ปฏิบัติการวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2

Electronic Circuits 2 Laboratory

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวงจรอิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบและวิเคราะห์วงจรกรองแบบพาสซีฟแบบแอกทีฟและแบบสวิตช์คาปาซิเตอร์วงจรปรับแต่งรูปคลื่นแบบเชิงเส้นและแบบไม่เป็นเชิงเส้น วงจรกำเนิดความถี่แบบรูปคลื่นไซน์และแบบไม่ใช่รูปคลื่นไซน์ ออปแอมป์และการประยุกต์ใช้งานลักษณะการทำงานแบบสวิตชิ่งของทรานซิสเตอร์ชนิดรอยต่อและสนามไฟฟ้า วงจรมัลติไวเบรเตอร์วงจรขับ วงจรชมิตต์ทริกเกอร์ วงจรสวีพ วงจรลอจิกเกต วงจรแซมปลิ้งเกตและการประยุกต์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ทางด้านวงจรอิเล็กทรอนิกส์และทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไปแก้ปัญหา เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในรายวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับการออกแบบและวิเคราะห์วงจรกรองแบบพาสซีฟแบบแอกทีฟและแบบสวิตช์คาปาซิเตอร์วงจรปรับแต่งรูปคลื่นแบบเชิงเส้นและแบบไม่เป็นเชิงเส้น วงจรกำเนิดความถี่แบบรูปคลื่นไซน์และแบบไม่ใช่รูปคลื่นไซน์ ออปแอมป์และการประยุกต์ใช้งานลักษณะการทำงานแบบสวิตชิ่งของทรานซิสเตอร์ชนิดรอยต่อและสนามไฟฟ้า วงจรมัลติไวเบรเตอร์วงจรขับวงจรชมิตต์ทริกเกอร์ วงจรสวีพ วงจรลอจิกเกต วงจรแซมปลิ้งเกตและการประยุกต์
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านบอร์ดประกาศข่าวสารของสาขาวิชาวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย ตรงต่อเวลา มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล การไม่เปิดเผยข้อมูล การไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางซอฟแวร์ และไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา มีความซื่อสัตย์ในการเขียนโปรแกรมและออกแบบวงจร โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม รับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์ โดยมีวัตถุประสงค์ไม่ทุจริต และการใช้ซอฟแวร์ที่มีลิขสิทธิ์ถูกต้อง ไม่สนับสนุนการใช้ซอฟแวร์ผิดกฎหมาย อภิปรายกลุ่ม กำหนดให้นักศึกษาสืบหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา
1.  พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2.   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3 . ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรม การประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น การใช้โปรแกรมจำลองการทำงานของระบบควบคุมความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญของหลักการควบคุมและการออกแบบระบบควบคุม ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติ ในเนื้อหาของรายวิชาระบบควบคุมสามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง สามารถใช้ความรู้และทักษะในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
ฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญ
1. ทดสอบการปฏิบัติงานตามใบงานการประลอง
2. ประเมินจากการทดสอบภาคปฏิบัติ
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยี สามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง
1.  การมอบให้นักศึกษาทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
2.  อภิปรายกลุ่ม
3.  การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
1 .  ทดสอบการปฏิบัติ
2 .  ประเมินจากการทดสอบภาคปฏิบัติ
3 .  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1 . พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2 . พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
3 .  พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตาม
1 . จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
2 .  มอบหมายงานกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยีทางด้านอิเล็กทรอนิกส์การนำตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน หรือ          อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาและทำโครงงานพิเศษ
3 .   การนำเสนอผลการทอลองการปฏิบัติงาน
 
1 . ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
2 .  ประเมินจากงานการทดลองที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3 .  ประเมินจากงานโครงงานการศึกษาด้วยตนเอง
 
1 . ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
2 .  พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
3 .  พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
4 .  พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
5 .  ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์
6 .  ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1 . มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อ       ถือ
2 .  นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1 .  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2 .  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
มีความชำนาญและทักษะในการต่อวงจร
ต่อวงจรในภาคปฏิบัติตามหัวข้อการทดลอง
ทดสอบการต่อวงจรภาคปฏบัติโดยวิธีการสุ่มหัวข้อการทดสอบ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ความสัมพันธ์ 5. วิเคราะห์เชิงตัวเลข 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 32122317 ปฏิบัติการวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.3, 2.1, 2.3, 3.3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 5, 9, 14, 17 20%, 10%, 20%, 10%
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.3, 2.4, 3.2, 4.1 – 4.3, 5.1-5.3 การนำเสนอใบงานการประลอง การทำโครงงานพิเศษ ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1, 1.3, 3.1, 5.1-5.3 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
การวิเคราะห์วงจรอิเล็กทรอนิกส์, วงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2,อิเล็กทรอนิกส์กำลัง.คู่มือการทดลองอิเล็กทรอนิกส์ 2,ใบงานการประลองชุดวงจรอิเล็กทรอนิกส์ 2
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
      2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
      2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
      3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
      3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ