเนิดไอน้ำ
3.3.1 การทดสอบย่อย สอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
3.3.2 ประเมินจากรายงานที่ ได้รับมอบหมาย  การนำเสนอรายงานและผลการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
4.1.1 สามารถใช้ความรู้  หลักการ ในวิชาเครื่องกำเนิดไอน้ำ และลักษณะงานอุตสาหกรรมที่ใช้ไอน้ำ ในการสื่อสารต่อสังคมได้ ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้อง
กับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.3 รู้จักบทบาทหน้าที่ และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม
4.1.4 มีจิตสานึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
4.2.1 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย
4.2.2 ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงออก โดยการถามคำถามระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอนและการนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้า
4.2.3 ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น เพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล
4.2.4 ใช้ชุดฝึกสอนเครื่องกำเนิดไอน้ำ ในการมอบหมายงานฝึกปฎิบัติ
4.3.1 ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะพร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
4.3.2 ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
4.3.3 ประเมินจากพฤติกรรมการแสดงความคิดเห็น และการตอบคำถามระหว่างกิจกรรมการเรียนการสอน
4.3.4 ประเมินจากผลงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฎิบัติ
5.1.1 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม และมีประสิ ทธิ ภาพ
5.1.2 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูล เช่น การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.1.3 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในทางวิศวกรรมได้
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเนื้อหาเพิ่มเติมด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ สื่อการสอน         E- Learning
5.2.2  นำเสนอโดยรูปแบบ Power point และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 การทดสอบย่อย สอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน
5.3.2 ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.3.3 ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย และพฤติกรรมของนักศึกษาระหว่างการเรียนและปฏิบัติ
6.1.1 มีทักษะในการปฎิบัติงานด้านหม้อไอน้ำอุตสาหกรรมตามลักษระรายวิชา
6.2.1 ฝึกตามหัวข้อ ตามใบงานที่ได้รับมอบหมาย
6.3.1 ผลจากงานที่ได้รับมอบหมายให้ปฎิบัติ เริ่มต้นตั้งแต่การวางแผน การใช้เครื่องมือ ขั้นตอนการปฎิบัติ และการทำความสะอาดวัสดุฝึก เครื่องมือ บริเวณพื้นที่ที่ปฎิบัติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 และ 1.3 - การเข้าชั้นเรียน - การมีส่วนร่วม และเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 4.2-4.4, 5.1-5.5 - งานคนคว้าตามหัวข้อที่ได้รับมอบหมายและการนำเสนอหน้าห้อง ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 2.1-2.4, 3.1-3.5 - สอบภาคทฤษฏี (กลางภาคและปลายภาค - คุณภาพงานปฏิบัติที่มอบหมาย และสอบภาคปฏิบัติ 3, 6, 12 และ 15 9 17 20% 40%
    1.1Kohan, A. L. 1997. Boiler operator’s guide. McGraw Hill companies
1.2 Bloch, H. P. and Singh, M. P.2009. Steam Turbines (Design, Applications, and Rerating). ISBN: 978-0-07-164100-5, McGraw-Hill Companies
- วิวัฒน์ ภัททิยธนี. 2544. เทคโนโลยีไอน้ำ. บริษัท ชีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน), กรงเทพฯ
- มนตรี พิรุณเกษตร.2542. อุณหพลศาสตร์ 2. บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด, กรุงเทพฯ ISBN 974-11-0078-7
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
2.1 การสังเกตของผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ