ศิลปะภาพพิมพ์ประยุกต์

Applied Printmaking

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างผลงานศิลปะภาพพิมพ์ โดยนำกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน และเทคนิคกลวิธีทางศิลปะภาพพิมพ์ นำมาประยุกต์ใช้ผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดความงามและประโยชน์ใช้สอยและคุณค่าทางด้านศิลปกรรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ การถ่ายทอดรูปแบบ พร้อมทั้งกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปประยุกต์ผ่านสื่อวัสดุต่างๆให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่นำเสนอ และเข้าใจในตัววัสดุนั้นๆได้เป็นอย่างดี เพื่อนำไปปรับใช้ในการสร้างงานศิลปะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างผลงานศิลปะภาพพิมพ์ โดยนำกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานและกลวิธีทางศิลปะภาพพิมพ์ นำมาประยุกต์ผสมผสานกันเพื่อให้เกิดความงามและประโยชน์ใช้สอยพร้อมมีคุณค่าทางด้านศิลปกรรม
อาจารย์จัดช่วงเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ
1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์เฉพาะนักศึกษาที่ต้องการขอคำปรึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย และสร้างระเบียบในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์วิธีการสร้างสรรค์การทำงานศิลปะได้อย่างเข้าใจ

                              7.มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมสาธิตขั้นตอนวิธีคิดและสร้างสรรค์งานศิลปะที่นำมาใช้กับชีวิตประจำวัน ให้นักศึกษาทำงานส่วนบุคคลและงานกลุ่ม

                   3.กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือแรงบันดาลใจ
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และสร้างสรรค์งานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาสร้างสรรค์ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.ประเมินผลการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์
 
ศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติ โดยเน้นรูปแบบและเนื้อหา ที่นำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน
บรรยายและแนะนำกระบวนการสร้างสรรค์และวิเคราะห์เนื้อหาให้มีความสอดคล้องกัน
1.ส่งผลงานและวิเคราะห์พัฒนาการการสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและเหมาะสมกับรูปแบบและกระบวนการ  โดยการใช้วัสดุกระดาษ ผ้า หรือ วัสดุต่างๆให้เหมาะสม
2. ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ และความสอดคล้องของกระบวนการคิดกับกระบวนการสร้างสรรค์
1. การมอบให้นักศึกษาทำงานสร้างสรรค์ที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
2. อภิปรายกลุ่มและเดี่ยว
3. วิเคราะห์กรณีศึกษา ในหัวข้อที่ศึกษาอย่างเหมาะสม
4. การสะท้อนแนวคิดจากกระบวนการ
1.ประเมินผลงานร้างสรรค์และวิเคราะห์พัฒนาการการสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและเหมาะสมกับรูปแบบและกระบวนการใช้วัสดุประเภทต่างๆ
2. ประเมินโครงการหรือการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์
3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2. พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
3. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1. จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
2.มอบหมายการค้นคว้าหาข้อมูลในการสร้างสรรค์ผลงานตามแต่หัวข้อที่นำเสนอ
3. นำเสนอรายงานการค้นคว้า
1. ประเมินตนเอง และเพื่อนด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
2. ประเมินจากสังเกตเป็นรายบุคคล
3. ประเมินจากพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
1. ทักษะการคิด และกำหนดหัวข้อค้นคว้างานสร้างสรรค์
2. พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
3. พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
4. พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
 5.ทักษะในการนำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคนิคที่เหมาะสม
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในระบบออนไลน์
2. นำเสนอโดยรูปแบบและเทคนิค วิธีการที่เหมาะสมโดยใช้โปรแกรมโฟโต้ชอป
1. ประเมินจากผลงานสร้างสรรค์ และรูปแบบการนำเสนอ
2.ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอและวิธีการนำเสนอ
1.มีทักษะในการปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
2.มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมด้วยตัวเอง
3.มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1.ใช้วิธีการสอนด้วยการบรรยาย ยกตัวอย่าง แนะนำให้สืบค้นและศึกษาในระบบออนไลน์
2.แนะนำกระบวนการทางศิลปะภาพพิมพ์ในเทคนิคท่กำหนดให้เหมะสมกับแนวความคิดของนักศึกษาแต่ละบุคคล
3.มอบหมายให้นักศึกษาสร้างสรรค์ผลงานได้ตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
 
 
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงานสร้างสรรค์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4–2.6, 3.2 การประเมินย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค การประเมินย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 17 20% 0% 20% 0%
2 1.1 ,1.6, 1.7, 2.1, 2.4–2.6, 3.2, 4.1–4.6, 5.3-5.4 ประเมินสรุปทุกชิ้นผลงาน วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานและผลงาน การส่งผลงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
1. ชลูด นิ่มเสมอ, 2533. องค์ประกอบศิลปะ.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์ปรินท์ติ้งแอนท์ พับลิชชิ่ง
2.สูจิบัตรนิทรรศการทางด้านงานศิลปะภาพพิมพ์ประยุกต์ของศิลปินไทย และสากล
3.วารสารบ้านและสวน
4.วารสาร  ELLE DECORATION
การศึกษาดูงานผลงานศิลปะภาพพิมพ์ประยุกต์และผลงานที่เกี่ยวข้องตามสถานประกอบการจริงเช่น ร้านค้า หรือ ห้างสรรพสินค้า เป็นต้น
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ประยุกต์ในวัสดุประเภทต่างๆ อาทิ กระดาษ ผ้าและวัสดุสังเคราะห์ เป็นต้น  ดังตัวอย่างเช่น
www.baanlaesuan.com
www.elledecorationthailand.com
เป็นต้น
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. ผลงานการสร้างสรรค์
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1.นักศึกษาสามารถสร้างผลงานศิลปะภาพพิมพ์ประยุกต์และนำไปสร้างธุรกจขนาดย่อมของตนเองได้ได้
2.การตรวจสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
3. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบ ผลงานสร้างสรรค์ วิธีการให้คะแนนผลงาน และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
1.ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2. เชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขาจากภายนอกสถาบัน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากผลงาน และข้อมูลการค้นคว้า