ศิลปะภาพพิมพ์ประยุกต์

Applied Printmaking

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างผลงานศิลปะภาพพิมพ์ โดยนำกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน และเทคนิคกลวิธีทางศิลปะภาพพิมพ์ นำมาประยุกต์ใช้ผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดความงามและประโยชน์ใช้สอยและคุณค่าทางด้านศิลปกรรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ การถ่ายทอดรูปแบบ พร้อมทั้งกระบวนการสร้างสรรค์งานศิลปประยุกต์ผ่านสื่อวัสดุต่างๆให้สอดคล้องกับเนื้อหาที่นำเสนอ และเข้าใจในตัววัสดุนั้นๆได้เป็นอย่างดี เพื่อนำไปปรับใช้ในการสร้างงานศิลปะที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างผลงานศิลปะภาพพิมพ์ โดยนำกระบวนการสร้างสรรค์ผลงาน และเทคนิคกลวิธีทางศิลปะภาพพิมพ์ นำมาประยุกต์ใช้ผสมผสานกัน เพื่อให้เกิดความงามและประโยชน์ใช้สอยและคุณค่าทางด้านศิลปกรรม
1-2  ชั่วโมงต่อสัปดาห์หรือในรายที่นักศึกษาประสบอุบัติเหตุ
1.ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ 2.มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 3.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 4.เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 5.เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 6.สามารถวิเคราะห์วิธีการสร้างสรรค์การทำงานศิลปะภาพพิมพ์ประยุกต์ได้อย่างเข้าใจและนำไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

                   7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1.บรรยายพร้อมสาธิตขั้นตอนวิธีคิดและสร้างสรรค์งานศิลปะที่นำมาใช้กับชีวิตประจำวัน 2.ให้นักศึกษาทำงานกลุ่มและเดี่ยว

              3.กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง หรือแรงบันดาลใจ
1.พฤติกรรมการเข้าเรียน และสร้างสรรค์งานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาสร้างสรรค์ อย่างถูกต้องและเหมาะสม อาทิ ภาพถ่าย หรือข้อมูลที่เกี่ยวข้องในการสร้างสรรค์
3. ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4. ประเมินผลการนำเสนอผลงานสร้างสรรค์
 
ศึกษาค้นคว้าและปฏิบัติโดยเน้นรูปแบบและเนื้อหาที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวัน อีกทั้งยังเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำมาใช้ได้จริงแต่มีแรงบันดาลใจเฉพาะตนที่นำเสนอโดยใช้เทคนิคทางศิลปะภาพพิมพ์ อาทิ ภาพพิมพ์แกะไม้  ภาพพิมพ์ตะแกรงไหมและภาพพิมพ์โลหะ เป็นต้น
1. บรรยายและวิเคราะห์เนื้อหาพร้อมยกตัวอย่างประกอบ
2.นำเสนอวิดิโอที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับกาเรียนในแต่ละบท
3.ยกตัวอย่างประกอบการเรียนโดยนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ที่เป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จแล้วให้ผู้เรียนได้ศึกษาประกอบ
1.ส่งผลงานและวิเคราะห์พัฒนาการการสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและเหมาะสมกับรูปแบบและกระบวนการโดยใช้วัสดุกระดาษ ผ้า หรือ วัสดุต่างๆตามที่กำหนดไว้ในแต่ละหัวข้อ
2. ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา
 
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ และความสอดคล้องของกระบวนการคิดกับกระบวนการสร้างสรรค์ 
1. มอบหมายให้นักศึกษาทำงานสร้างสรรค์ที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน
2. อภิปรายกลุ่มและเดี่ยว
3. วิเคราะห์กรณีศึกษา ในหัวข้อที่ศึกษาอย่างเหมาะสม
4. การสะท้อนแนวความคิดจากกระบวนการที่นำเสนอผลงาน
1.ส่งผลงานและวิเคราะห์พัฒนาการการสร้างสรรค์ที่สอดคล้องกับเนื้อหาและเหมาะสมกับรูปแบบและกระบวนการใช้วัสดุที่นำมาสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์นแต่ละชิ้นงาน  อาทิ กระดาษ ผ้า หรือ วัสดุสังเคราะห์ เป็นต้น
2. วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงานสร้างสรรค์
3. สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
1. พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2. พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
3. พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1. จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
2.มอบหมายการค้นคว้าหาข้อมูลในการสร้างสรรค์ผลงานตามแต่หัวข้อที่นำเสนอ
3. การนำเสนอรายงานการค้นคว้า
1.ประเมินตนเองและเพื่อนร่วมชั้นเรียน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนดหรือสัมภาษณ์รายบุคคล
2. ประเมินจากผลงานที่นำเสนอและพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียนและการทำงานแบบกลุ่ม
1.พัฒนาทักษะการคิด และกำหนดหัวข้อค้นคว้างานสร้างสรรค์โดยการสืบค้นข้อมูลในระบบออน์ไลน์
2. พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การอ่าน การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียนด้วยคอมพิวเตอร์
3. พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษาจากระบบออนไลน์
4. พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตในเว็ปไซด์ต่างๆที่เกียวข้องกับการสร้างสรรค์ผลงาน
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
2. นำเสนอโดยใช้รูปแบบ เทคนิคและวิธีการที่เหมาะสมให้สอดคล้องกับแนวความคิดที่กำหนดไว้เฉพาะตน
1. ประเมินจากผลงานและรูปแบบการนำเสนอ
2. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอและวิธีการนำเสนอ


 
 
1.,มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
2.มีทักษาะในการหาแนวทางสร้างสรรค์ได้อย่างถูกต้องด้วยตนเองและงานกลุ่ม
3.มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงานทั้งส่วนตนและงานกลุ่ม
ใช้วิธีการสอนด้วยวิธีการหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องในระบบออนไลน์หรือแรงบันดาลใจส่วนบุคคลนำมาสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ประยุกต์ตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเหมาะสมด้วยตนเองและงานกลุ่ม
ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงานสร้างสรรค์เฉพาะตนและงานกลุ่ม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 การประเมินย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค การประเมินย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 17 20% 0% 20% 0%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 ประเมินสรุปทุกชิ้นผลงาน วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานและผลงาน การส่งผลงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 20%
1. Printmaking A Complete Guide to Material & Process by Beth Grabowski & Bill Fick 
2. The Art of Japanese Print by Richard ILLING
3. Japanese Prints by Gabriele Fahr-Becker
4. ผลงานตัวอย่างประเภทต่างๆทีเกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน  อาทิ ผลิตภัณฑ์ประเภท กระเป๋าผ้า ผ้าพันคอ ผ้าปูโต๊ะ และผลงานศิลปะภาพพิมพ์ที่พิมพ์ลงบนวัสดุปูนปลาสเตอร์ เป็นต้น
1. วารสาร ELLE  DECORATION
2.วารสาร ART SQUARE THAI CONTEMPORARY ART AND CULTURE 
3. วารสาร บ้านและสวน 
 
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น การสร้างสรรค์ผลงานศิลปะภาพพิมพ์ประยุกต์ในวัสดุประเภทต่างๆ อาทิ กระดาษ ผ้า และวัสดุสังเคราะห์ เป็นต้น
คำอธิบายศัพท์
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1. การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2. ผลการเรียนของนักศึกษา
3. ผลงานการสร้างสรรค์
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
1. สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2. การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1.นักศึกษาสามารถนำความรู้ความเข้าใจในการเรียนไปประยุกต์ใช้สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ในลักษณะเฉพาะของตนได้หรือสร้างธุรกิจขนาดย่อมจากแนวความคิดที่ได้เรียนรู้ตลอดภาคเรียน
2.การตรวจสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
3. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบ ผลงานสร้างสรรค์ วิธีการให้คะแนนผลงาน และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และตรวจสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
1. ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
2. เชิญผู้เชี่ยวชาญในสาขาจากภายนอกสถาบัน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากผลงาน และข้อมูลการค้นคว้า
3.ศึกษาดูงานจากสถานประกอบการจริงทั้งในประเทศและต่างประเทศที่มีความเชี่ยวชาญชำนาญในงานศิลปะภาพพิมพ์ประยุกต์