โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานบัญชี

Software Package for Accounting

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับวิธีการจัดการแฟ้มข้อมูลทางบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวและความเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี
1.3 เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี
1.4 เพื่อให้นักศึกษาฝึกการทำงานร่วมกันในกลุ่มสมาชิก
2.1 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะด้านการบันทึกบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์และการจัดทำเอกสารทางบัญชีให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปโดยใช้คอมพิวเตอร์
2.2 เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติลักษณะโดยทั่วไปและการใช้งานของโปรแกรมสำเร็จรูปประเภทต่างๆ ที่เป็นประโยชน์สำหรับงานทางด้านบัญชี โดยเฉพาะโปรแกรมสำเร็จรูปทางด้านบัญชี กรณีตัวอย่างการบันทึกรายการค้าของประเภทธุรกิจต่างๆ รวมถึงการจัดเก็บการรายงานข้อมูลทางการเงิน รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบฐานข้อมูลเบื้อต้น หลักการพื้นฐานของระบบการวางแผลทรัพยากรองค์กร ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จในการนำระบบการบริหารจัดการทรัพยากรภายในองค์กรมาใช้ประยุกร์ใช้งานด้านบัญชีกับระบบการบริหารจัดการองค์กรและศึกษาตัวอน่างจากธุรกิจ
Study and practice of general knowledge about packaged software especially for accounting, learning and practicing in accounting software from case studies, preparing financial reports and information, information technology, fundamental knowledge of database and enterprise rescorce planning, advantages of implementing ERP in organization, using ERP for accounting from various existed businesses
 
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาให้นักศึกษาเข้าพบ โดยประมาณ 7 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
1) มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
- ตระหนักถึงจรรยาบรรณของนักบัญชีที่ดี ที่มีต่อหน้าที่ในการจัดทำบัญชีโดยใช้ความรู้ความสามารถเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพ
2) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
- สามารถปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ และข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนได้
1) สอนหัวข้อจรรยาบรรณของนักบัญชี และข้อกำหนดตามพรบ.การบัญชีพ.ศ.2543 เกี่ยวกับหน้าที่ในการจัดทำบัญชีของผู้ทำบัญชี
2) กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การสอบ งานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
1) ประเมินจากการแสดงความคิดเห็นในเชิงคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพจากการอภิปรายของนักศึกษา
2) ประเมินจากการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนก่อนการสอนทุกสัปดาห์ การประเมินผลการสอบกลางภาค โดยทดสอบความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี การติดตามการส่งรายงานเป็นช่วงเวลาที่กำหนดให้ และการตรวจเครื่องแต่งกายของนักศึกษา
1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางบัญชี
- แนวคิดและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ได้แก่ ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดทำบัญชี โปรแกรมพื้นฐานทั่วไป เช่น MS Office เป็นต้น โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี เช่น Express for Windows
2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
- มีความรู้เกี่ยวกับการใช้งานเทคโนโลยีสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบัญชี ได้แก่ การใช้งานคอมพิวเตอร์ในการสืบค้นข้อมูล การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail) การบันทึกโดยใช้ Laser Disc เป็นต้น
3) มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
- สามารถเข้าใจ และดำเนินการตามกระบวนการจัดทำบัญชีด้วยคอมพิวเตอร์ ตั้งแต่ขั้นต้นไปจนถึงการจัดทำงบการเงินเพื่อเสนอต่อบุคคลภายนอกได้
1) บรรยาย ยกตัวอย่าง และถาม – ตอบในชั้นเรียน
2) รายงานกลุ่ม
3) ให้นักศึกษาส่งงานด้วยรูปแบบต่างๆ ได้แก่ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-Mail)
1) การตอบคำถามในชั้นเรียน
2) ผลงานจากการทำกรณีศึกษา การรายงาน(งานกลุ่ม)
3) การทดสอบย่อย การสอบปลายภาค
4) คุณภาพของงานที่มอบหมาย
1) สามารถสืบค้น ประมวลข้อมูล หลักฐาน แนวคิดต่างๆ ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาได้ด้วยตนเอง
- สามารถสืบค้นข้อมูลทั้งจากอินเตอร์เน็ตและเอกสารที่เกี่ยวข้อง เพื่อการใช้ในการวิเคราะห์ และการทำรายงานกลุ่มได้ เช่น การหาข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจ รายงานทางการเงินของกิจการได้ เป็นต้น
2) สามารถประยุกต์ความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพ และดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
- สามารถจัดทำรายงานโดยใช้โปรแกรมอย่างเหมาะสม
3) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
- สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผล เกี่ยวกับข้อมูลของกิจการ และนำเสนอได้
1) การบรรยาย ยกตัวอย่าง และการถาม – ตอบในชั้นเรียน
2) การอภิปรายเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย
3) การนำเสนอรายงาน (งานกลุ่ม)
 
1) ผลงานจากการจัดทำรายงานและนำเสนองานกลุ่ม
1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
- สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ ตามข้อตกลงที่กำหนดไว้
2) มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
- สามารถทำงานร่วมกับเพื่อนร่วมกลุ่ม (การทำรายงานกลุ่ม) ได้โดยราบรื่น
3) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน
- สามารถช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาในการจัดทำรายงานได้ด้วยความสามัคคีร่วมมือร่วมใจ
มอบหมายงานกลุ่ม ตามประเภทธุรกิจ โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยให้ตัวแทนกลุ่มจับฉลากธุรกิจ เพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน สื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน โดยดำเนินการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการวางแผนการจัดทำรายงานและรายงานผลความก้าวหน้าของรายงาน
1) นักศึกษาประเมินสมาชิกในกลุ่มตนเอง
2) ระบบการจัดทำรายงาน คุณภาพของเล่มรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
- สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูลรายงาน และเทคนิคการนำเสนอรายงานได้อย่างเหมาะสม
1) มอบหมายงานกลุ่ม ตามประเภทธุรกิจ โดยแบ่งเป็น 4 กลุ่ม โดยให้ตัวแทนกลุ่มจับฉลากธุรกิจ เพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน สื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน โดยดำเนินการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการวางแผนการจัดทำรายงานและรายงานผลความก้าวหน้าของรายงาน
1) ระบบการจัดทำรายงาน คุณภาพของเล่มรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ 4. มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม 2. มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฏระเบียบของสถาบันและสังคม 3. สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์มในสังคม 1. มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฏี หลักการ และวิธีการทางบัญชี 2. มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม 3. มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้ ประสบการณ์ 4. สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง 1. สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง 2. สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กันใช้ทักษะทาง วิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ ในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ 3. สามารถติดตาม ประเมินผล แลบะรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน 1. สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ 2. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และ วัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี 3. มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไข ปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ และในบทบาทของผู้ร่วมงาน 4. มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่าวต่อเนื่อง 3. สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ 1. มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง 2. สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกใช้รูปแบบการนำเสนอ ที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แต่กต่างกัน
1 BACAC144 โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1 การทดสอบการใช้งาน ทฤษฎีและปฏิบัติ โปรแกรม Microsoft office Word and Excel 1 30%
2 2-5 การทดสอบทฤษฎีและปฏิบัติ การใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี Express การเข้ารับการอบรมพัฒนาความรู้ทางด้านโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า โครงการ Young & Smart Accounting 1-6 55%
3 1-6 การสังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียน การเข้ารับการอบรมพัมนาความรู้ตามโครงการข้างต้น 1-6 15%
โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชี โดย อุเทน เลานำทา (ฉบับปรับปรุง 2009)
เอกสารประกอบการสัมมนา บริษัท Express จำกัด
การทำหนังสือพับ โดย ธีระสัน คุ้วงศ์
ระบบบัญชีคอมพิวเตอร์ : Conception for Changes โดย อรรพล ตริตานนท์
การบัญชีกับคอมพิวเตอร์, การใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี โดย นันท์ ศรีสุวรรณ
การใช้คอมพิวเตอร์ในงานบัญชี โดย มนู อรดีดลเชษฐ์
คอมพิวเตอร์กับงานสำนักงาน โดย รุ่งทิวา ศิรินารารัตน์
มาตรฐานการบัญชีไทย
พรบ.การบัญชี พ.ศ.2543
พรบ.วิชาชีพบัญชี พ.ศ.2547
ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี และภาษีสรรพากรที่ควรติดตาม ได้แก่ ประกาศเกี่ยวกับ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง ซึ่งได้จาก เว๊ปไซต์ ต่อไปนี้
www.fap.or.th
www.set.or.th
www.rd.go.th
ใช้การทดสอบย่อย
การงานกรณีศึกษาบันทึกบัญชีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปเพื่องานบัญชี
การทำรายงาน
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยในระบบออนไลน์
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงขั้นตอนและวิธีการในการจัดทำบัญชีด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางบัญชี
ให้กรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบ และ การตัดเกรด
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ เป็นผู้นำเสนอข้อสอบ และ การตัดเกรด ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2 ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน วิธีการประเมิน และ เนื้อหารายวิชา