ออกแบบเครื่องเรือน 4

Furniture Design 4

    1.1 รู้หลักออกแบบเครื่องเรือนในระบบอุตสาหกรรม
    1.2 เข้าใจระบบประสานพิกัด  ประโยชน์ใช้สอย  การจัดวางตำแหน่งของเครื่องเรือน
    1.3 เข้าใจสัดส่วนของเครื่องเรือนการใช้งานของมนุษย์
    1.4 เข้าใจวัสดุและโครงสร้าง อุปกรณ์ประกอบเครื่องเรือน
    1.5 เข้าใจกรรมวิธีการผลิต การแสดงแบบเครื่องเรือน การทำหุ่นจำลองและต้นแบบ
    1.6 มีเจตคติที่ดีต่อการออกแบบเครื่องเรือนในระบบอุตสาหกรรม
    เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และทักษะการออกแบบเครื่องเรือนในระบบอุตสาหกรรม เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในการออกแบบเครื่องเรือนในระบบอุตสาหกรรม  เพื่อเป็นแนวทางการเรียนในรายวิชาโครงงานที่เกี่ยวข้อง ของหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต  หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต  หลักสูตรศิลปบัณฑิต
    ศึกษาและฝึกปฏิบัติการออกแบบเครื่องเรือนในระบบอุตสาหกรรม โดยคำนึงถึงระบบประสานพิกัด  ประโยชน์ใช้สอย  การจัดวางตำแหน่งของเครื่องเรือนให้สัมพันธ์กับการใช้เนื้อที่  สัดส่วนของเครื่องเรือนการใช้งานของมนุษย์ ความคิดสร้างสรรค์ ความประหยัด วัสดุและโครงสร้าง อุปกรณ์ประกอบเครื่องเรือน กรรมวิธีการผลิต การแสดงแบบเครื่องเรือน การทำหุ่นจำลองและต้นแบบ
    1. อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
    2. อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
    1.1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม  จริยธรรม
    1.1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
    1.1.3 มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา  และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
    1.1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
     กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม  ต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่นการยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
    1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
    1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
    1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
    1.3.4 ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
    นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการออกแบบศิลปะประยุกต์ มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไป
    2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งทางด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
    2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา
    2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
    การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทำได้โดยการทดสอบจากข้อสอบของแต่ละวิชาในชั้นเรียน ตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
    ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎี และประยุกต์ทางปฎิบัติได้จริง โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีที่ใช้ในทางการออกแบบศิลปะประยุกต์  ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้น ๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
    ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา ในด้านต่าง ๆ คือ
    2.3.1 การทดสอบย่อย
    2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
    2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
    2.3.4 ประเมินจากโครงการที่นำเสนอ
    2.3.5 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
   นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาเเล้ว ดังนั้นนักศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาออกแบบศิลปะประยุกต์  ในขณะที่สอนนักศึกษา อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาเกิดการคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ  นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่าง ๆ จากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญาดังนี้
    3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
    3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
    การวัดมาตรฐานในข้อนี้สามารถทำได้โดยการออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดของการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกคำตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา ไม่ควรมีคำถามเกี่ยวกับนิยามต่าง ๆ
    3.2.1 กรณีศึกษาทางการประยุกต์การออกแบบศิลปะประยุกต์
    3.2.2 การอภิปรายกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
    3.2.3 ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
    ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน เป็นต้น
    นักศึกษาต้องออกไปประกอบอาชีพซึ่งส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากสถาบันอื่น ๆ และคนที่จะมาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับกลุ่มคนต่าง ๆ เป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้นอาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่าง ๆ  ต่อไปนี้ให้นักศึกษาระหว่างที่สอนวิชา หรืออาจให้นักศึกษาไปเรียนวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ นี้
    4.1.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
    4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
    4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามรถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
    4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
    ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ดัานทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบดังนี้
    4.2.1  สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
    4.2.2  มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
    4.2.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ไปปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
    4.2.4  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
    4.2.5  มีภาวะผู้นำ
    ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆ และความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
    5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
    5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
    5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
   การวัดมาตรฐานนี้อาจทำได้ในระหว่างการสอน โดยอาจให้นักศึกษาแก้ปัญหา วิเคราะห์ประสิทธิภาพของวิธีแก้ปัญหา และให้นำเสนอแนวคิดของการแก้ปัญหา ผลการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ ต่อนักศึกษาในชั้นเรียน อาจมีการวิจารณ์ในเชิงวิชาการระหว่างอาจารย์และกลุ่มนักศึกษา
     จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
    ประเมินจากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏี การเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติที่เกี่ยวข้อง
    5.3.1 ประเมินจากความสามารถในการอธิบาย ถึงข้อจำกัด เหตุผลในการเลือกใช้ เครื่องมือต่างๆ การอภิปราย กรณีศึกษาต่างๆ มีการนำเสนอต่อชั้นเรียน
    มีทักษะในการปฏิบัติด้านการออกแบบศิลปะประยุกต์  งานสองมิติและงานสามมิติ  โดยประเมินจากผลงานปฏิบัติที่ได้รับมอบหมาย  ความคิดสร้างสรรค์ในการออกแบบ 
    6.2.1 มอบหมายงานออกแบบและใช้เครื่องมือปฏิบัติงานสองมิติ
    6.2.2 มอบหมายงานให้สามารถสร้างหรือผลิตหุ่นจำลอง  ผลิตภัณฑ์ต้นแบบ
    6.3.3 มอบหมายงานออกแบบโดยใช้ทักษะทางด้านความคิด ความงาม ประโยชน์สอย
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลเเละความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 43022348 ออกแบบเครื่องเรือน 4
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.2.1 สอบกลางภาค 8 10 %
2 2.2.1 สอบปลายภาค 17 10 %
3 1.1.2,2.2.1,2.2.2,2.2.3,3.3.1,3.3.2,4.4.3,6.1,6.2,6.3 การปฏิบัติงานและผลงาน ตลอดภาคการศึกษา 40 %
4 1.1.2,2.2.1,2.2.2,2.2.3,3.3.1,3.3.2,4.4.3,6.1,6.2,6.3 โครงงาน (Project-Based Learning) ตลอดภาคการศึกษา 30 %
5 1.1.2 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานตามเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10 %
เจ.ดับบลิว  เกียไชโน, เอช.เจ.บูเ คมา ,สุรศักดิ์   พูลชัยนาวาสกุล, พงษ์ธร  จรัญญากรณ์. เขียนแบบเทคนิค. กรุงเทพฯ: เอช.เอ็น.กรุ๊ป จำกัด, 2536
รองศาสตราจารย์อุดมศักดิ์   สาริบุตร.เทคโนโลยีผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.กรุงเทพฯ : เอ็ม เอ เอช พริ้นติ้ง, 2549.
อุดมศักดิ์   สาริบุตร.ออกแบบเฟอร์นิเจอร์. งานตำราและเอกสารการพิมพ์ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
สาคร  คันธโชติ. การออกแบบเครื่องเรือน.กรุงเทพฯ : O.S Printing   House  Co., Ltd , 2528.
ผู้ช่วยศาสตราจารย์วรรณี  สหสมโชค.ออกแบบเฟอร์นิเจอร์.กรุงเทพฯ:สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.,2549.
David  L. Goetsch ,john A. Nelson. TECHNICAL   DRAWING  AND  DESIGN. Delmar  Publishers  Ine.1986.
JOSEPH  De CHIARA ,JULIUS  PANERO, MARTIN  ZELHIK.TIME-SAVER  STANDARDS  FOR  INTERIOR  DESIGN  AND  SPACE  PLANNINE. International  Editions,1992 
-
-
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้
    1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
    1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
    2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
    2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
    2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
     3.1  ประชุมร่วมกันเพื่อหาแนวทางการจัดการเรียนการสอน
    3.2  สัมมนาเชิงปฏิบัติการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
    ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
    4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
    4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
    จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
    5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
    5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์