วงจรพัลส์และสวิตชิ่ง

Pulse And Switching Circuits

     1. เข้าใจคุณสมบัติเบื้องต้นของรูปคลื่น
     2. เข้าใจหลักการทำงานของวงจรอินติเกรเตอร์ วงจรดิฟเฟอร์เรนซิเอเตอร์ วงจรคลิปเปอร์ วงจรแคลมเปอร์ วงจรแซมปลิ้งเกต วงจรสวีพเปอร์ วงจรทรานซิสเตอร์สวิตซ์ วงจรกลับสัญญาณ วงจรมัลติไวเบรเตอร์ วงจรชมิตทริกเกอร์
     3. คำนวณหาค่าพารามิเตอร์ต่างๆ ของวงจรอินติเกรเตอร์ วงจรดิฟเฟอร์เรนซิเอเตอร์ วงจรคลิปเปอร์ วงจรแคลมเปอร์ วงจรแซมปลิ้งเกต วงจรสวีพเปอร์ วงจรทรานซิสเตอร์สวิตซ์ วงจรกลับสัญญาณ วงจรมัลติไวเบรเตอร์ วงจรชมิตทริกเกอร์
     4. มีทักษะในการประกอบวงจร แก้ปัญหา และใช้เครื่องมือในการวัดและทดสอบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ ตามหัวเรื่องที่ศึกษา
     5. เห็นคุณค่าของการมีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม และการทำงานเป็นทีม
     1. ปรับปรุงกระบวนการจัดการเรียนการสอน โดยใช้กรอบแนวคิดแบบ CDIO มาประยุกต์ใช้ โดยการเลือกหน่วยเรียน/บทเรียนที่เหมาะสมสำหรับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแบบการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Active Learning) เพื่อเป็นแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนของรายวิชาต่อไป
     2. ปรับปรุงวิธีการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับกิจกรรมในการการจัดการเรียนการสอน และผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่จะเกิดขึ้นหลังจากการจัดการเรียนการสอน
     ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรูปคลื่น วงจรอินทิเกรเตอร์ วงจรดิฟเฟอเรนซิเอเตอร์ วงจรคลิปเปอร์ วงจรแคลมเปอร์ วงจรทรานซิสเตอร์สวิตช์ วงจรกลับสัญญาณ วงจรมัลติไวเบรเตอร์ วงจรชมิตทริกเกอร์ วงจรแซมปลิ้งเกต วงจรสวีพเปอร์
     1. อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์/กลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา และหน้าห้องพัก
     2. อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ) และกลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชา สามารถขอปรึกษาตลอดเวลาโดยที่ผู้สอนจะคอยตอบคำถามหรือให้คำปรึกษาตามความเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1) สอบกลางภาค 2) สอบปลายภาค 3) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม 9, 17, ตลอดภาคการศึกษา 15%, 20%, 10%
2 การส่งการบ้าน/งาน ตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 5%
3 1) การมีระเบียบวินัย การเข้าชั้นเรียน 2) การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 1) ผลการเตรียมการทดลอง 2) ผลการปฏิบัติการทดลอง และการบันทึกผลการทดลอง 3) การสรุปผลการทดลอง และการอภิปรายผลการทดลอง 4) การอภิปรายผลการศึกษาค้นคว้าและบูรณาการความรู้จากการสร้างและทดสอบ Term Project ตลอดภาคการศึกษา 35%
5 การส่งใบปฏิบัติการทดลองตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 5%
     1. Brinton B. Mitchell, Semiconductor Pulse Circuit. Holt , Rinchrat and Winton , Inc 1970.
     2. Daniel S. Babb, Pulse Circuit : Switching and Shaping. Prentice – Hall , Inc. 1964.
     3. David A.Bell, Solid State Pulse Circuits. 4th Ed.  Prentice-Hall of India Private Limited, 4 Indian Reprint, 2002
     4. John M. Doyle, Pulse Fundameltals. Prentice – Hall , Inc. 1963.
     5. Millman and Taub, Pulse,Digital and Switching Waveforms. Mcgraw – Hill Kogakusha , Ltd. 1965.
     6. Robert L. Boylested, Introductory Circuit Analysis. 8th  Edition , Prentice-Hall Internetional, Inc. USA.
     7. A. Amand Kumar, Pulse and Digital Circuits : Prentice-Hall of India Private Limited, 4 Indian Reprint, Sixth Printing, August. 2006.
     เนื้อหาในหัวข้อที่มอบหมายให้ศึกษาด้วยตนเองที่ผ่านการแนะนำจากผู้สอน
     1. http://www.orcad.com/resources/orcad-downloads
     2. http://www.ni.com/multisim/
     3. https://www.youtube.com/watch?v=7ukDKVHnac4
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
     1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
     1.3 ข้อเสนอแนะผ่านกลุ่มบนเพจของระบบโซเชียลของรายวิชาที่จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
     ก่อนการสอนควรมีการประเมินกลยุทธ์การสอนโดยทีมผู้สอนหรือระดับสาขาวิชา และ/หรือ การปรึกษาหารือกับผู้เชี่ยวชาญด้านหลักสูตรหรือวิธีการสอน ส่วนช่วงหลังการสอนควรมีการวิเคราะห์ผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา และการวิเคราะห์ผลการเรียนของนักศึกษา โดยการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
     2.1  การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
     2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา
     2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
     หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
     3.1  แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน เพื่อหาแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่เหมาะสมกับสภาพรายวิชาและการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกัน
     3.2  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
     ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
     4.1 มีการตั้งคณะกรรมการอาจารย์ประจำหลักสูตร  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
     4.2 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ประจำหลักสูตร  หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
     จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
     5.1  ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสะท้อนผลการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน
     5.2  ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4