การอ่านเพื่อความบันเทิง

Reading for Pleasure

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการอ่านงานเขียนประเภทต่างๆ ที่ผู้เรียนสนใจ เกิดสุนทรียรส เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์
เพื่อให้นักศึกษาได้รู้จักงานเขียนประเภทต่าง ๆ สามารถเลือกอ่านตามความสนใจ เกิดความรักในการอ่าน เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ และเพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการอ่านงานเขียนประเภทต่างๆ เพื่อความบันเทิง เพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ เรียนรู้ และอภิปรายเกี่ยวกับลักษณะ ลีลา หัวเรื่อง และใจความสำคัญของงานเขียน
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่ความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
         1.2.1    ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
         1.2.2    กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ การส่งงานตรงตามกำหนดเวลา ความอดทน และการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมในชั้นเรียน
1.3.1   สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนในชั้นเรียน
         1.3.2    การเข้าเรียนตรงเวลา และการส่งงานตามเวลาที่กำหนด
         1.3.3    การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษาเกี่ยวกับการอ่านกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตามความสนใจของนักศึกษา
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย
          2.2.1    ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ทบทวนความเข้าใจตามกิจกรรมที่กำหนด
         2.2.2    ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
         2.2.3    ให้นักศึกษาเลือกอ่านงานเขียนตามความสนใจ
         2.3.1    การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
         2.3.2    การวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียนที่นักศึกษาเลือกอ่าน
         2.3.3    การนำความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่อ่านมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ โดยนำความรู้ที่ได้รับจากการอ่าน มาปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
3.2.1    ให้นักศึกษาฝึกวิเคราะห์วิจารณ์งานเขียนเป็นรายบุคคล แล้วนำเสนอในชั้นเรียน
 3.2.2    ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่มย่อย เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อเสนอแนะให้แก่กัน
3.3.1   การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
3.3.2    การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
 3.3.3    การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน และเพื่อนร่วมชั้นเรียน เพื่อให้นักศึกษาเกิดความตระหนักรู้ และมีความเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่างกันของกลุ่ม
จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าร่วมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์
ประเมินจากการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษในการอธิบาย และแสดงความคิดเห็นได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและวัฒนธรรมสากล
ให้นักศึกษานำเสนอผลการอ่านในชั้นเรียนและอภิปรายแสดงความคิดเห็น
ประเมินจากการร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BOAEC124 การอ่านเพื่อความบันเทิง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 17 15% 15%
2 หน่วยที่ 3 สอบปลายภาค 17 15% 15%
3 หน่วยที่ 1-3 แบบฝึกหัด / กิจกรรม / งานมอบหมาย การอ่านและนำเสนอ ตลอดภาคการศึกษา 60%
4 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
Reading Power 
Reading for Pleasure Comprehension skills Thinking Skills Reading Faster: Beatroce S. Mikulecky Linda Jeffries, Pearson Longman
 
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
          1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
          1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
          1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
          2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
          2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
          2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอนดังนี้
          3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
          3.2 ดำเนินการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
          4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
          4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
          5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
          5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์