การสัมมนาการท่องเที่ยวและการโรงแรม

Seminar on Tourism and Hotel

เพื่อให้นักศึกษาเกิดความรู้ เข้าใจหลักการและวิธีการศึกษาค้นคว้าและดำเนินการสัมมนา สามารถดำเนินการสัมมนาตามหลักการและวิธีการที่ถูกต้องอย่างเต็มรูปแบบ โดยการเรียนรู้และนำแนวคิด หลักการ ทฤษฎีต่างๆ มาบูรณาการเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและการโรงแรม
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจในการจัดสัมมนาตามหลักการและวิธีการที่เป็นสากล
ศึกษาวิธีการ และกระบวนการจัดสัมมนาเต็มรูปแบบ ศึกษาปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยว โรงแรมและงานบริการทั้งภาครัฐ  และเอกชน โดยการเรียนรู้และนำแนวคิด หลักการ ทฤษฎีต่าง ๆ มาบูรณาการเพื่อหาแนวทางในการแก้ไข โดยให้มีการจัดสัมมนาอย่างน้อยหนึ่งครั้ง
-   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านทางป้ายประกาศของสาขาวิชาฯ
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.มีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
2.มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงานและการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
3.มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการ พัฒนา มีภาวะผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น
4.มีวินัยในการทำงาน และปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.กําหนดให้มีวิชาจรรยาบรรณโดยเฉพาะและทํารายงาน
2.สอนคุณธรรม จริยธรรมสอดแทรกในบทเรียนวิชาเฉพาะ  
3.สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน  
4.สอนโดยการอ้างอิงประมวลกฎหมาย (Ethic Code) ที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณ  
5.การบรรยายพิเศษโดยผู้มีประสบการณ์หรือพระในศาสนาต่าง ๆ  
6.การแสดงออกอันเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้สอน
1.ผลการสอบในวิชาคุณธรรม จริยธรรมโดยตรง จรรยาบรรณวิชาชีพ และกฎหมาย  
2.สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียนร่วมกันและกับผู้สอนทุกคน  
3.ทํางานเป็นกลุ่ม และรายงานผลงาน  
4.กําหนดหัวข้อทางคุณธรรม จริยธรรมให้พูดแสดงออก  
5.ผลการประเมินจากการฝึกงานสหกิจโดยองค์กรที่ผู้เรียนเข้าฝึกงาน
1.มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่าง กว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก  
2.มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง  
3.มีความรู้ในกระบวนการ และเทคนิคการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ใน งานอาชีพ
1.การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม-ตอบ  
2.มอบหัวข้อเรื่องให้ค้นคว้าและทํารายงานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม  
3.ทํารายงานเปรียบเทียบความรู้จากห้องเรียนกับการทํางานจริง ภาคปฏิบัติ  
4.อภิปรายเป็นกลุ่ม โดยให้ผู้สอนตั้งคําถามตามระบบการสอนยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  
5.การศึกษานอกสถานที่และทํารายงาน  
6.ฝึกปฏิบัติร่วมกับสถานประกอบการ  
7.ฝึกปฏิบัตินอกสถานที่โดยร่วมกับมืออาชีพ (professional) ในวิชานั้นๆ
1.ทดสอบทฤษฎีและปฏิบัติ โดยการสอบย่อย และให้คะแนน  
2.ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค  
3.ประเมินผลจากการทํางานที่ได้รับมอบหมายและรายงาน  
4.ประเมินจากรายงานที่ให้ค้นคว้า 
1.มีความสามารถประมวล และศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ข้อโต้แย้ง และสังเคราะห์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการ และตามขั้นตอนเชิงวิทยาศาสตร์ รวมทั้งหาแนวทางป้องกัน และแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก  
2.สามารถสาธิต ทักษะในการแก้ปัญหาที่ใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ 
3.มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปสู่การฝึกประสบการณ์ ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อยางเหมาะสม  
4.สามารถประยุกต์ใช้นวัตกรรมจากภาคธุรกิจ และจากศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องมาพัฒนา ทักษะการทํางานให้เกิดประสิทธิผล
1.ฝึกปฏิบัติและจัดทําโครงการเกี่ยวกับธุรกิจนําเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ตลอดจนการวิจัย
2.การอภิปรายเป็นกลุ่ม  
3.การทํางานที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้าหรืองานเกี่ยวกับการพัฒนา  
4.การบรรยายโดยผู้เชี่ยวชาญหรือผู้ประกอบการในสายอาชีพ  
5.กําหนดให้มีรายวิชาที่ต้องใช้ทักษะการคํานวณ เช่น การจัดการการบริการ การควบคุม
1.ประเมินผลจากผลงานที่มอบหมายให้ทํา  
2.การสอบข้อเขียน  
3.การเขียนรายงาน 
1.สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนใน กลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม
2.สามารถพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง และตรงตามมาตรฐานสากล
1.บรรจุเนื้อหาความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรายวิชาชีพ  
2.มอบหมายงานเป็นกลุ่มย่อย และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยหมุนเวียนกันในกลุ่ม  
3.สอนโดยใช้กรณีศึกษา 
1.ประเมินจากผลงานของกลุ่มและผลงานของผู้เรียนในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้ทํางาน  
2.ประเมินตนเอง และประเมินซึ่งกันและกัน (peer)  
3.ใช้ประวัติสะสมงาน (portfolio) ในการประเมิน
4.สังเกตพฤติกรรมในการเรียน  
5.ใช้ผลการประเมินจากการฝึกงานและการสหกิจศึกษา 
1.สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนอย่างมี ประสิทธิภาพ  
2.สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรม  
3.สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร รู้จักเลือกรูปแบบของการ นําเสนอที่เหมาะสมสําหรับเรื่อง และผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ  
4.สามารถใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในการประมวล การแปล ความหมายและการวิเคราะห์ข้อมูล
1.ทดสอบระดับความสามารถทางภาษาในการติดต่อกับคนไทยและต่างชาติโดยการ สอบปฏิบัติ
2.จัดห้องปฏิบัติการ ฝึกให้ใช้อุปกรณ์ทางการท่องเที่ยวและโรงแรม หรือสายการบิน ฯลฯ  
3.ฝึกให้นําเสนอผลงานที่ค้นคว้าด้วยตนเองในห้องเรียน  
4.บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟต์แวร์หรือสื่อต่าง ๆ ในทุกรายวิชาที่ สามารถทําได้   
5.ฝึกแก้ปัญหาหรือโจทย์ที่จําเป็นต้องใช้แบบจําลองคณิตศาสตร์หรือสถิติในรายวิชาที่ เกี่ยวข้อง
1.ประเมินผลโดยการสอบข้อเขียนและสอบปฏิบัติ  
2.ประเมินผลจากการนําเสนอผลงาน  
3.ประเมินผลจากการใช้คอมพิวเตอร์ 
4.ประเมินผลจากการสรุปหัวข้อที่มอบหมายให้ค้นคว้า
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.จริยธรรมและคุณธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4
1 13010017 การสัมมนาการท่องเที่ยวและการโรงแรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 สอบกลางภาค 9 25
2 สอบปลายภาค 18 25
3 วิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรานงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย การจัดงานสัมมนา ตลอดภาคการศึกษา 40
4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10
Worksheet หรือ Task sheet ที่พัฒนาโดยอาจารย์ผู้สอน
ผล ยาวิชัย.สัมมนา.กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์, 2546.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้ 
1.การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 
2.แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 
3.ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 
1.ผลการเรียนของนักศึกษา 
2.การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 
1.สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 
2.การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 
1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 
2.มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 
1.มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ๆ และตามความน่าสนใจ  
2.ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลายและสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียนหรือตามที่ได้ศึกษาวิจัยในชั้นเรียนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน  
3.ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาและของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี