การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ

Object Oriented Analysis and Design

         1.1  เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจแนวคิดกับเทคโนโลยีเชิงวัตถุ
         1.2 เพื่อให้นักศึกษาเทคนิคในการวิเคราะห์และออกแบบระบบเชิงวัตถุ
         1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์และออกแบบโดยใช้แนวทางตามหลักการเชิงวัตถุได้
         1.4 เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจและสามารถวางแนวทางและการปฏิบัติในการพัฒนาระบบงานอย่างเป็นระบบเชิงวัตถุได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจ ความสามารถในการวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุเพื่อใช้เป็นพื้นฐานและสามารถวางแนวทางและการปฏิบัติในการพัฒนาระบบงานอย่างเป็นระบบเชิงวัตถุได้ใช้ในการทำงานในอนาคต
               ศึกษาเกี่ยวกับแนวคิดเชิงวัตถุ กระบวนการระบบเชิงวัตถุ การวิเคราะห์ระบบเชิงวัตถุ ยูสเคสไดอะแกรม การออกแบบเชิงวัตถุ คลาสไดอะแกรม แบบจำลองของการวิเคราะห์ สเตทและแอคติวิตีไดอะแกรม แพคเกจ           ไดอะแกรม ไดอะแกรมสำหรับขั้นตอนการพัฒนา
อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซด์คณะ นักศึกษาสามารถ Email มาปรึกษาได้ทุกเวลา อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
มีวินัย  ตรงต่อเวลา  และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม(1.2)


เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม(1.5)

       - สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล  องค์กรและสังคม(1.6)
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

อภิปรายกลุ่ม
พฤติกรรมการเข้าเรียนและส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน  อย่างถูกต้องและเหมาะสม ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา

ประเมินผลการนำเสนองานที่มอบหมาย
มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ(2.1) สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการทางคอมพิวเตอร์ รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะ และการใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ไขปัญหา(2.2) สามารถวิเคราะห์ ออกแบบ ติดตั้ง ปรับปรุงและ/หรือประเมินระบบองค์ประกอบต่าง ๆ ของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้ตรงตามข้อกำหนด(2.3) รู้ เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ ความชำนาญทางคอมพิวเตอร์อย่างต่อเนื่อง(2.5) มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศเล็งเห็นการเปลี่ยนแปลงและเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ๆ(2.6) สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง(2.8)
บรรยาย  อภิปราย  การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน  การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  และเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
ทดสอบย่อย  สอบกลางภาค  สอบปลายภาคด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฎี

ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล  และการนำเสนองานกลุ่ม
คิดอย่างมีวิจารณญาณและอย่างเป็นระบบ(3.1) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ(3.3)

สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาทางคอมพิวเตอร์ได้อย่างเหมาะสม(3.4)
การมอบหมายงานให้ผู้เรียนทำโครงงานกลุ่มที่ต้องวิเคราะห์และออกแบบระบบ  รวมทั้งการนำเสนอผลงาน

อภิปรายกลุ่ม
สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์ วัดผลจากการประเมินโครงการ  การนำเสนอผลงาน

สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา 
สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนหลากหลายและสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและ

ภาษาต่างประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ(4.1)
สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม(4.3)
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา มอบหมายงานกลุ่มในการทำโครงงานวิเคราะห์และออกแบบระบบ

การนำเสนอผลงาน 
ประเมินตนเองและเพื่อนตามแบบฟอร์มที่กำหนด

ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
มีทักษะในการใช้เครื่องมือที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์(5.1) สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์(5.2) สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่าและการเขียน เลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนออย่างเหมาะสม(5.3)

สามารถใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีสื่อหรืออย่างเหมาะสม(5.4)
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  และงานกลุ่ม

นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม  
ประเมินจากรายงาน  และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทาง ปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบ 5. ทักษะการ วิเคราะห์เชิง ตัวเลข การ สื่อสาร และ การใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 7 8 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4
1 22103311 การวิเคราะห์และออกแบบเชิงวัตถุ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 2.1-2.3,2.5-2.6,2.8, 3.1,3.3,3.4 ,4.1,4.3,5.1-5.2 สอบเก็บคะแนน สอบกลางภาค สอบปลายภาค 5 8 17 10% 30% 20%
2 1.2,1.5-1.6, 2.1,2.3,2.5 3.1,3.3,3.4, 4.1,4.3,5.3-5.4 การค้นคว้า วิเคราะห์กรณีศึกษา การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่ม การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.2, 1.5-1.6 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ผศ.สกาวรัตน์ จงพัฒนากร. การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 2550.

กิตติ  ภักดีวัฒนะกุลและคณะ. คัมภีร์การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. เคทีพี คอมพ์ แอนด์ คอนซัลท์ : กรุงเทพฯ, 2546.
สมจิตร  อาจอินทร์และคณะ. หลักการวิเคราะห์และออกแบบระบบฐานข้อมูล. ศูนย์หนังสือจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย : กรุงเทพมหานคร, 2549. รศ. ธีรวัฒน์ ประกอบผลและเอกพันธุ์ คำปัญโญ. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. บริษัทซัลเซส มีเดีย จำกัด, 2552. โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ(System Analysis and Design). บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2544. ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. การวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ. บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2551. ฝ่ายผลิตหนังสือตำราวิชาการคอมพิวเตอร์ บริษัทซีเอ็ดยูเคชั่นจำกัด. การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2551.

Jeffrey A. Hoffer and team.  Modern System Analysis and Design. Pearson prentice hall, 2005.
เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
              การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้  ที่จัดทำโดยนักศึกษา  ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน  และแบบประเมินรายวิชา

การติดต่อ ปรึกษา ส่งงานทางอีเมล์ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
            ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน  ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

ผลการเรียนของนักศึกษา ผลงานกลุ่มของนักศึกษา

การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
           หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2  จึงมีการปรับปรุงการสอน  โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง  และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
              -  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
              -  การวิจัยในชั้นเรียน
          ในระหว่างกระบวนการเรียนการสอนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ  ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา  ได้จาก  การสอบถามนักศึกษา  หรือการสุ่มตรวจผลงานนักศึกษา  รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย  และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น  หรือผู้ทรงคุณวุฒิ

มีการตั้งกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา  โดยตรวจสอบข้อสอบ  รายงาน  วิธีการให้คะแนน  และการให้คะแนนพฤติกรรม
          จากผลการประเมิน  และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรังปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี  หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน  เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองที่หลากหลายมากขึ้น