เทคโนโลยีน้ำนมและผลิตภัณฑ์

Dairy and Dairy Products Technology

1.1  สามารถอธิบาย คุณสมบัติ และองค์ประกอบของน้ำนมได้
1.2  สามารถอธิบายกลไกการเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ เคมี และจุลชีววิทยาของนม และองค์ประกอบของนมได้
1.3  สามารถตรวจสอบคุณภาพ และวิเคราะห์คุณภาพน้ำนมได้
1.4  สามารถแปรรูป และเลือกใช้อุปกรณ์เพื่อการแปรรูปผลิตภัณฑ์นมชนิดต่างๆ ได้
1.5  สามารถเลือกใช้ส่วนเหลือทิ้งจากการแปรรูปนม มาใช้ประโยชน์ได้
มีการปรับปรุงโดยเพิ่มส่วนงานที่ได้รับมอบหมายให้กับนักศึกษา โดยให้นักศึกษาหลังจากเรียนวิชานี้แล้ว ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ สามารถเลือกหัวข้อที่สนใจมาสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่และถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน หรือสร้างสรรค์งานในรูปแบบอื่น ๆ ที่นักศึกษาถนัด
ศึกษาเกี่ยวกับคุณสมบัติและองค์ประกอบของน้ำนม การเปลี่ยนแปลงทางฟิสิกส์ เคมี และจุลชีววิทยาของนม และองค์ประกอบของนม การตรวจสอบคุณภาพน้ำนม การแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่างๆ อุปกรณ์ที่ใช้ในการแปรรูป การใช้ประโยชน์จากส่วนเหลือทิ้ง
จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ 2 ชั่วโมง
    3.1 วันพุธ พฤหัส เวลา 16.30 - 17.30 น. ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร โทร.055-298438 ต่อ 2210
   3.2  e-mail; surinipo@gmail.com เวลา 19.00 – 20.00 น. วันจันทร์ถึงพฤหัส
˜1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
˜1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. มีการลงชื่อเข้าเรียน โดยเน้นการตรงต่อเวลา และการแต่งกายให้เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. มอบหมายงานให้นักศึกษาทำเป็นรายบุคคล และกลุ่ม โดยฝึกความรับผิดชอบในการทำงาน โดยฝึกให้รู้หน้าที่การเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกของกลุ่ม
3. สอดแทรกเรื่องความซื่อสัตย์ไม่กระทำการทุจริตยกตัวอย่างเช่น การสอบหรือลอกการบ้านผู้อื่น
4. สอนโดยสอดแทรก เรื่องคุณธรรม และจริยธรรม ของการใช้สารเคมี หรือสารเจือปนในอุตสาหกรรมนม กฎหมาย มาตรฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับน้ำนมและผลิตภัณฑ์นม โดยตระหนักถึงผู้บริโภคเป็นสำคัญ
1. จากการสังเกต ความตรงต่อเวลาของนักศึกษาที่เข้าชั้นเรียน และจากรายงานที่มีการส่งตรงเวลาตามระยะเวลาที่ได้รับมอบหมาย
2. ประเมินจากการสังเกต และสอบถามสมาชิกในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายงาน จากการสอบถามถึงการมีส่วนร่วมของนักศึกษาและสังเกต จากกระบวนการทำงานตั้งแต่งวางแผนแบ่งงาน เก็บข้อมูล จัดทำ นำเสนอ และการตอบคำถาม
3. ประเมินจากจำนวนครั้งที่นักศึกษาทีถูกร้องเรียนเรื่องการกระทำทุจริต
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
˜2.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้
2.1
1. การบรรยายให้ความรู้ด้านทฤษฎี
2. ตั้งทำถามระหว่างการสอน ให้นักศึกษาช่วยกันอภิปรายโดยเน้นความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นม
3. สอนปฏิบัติโดยให้นักศึกษาฝึกการวิเคราะห์ และสังเคราะห์ผลการทดลองจัดให้มีจัดทำรายงานหลังจากทำปฏิบัติการเป็นรายบุคคล
4. ระหว่างการสอนมีการตั้งหัวข้อคำถามกรณีศึกษา พร้อมทั้งให้นักศึกษานำเสนอ และมีการตอบข้อซักถามภายในชั้นเรียน
2.3
1. มอบหมายงานในหัวข้อเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นม ในรูปแบบที่นักศึกษาถนัด โดยให้นักศึกษาคิดหัวข้อย่อย รวบรวมข้อมูลคิดวิเคราะห์ การทดลอง บริการวิชาการ และจัดทำรายงานสรุปผล
2.1
1. ประเมินจากการตอบคำถามในชั้นเรียน
2. ประเมินจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
2.3
1.ประเมินจากวิธีการดำเนินงาน ทดลอง การถ่ายทอดบูรการวิชาการต่อชุมชนของนักศึกษา
2. ประเมินจากการตอบคำถาม
3. ประเมินจากผลสำเร็จของการจัดกิจกรรมของนักศึกษา
˜3.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
1. สอนโดยให้นักศึกษาฝึกทักษะในภาคปฏิบัติการวิเคราะห์ การแปรรูป ผลิตภัณฑ์นม โดยให้นักศึกษาต้องปฏิบัติจริงทุกคน
1. ประเมินจากการสังเกตความถูกต้องระหว่างการปฏิบัติของนักศึกษา
2. ประเมินจากการทดสอบภาคปฏิบัติ
˜4.1  มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเอง และรับผิดชอบในงานกลุ่ม
1. มอบหมายให้งานให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม ให้อิสระนักศึกษาในการกำหนดหัวหน้ากลุ่มและสมาชิกในกลุ่ม
1. ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการเตรียมงาน ระหว่างการทำงาน หรือกิจกรรมในชั้นเรียน
˜5.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสาร ทั้งการพูดและการเขียน รู้จักการเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่ต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
˜5.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
5.2
1. สอนให้นักศึกษาใช้  Power point หรือโปรแกรมอื่นๆ เพื่อนำเสนอผลงาน
2. มอบหมายงานให้นักศึกษานำเสนอ โดยการสรุปประเด็นที่สำคัญ และตามระยะเวลาที่กำหนดฃ
5.6
1. มอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
การแนะนำเทคนิคการสืบค้นและเลือกใช้แหล่งข้อมูลที่ถูกต้อง
5.2
1. ประเมินจากการสรุปประเด็นของนักศึกษา ลำดับหัวข้อการนำเสนอ
2. ประเมินจากการตอบคำถามของนักศึกษา
3. ประเมินจากความพอใจของผู้เข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
5.6
1. ประเมินความถูกต้องของเนื้อหา และการอ้างอิงจากสื่ออิเล็กทรอนิคจากข้อมูลที่นักศึกษาสืบค้นมา
˜6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ              อุปกรณ์และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
1. จัดสรรเวลาการสอนทั้งภาคบรรยาย และปฏิบัติให้ชัดเจน พร้อมทั้งกำหนดบทลงโทษของการไม่ตรงต่อเวลาให้ชัดเจน
2. แบ่งกลุ่มในภาคปฏิบัติ ให้นักศึกษาใช้เครื่องมืออุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์และการแปรรูปผลิตภัณฑ์นม
1. ประเมินจากการเข้าเรียนตรงเวลาของนักศึกษา
2. ประเมินจากความสามารถในการปฏิบัติได้ ใช้เครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ได้ของนักศึกษา
3. ประเมินจากการสังเกตการเอาใจใส่ในการใช้เครื่องมือและดูแลการใช้เครื่องมือที่ถูกต้องและสร้างสรรค์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7 1
1 24127307 เทคโนโลยีน้ำนมและผลิตภัณฑ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 - จำนวนครั้งการเข้าเรียนต้องเกิน 80% - การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน - คะแนนกิจกรรมส่วนมหาวิทยาลัย 1-8 และ 10-16 10
2 2.1 2.3 - การสอบกลางภาค 9 25
3 2.1 2.3 - การสอบปลายภาค 16 25
4 3.4 6.1 4.1 4.2 รายงานการปฏิบัติการ 1-14 25
5 4.1 4.2 5.2 5.6 - กิจกรรมสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นม การบริการวิชาการ เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นม ของนักศึกษา 16 15
สุริยาพร นิพรรัมย์. 2558. เอกสารประกอบบรรยายรายวิชา รหัสวิชา 24127307  เทคโนโลยีน้ำนมและผลิตภัณฑ์ (power point และเอกสารประกอบ)
Belitz, H.D., Grosch, W. and Schieberle, P. (2009). Food Chemistry. 4th Edition, Springer-Verlag, Berlin, 1070 p.
Robinson, R. K. (2012). Modern Dairy Technology: Volume 2 Advances in Milk Products. Springer Science & Business Media.
Walstra, P. (2013). Dairy technology: principles of milk properties and processes. CRC Press.
นิธิยา  รัตนาปนนท์. (2557). เคมีนมและผลิตภัณฑ์นม. โอ เอส พริ้นติ้ง เฮาส์. กรุงเทพฯ. 206 หน้า.
www.fda.moph.go.th
http://www.fda.gov
www.sciencedirect.com
www.ift.org/cms
www.thaifoodscience.com
www.fostat.org/index.php
www.foodsciencetoday.com
www.nfi.or.th/index.asp
www.foodfocusthailand.com/home.ph
ให้นักศึกษาทุกคนประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ซึ่งรวมถึง วิธีการสอน การจัดกิจกรรมในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ที่ได้รับ และเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงรายวิชา ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย 
การสอนถูกประเมินโดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียน นักศึกษาประเมินผ่านระบบการประเมินของมหาวิทยาลัย และผู้สอนประเมินโดยการสัมภาษณ์ตัวแทนนักศึกษา
การสอนถูกปรับปรุงโดยนำข้อมูลด้านวิชาจากที่เป็นข้อมูลใหม่ ข้อมูลหรือความรู้ที่ได้จากงานวิจัยข้อมูลจากการฝึกอบรมต่าง ข้อมูลที่นักศึกษาประเมิน ข้อมูลจาก มคอ.5 จากปีการศึกษาที่ผ่านมาและคำแนะนำจากอาจารย์ผู้ที่มีประสบการณ์การสอนรายวิชาเทคโนโลยีน้ำนมและผลิตภัณฑ์ มาปรับปรุงเนื้อหา บทปฏิบัติการ และวิธีการสอนให้สามารถสอบสนองต่อความต้องการของนักศึกษา ความรู้ที่เปลี่ยนไปให้ดียิ่งขึ้น
          มีการนำนักศึกษาไปดูงานนอกสถานที่ตามที่นักศึกษาเสนอ และนำข้อมูลความรู้ที่ได้จากการศึกษานอกสถานที่มาอภิปลายแลกเปลี่ยนเรียนรู้กัน เพิ่มกิจกรรมที่นักศึกษาต้องรับผิดชอบเป็นรายบุคคล เพื่อจะได้ประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษารายบุคคลได้
คณะกรรมการประเมินข้อสอบและความเหมาะสมของการให้คะแนนและระดับขั้นคะแนน โดยการสุ่มรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนรวบรวมผลการประเมินการจากนักศึกษา คะแนนสอบของนักศึกษา สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา และปัญหาที่นักศึกษาเข้าปรึกษากับอาจารย์ โดยอาจารย์ผู้สอนนำข้อมูลดังกล่าวเข้าขอคำปรึกษาภายในที่ประชุมกับอาจารย์ประจำหลักสูตรท่านอื่นๆ เพื่อร่วมกันแนะนำแนวทาง วิเคราะห์ปัญหา และแก้ปัญหา อีกทั้งยังนำข้อมูลดังกล่าวไปทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้  หากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการจะนำเสนอในที่ประชุมภาควิชาฯ เพื่อพิจารณาต่อไป