ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

Thai for Communication

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลัก ทฤษฎีการสื่อสารและกระบวนการสื่อสาร 
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจลักษณะภาษาไทยที่ใช้ในกระบวนการสื่อสาร
3. เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาทักษะการคิด การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน อย่างมีศิลปะ
4. เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร และประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
4. เพื่อให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรมในการสื่อสาร และมีความรับผิดชอบต่อการสื่อสารสู่สังคม
5. เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษาเห็นคุณค่าภาษาไทยในฐานะเอกลักษณ์ของชาติ และสามารถประยุกต์ใช้ภาษาในวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
1. พัฒนาพื้นฐานการใช้ภาษาในการสื่อสารของนักศึกษา
2. พัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
3. มุ่งเน้นให้นักศึกษาใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม
ศึกษาเกี่ยวกับหลักและทฤษฎีการสื่อสาร ลักษณะภาษาไทยที่ใช้ในกระบวนการสื่อสาร พัฒนาทักษะการคิด การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน มีศิลปะ คุณธรรม และจริยธรรมในการสื่อสาร สามารถประยุกต์ใช้ภาษาในวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์ เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง และแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
                   1) [¡] มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
                    2) [¡] มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3) [l] มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
                    4) [¡] เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1) ให้วิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรม โดยใช้ทักษะทางภาษา
2) อภิปรายกลุ่ม
3) ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ
4) กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลา และเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ
1) พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรง
   เวลา
2) มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3) ไม่มีการทุจริตในการสอบ
4) ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
                   1) [l] มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
                   2) [¡] สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการของสาขาวิชาที่ศึกษา
                    3) [¡] สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
1) บรรยายร่วมกับอภิปราย การทำงานกลุ่ม การวิเคราะห์งาน และมอบหมายงานที่เกี่ยวข้อง
2) ให้ทำแบบฝึกหัด แบบทดสอบ
3) นักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติม จัดทำผลงาน และนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
1) สอบย่อยระหว่างเรียนด้วยแบบทดสอบ
2) ประเมินจากประสิทธิผลของการศึกษาค้นคว้า การรายงานการศึกษาค้นคว้า และผลงานที่มอบหมาย
3) ทดสอบกลางภาค และปลายภาค
4) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
                   1) [l] มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
                    2) [¡] มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
                   1) บรรยายและอภิปรายกรณีศึกษาร่วมกันในชั้นเรียน
2) การมอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงาน และนำเสนอผลการศึกษา
                   1) สอบย่อย โดยข้อสอบเน้นการใช้ทักษะทางภาษา
                   2) สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน
                   1) [¡] มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
                    2) [¡] มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
                   3) [¡] สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
                    4) [¡] สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1) มอบหมายงานกลุ่มในการศึกษาค้นคว้า
2) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
                   1) ประเมินจากกระบวนการทำงาน และผลงานกลุ่ม
                   2) รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
                   3) พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
                   1) [¡] สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2) [¡] สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม
                    3) [l]สามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website สื่อการสอน e-learning และทำรายงานโดยเน้นการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2) นำเสนอผลงาน โดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
                    1) การจัดทำผลงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
                   2) การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย      
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1,4 2,3,4 2,3,4 2,3 5 2,3 การเข้าชั้นเรียน การแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน การมีส่วนร่วม แฟ้มสะสมงาน ชิ้นงาน การปฏิบัติทักษะการสื่อสาร การสอบกลางภาค การนำเสนองาน/การรายงาน การสอบปลายภาค ทุกสัปดาห์ ทุกสัปดาห์ ทุกสัปดาห์ 8 14 16 10% 20% 20% 20% 10% 20%
กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวง. 2541. ทักษะภาษานานาวิธี. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว. คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย. 2539. การใช้ภาษาไทย 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชนะ  เวชกุล. 2524. การเขียนรายงานจากการค้นคว้า. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. ชวน  เพชรแก้ว, ปรีชา  นุ่นสุข และ ปราณี  ถาวระ. 2524. การใช้ภาษา, ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์. ดนัย ไชยโยธา. 2551. รู้รักภาษาไทย : สำนวนโวหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. ธนู ทดแทนคุณ. 2551. รู้รักษ์ภาษาไทย : ภาษาร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. ธีระพล  อรุณะกสิกร และคณะ. 2540. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน. นพดล จันทร์เพ็ญ. 2539. การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ:  ต้นอ้อ แกรมมี จำกัด. ประภัสสร ภัทรนาวิก. 2545. การเขียนเอกสารสำนักงาน. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ. ปรีชา  ช้างขวัญยืน. 2525. ศิลปการเขียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิชาการ. ปรีชา  ทิชินพงศ์. 2523. ลักษณะภาษาไทย, ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. ไพโรจน์  อยู่มณเฑียร. 2540. สำนวนไทยใช้ให้เป็น, ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ทฤษฎี. สมพร มันตะสูตร แพ่งพิพัฒน์. 2540. การเขียนเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. สุธิวงศ์  พงศ์ไพบูลย์. 2522. การเขียน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. วิเศษ  ชาญประโคน. 2550. ภาษไทยเพื่อการสื่อสาร, ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น. เอกฉัท  จารุเมธีชน. 2539. การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
2) ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
3) แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
- ให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัย แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน
- ให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
- การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการทำงานโครงการ เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา
- แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ
- ทวนสอบ สุ่มตรวจสอบการให้คะแนนในรายวิชาหรือรายงานของผู้เรียน
- เปรียบเทียบการให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อในรายวิชา ตามเกณฑ์ที่กำหนด
- จัดทำข้อสอบมาตรฐานสำหรับรายวิชา (หรือกับสถาบันในเครือข่าย)
มีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอภาควิชา / คณะ