ศิลปะภาพพิมพ์ 3

Printmaking 3

1. จุดมุ่งหมายของรายวิชา
1.1 รู้ความหมายและแนวความคิดของงานภาพพิมพ์หิน(Lithograph)
2. 2 เข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทางด้านรูปแบบและเทคนิควิธีการของศิลปะภาพพิมพ์หิน
3. 3 สามารถบรรยายเชิงวิชาการ วิเคราะห์ วิจารณ์ ผลงานสร้างสรรค์ในงาน ภาพพิมพ์หิน
4.4 สามารถเข้าใจแนวความคิดและรูปแบบของงานภาพพิมพ์หินในแต่ละเทคนิคทางกระบวนการภาพพิมพ์หิน
4.5 เห็นคุณค่าของผลงานภาพพิมพ์หิน สามารถสร้างผลงานศิลปะภาพพิมพ์หินในแนวทางของตนเองและสามารถใช้ในการประกอบอาชีพได้
 
2.1 นักศึกษามีความรู้ในด้านแนวความคิด เกี่ยวกับงานภาพพิมพ์หิน
2.2 นักศึกษามีการบรรยาย วิเคราะห์ วิจารณ์ และเขียนรายงาน ในการสร้างสรรค์เกี่ยวกับงานภาพพิมพ์หิน ในแต่ละประเภทของเทคนิคได้
2.3 สามรถเข้าใจบริบททางสังคมที่ส่งผลต่อรูปแบบ และแนวความคิดของศิลปินในงานภาพพิมพ์หิน
2.4 นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้ไปใช้ต่อการปฏิบัติในการสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์หิน เพื่อประโยชน์ใช้สอยและประกอบอาชีพในชีวิตของตนเองได้
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ที่ตัวแม่พิมพ์ผิวเรียบ (Planographic Process) ในเทคนิคลิโธกราฟ (Lithograph) คุณสมบัติเฉพาะของขบวนการพิมพ์ วัสดุอุปกรณ์และแม่พิมพ์ โดยเน้นการปฏิบัติทดลองค้นคว้าวิธีการ การสร้างสรรค์ผลงานภาพพิมพ์ลิโธกราฟ
4 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
นักศึกษาต้องมีคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผิอื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้
1.มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรร
2.มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชี
3.มีวินัย ขยันอดทนตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
4.เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้น ต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตว์ โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจักกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1.ประเมินจากการตรงต่อเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
2.ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3.ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4.ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฏระเบียบและข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศ มีคุณธรรม จริยธรรมและความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งนี้
1.มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
3.(ไม่มีการประเมิน)
ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา ตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ควรจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษาในด้านต่างๆ คือ
1.การทดสอบย่อย
2.การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
3.ประเมินจากการปฏิบัติงานของนักศึกษาและประเมินจากผลงานที่ปฏิบัติ
4.ประเมินจากการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
5.ประเมินจากรายงานผลการศึกษาดูงาน
นักศึกษาต้องสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้โดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษาแล้ว ดังนั้นการศึกษาจำเป็นต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาไปพร้อมกับคุณธรรมจริยธรรม อาจารย์ต้องเน้นให้นักศึกษาคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา วิธีการแก้ปัญหารวมทั้งแนวคิดด้วยตนเอง ไม่สอนในลักษณะท่องจำ นักศึกษาต้องมีคุณสมบัติต่างๆจากการสอนเพื่อให้เกิดทักษะทางปัญญา ดังนี้
1.มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
2.มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1.ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา(Problem Based Instruction)
2.ให้นักศึกษาปฏิบัติการจากสถานที่จริง
3.มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษาเช่น ประเมินจากการนำเสนอรายงานผลการดำเนินงานและการแก้ปัญหา ประเมินผลการปฏิบัติการจากสถานการณ์จริงและประเมินจากการทดสอบเป็นต้น
1.มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2.มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นได้ที่เหมาะสม
ใช้การสอนที่มีการกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่นข้ามหลักสูตร หรือต้องค้นคว้าหาข้อมูลจากการสัมภาษณ์บุคคลอื่น หรือผู้มีประสบการณ์ โดยมีความคาดหวังในผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความสามารถในการรับผิดชอบ ดังนี้
1.กำหนดการทำงานกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำและผู้รายงาน
2.ให้คำแนะนำในการเข้าร่วมกิจกรรมสโมสร กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
3.ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
4.(ไม่มีการประเมิน)
ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียนและสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่างๆและความครบถ้วนชัดเจนตรงประเด็นของข้อมูล
1. (ไม่มีการประเมิน)
2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม
3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจบนฐานข้อมูลเชิงตัวเลข ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลายสถานการณ์
ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
1.มีทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย
2. มีทักษะในการร่างแบะทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละคนถนัด
3. สามารถสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม
4. สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน
5. มีทักษะในการสร้างสรรค์ที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน
1.สร้างเจตคติที่ดีต่อการฝึกปฏิบัติ
2.จัดนิทรรศการแสดงผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาในที่สาธารณะเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์และฝึกปฏิบัติงานด้วยใจ
1.ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
2.ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์เป็นต้น
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 5
1 41013304 ศิลปะภาพพิมพ์ 3
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 รู้ความหมายและประเภทของงานศิลปะทางด้านภาพพิมพ์หิน(Lithograph) ประเมินจากการผลงานที่ครบถ้วนสมบูรณ์ด้วยวิธี กระบวนการ และทางเทคนิคภาพพิมพ์หิน 1-16 10%
2 สามารถสร้างสรรค์ผลงานของตนเองตาม ตามหัวข้อและเทคนิคที่กำหนด ประเมินจากผลงานแต่ละชิ้นตามหัวห้อในแผนการสอนของรายวิชาภาพพิมพ์หิน 2-5 80%
3 มีความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา ผลงานภาพพร่างที่นักศึกษาต้องค้นคว้าและลงมือสร้างภาพร่างด้วยแนวทางของตนเองตามที่อาจารย์ผู้สอนกำหนดในแต่ละสัปดาห์ 1-16 10%
กัญญา เจริญศุภกุล ภาพพิมพ์หิน LITHOGRAPH กรุงเทพฯ, บริษัทอมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับบลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน), 2550.232 หน้า ISBN 978-974-641-186-6
ชลูด นิ่มเสมอ(2553).“องค์ประกอบของศิลปะ”:สำนักพิมพ์อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด
แหล่งอ้างอิงที่สำคัญอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับศิลปะภาพพิมพ์หิน
- วารสาร ศิลปะทั้งในและต่างประเทศ เช่น ศิลปวัฒนธรรม วารสารจากสถาบันต่างๆ
- สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เว็บไซต์
1 สอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาเมื่อเสร็จสิ้นในเนื้อหานั้น
2.นักศึกษาประเมินการสอนในคอมพิวเตอร์
3.ประเมินการสอนโดยผู้บริหารของภาค หรือสาขาวิชา
จัดประชุมคณะอาจารย์ ระดมความคิดเห็นเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน
1.สรุปผลการประเมินการสอนจากนักศึกษา
2.ประชุมคณะอาจารย์แจ้งผลการประเมิน แสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการสอน
3.จัดประชุม สัมมนาคณะอาจารย์เพื่อพัฒนาเทคนิคใหม่เกี่ยวกับการสอน
1.มีคณะกรรมการวิชาการประจำสาขาวิชา
2.มีคณะกรรมการพิจารณาข้อสอบ และผลสอบ
3.ให้นักศึกษาตรวจสอบคะแนน ผลคะแนนจากฝ่ายทะเบียนได้
นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษา การประชุมสัมมนานำมาสรุปผล และพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคเรียนต่อไป