วาดเส้น 2

Drawing 2

                     1.  รู้ความหมาย รูปแบบ ลักษณะของการวาดเส้นสร้างสรรค์ใน ลักษณะต่างๆ
                     2.  เข้าใจกระบวนการสร้างสรรค์ของการวาดเส้น ในทางเนื้อหา องค์ประกอบศิลป์                
                     3.  ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ในการฝึกฝนทักษะปฏิบัติงานเส้นสร้างสรรค์อย่างเข้าใจ   
                     สามารถนำเสนอผลงานและแสดงทัศนะในทางสร้างสรรค์ได้ถูกต้องตามจุดมุ่งหมาย
                     4.  เห็นคุณค่างานวาดเส้นสร้างสรรค์และรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมาย
เพื่อให้นักศึกษาใช้ความรู้เบื้องต้นทางการวาดเส้นนำมาปรับปรุงรูปแบบผลงาน   พร้อมทั้งศึกษากระบวนการสร้างสรรค์ของการวาดเส้นอันมีรูปแบบและลักษณะเฉพาะวิธีการลักษณะต่างๆ    รวมถึงการฝึกการคิดวิเคราะห์การสร้างสรรค์ในทางเนื้อหา และการจัดองค์ประกอบศิลป์     เพื่อให้เกิดการพัฒนาการในการนำเสนอผลงาน  มีการแสดงออกทางความคิดอันมีรูปแบบการสร้างสรรค์ทางการวาดเส้นที่มีลักษณะเฉพาะตน  รวมทั้งสามารถกระตุ้นให้นักศึกษานำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ในการเรียนในวิชาเอกอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคนิควิธีการที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ การเขียนภาพคน โดยเน้นสัดส่วน โครงสร้างและแสงเงาที่ถูกต้อง ด้วยวัสดุอุปกรณ์ที่หลากหลาย โดยคำนึงถึงหลักกายวิภาค
-    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
  1) ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรมจริยธรรม
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพในสิทธิของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ทางปัญญา  มีความซื่อสัตย์ในการสร้างสรรค์ศิลปะการวาดเส้นอย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
(1) ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
(2)   มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น
(3)   มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   ศึกษา-อ้างอิงข้อมูลที่ได้นำมาเป็นแนวทางการสร้างสรรค์ ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการศึกษาจากผลงานการสร้างสรรค์  พร้อมทั้งวิเคราะห์ผลงานเป็นกรณีศึกษา
1.3.4   ประเมินผลจากการนำเสนอผลงานที่มอบหมาย
1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2   ประเมินผลการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายได้สมบูรณ์ อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3   ประเมินผลการเก็บรวบรวมข้อมูลการปฏิบัติงานมาวิเคราะห์เป็นกรณีศึกษา
1.3.4   ประเมินผลการปฏิบัติงานกลุ่มที่สำเร็จและนำเสนอเป็นรายงานตามที่มอบหมาย
มีความรู้ในหลักการสร้างสรรค์ทั้งในทางทักษะวิธีการของกระบวนการวาดเส้นรูปแบบต่างๆที่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะทางการวาดเส้น   และในทางการจัดองค์ประกอบของภาพวาดที่สามารถแสดงออก ได้ถึงเนื้อหา แนวความคิดของการสร้างสรรค์  เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานในการสร้างสรรค์และการนำเสนอผลงานที่มีอัตลักษณ์ของตน  รวมทั้งนักศึกษาได้ฝึกฝนการปฏิบัติงานจนเกิดทักษะที่ชำนาญสามารถใช้ประโยชน์ในการพัฒนาผลงานในสาขาวิชาเอกของตนต่อไปได้
(1)   รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตรอื่นที่เกี่ยวข้อง
(2)   มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ
(3) มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม
(4) มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตรในสาขาวิชาที่ศึกษา        
2.2.1   ทดสอบบรรยายประวัติความเป็นมาการวาดเส้นสร้างสรรค์ วิธีการสร้างสรรค์โดยการใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆในการศึกษาพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางการสร้างสรรค์รูปวาด เช่น การศึกษาแนวทางการสร้างสรรค์ผลงานวาดเส้นจากศิลปินที่มีชื่อเสียง เป็นต้น
2.2.2   สอนทักษะวิธีการในการมองเห็น ความเข้าใจในเรื่องการกำหนดสัดส่วนทั้งในวัตถุสิ่งของ  กายวิภาคศาสตร์ และหลักทางทัศนีย์วิทยา เพื่อให้นักศึกษาได้เข้าใจการน้ำหนักแสงเงาจากสิ่งที่พบเห็นจากรูปแบบเหมือนจริงไปสู่ การสร้างแรงบันดาลใจของการวาดภาพเชิงสร้างสรรค์
2.2.3   กำหนดให้นักศึกษาฝึกฝนเทคนิควิธีการในการวาดเส้นลักษณะต่างๆจนเกิดความชำนาญและเข้าใจหลักทฤษฏีของการวาดเส้น   นำมาศึกษาหาวิธีการนำเสนอแนวความคิด เนื้อหาเรื่องราว รูปแบบวิธีการสร้าง พร้อมขยายผลงานให้มีความสมบูรณ์เพื่อทำความเข้าใจหลักความงาม
2.3.1   ทดสอบย่อยตลอดภาค ด้วยหัวข้อการปฏิบัติงานที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีปฏิบัติ
2.3.2   ประเมินสรุปปลายภาค จากการนำเสนอผลงานวาดเส้นสร้างสรรค์ที่เสร็จสมบูรณ์จากการค้นคว้าข้อมูล  ฝึกฝนเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ จนได้ผลงานวาดเส้นที่แสดงแนวทางในการสร้างสรรค์ของตนเอง
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบสามารถเรียนรู้และวางแผนในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ได้  ฝึกการนำเสนอผลงานการการวาดเส้นในแบบต่างๆกับเพื่อนนักศึกษาและอาจารย์ประจำวิชาเพื่อให้เกิดการแสดงออกทางความคิด การแลกเปลี่ยนมุมมองและทัศนะในทางการสร้างสรรค์      เพื่อให้มีการวิเคราะห์ทบทวนเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาทางสร้างสรรค์อย่างใหม่ๆ  เพื่อปรับปรุงเป็นรูปแบบการวาดเส้นสร้างสรรค์ของนักศึกษาเอง
(1) สามารถค้นคว้ารวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน
(2)   สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
(3)   สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้
(4)   มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง จากแบบหุ่นนิ่ง,แบบคนจริงและภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อม   นำมาสร้างผลงานการวาดเส้นในแบบเหมือนจริงในขั้นต้นก่อนจะให้ปรับเข้าสู่การสร้างสรรค์ผลงานโดยเน้นเรื่องการนำเสนอแนวความคิด การสร้างเนื้อหาเรื่องราวและการจัดองค์ประกอบของภาพ
3.2.2   การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้เกิดทักษะความชำนาญในกระบวนการสร้างสรรค์ภาพจากเทคนิควิธีและทฤษฏีการวาดเส้นในลักษณะต่างๆ  นำมาฝึกฝนสร้างผลงานการวาดเส้นขั้นต้นก่อนจะให้ปรับเข้าสู่การสร้างสรรค์ผลงานโดยเน้นเรื่องการนำเสนอแนวความคิด การสร้างเนื้อหาเรื่องราวและการจัดองค์ประกอบของภาพวิเคราะห์กรณีศึกษา 
3.2.3   หารูปแบบแรงบันดาลใจส่วนตน ค้นคว้าหาข้อมูลในการนำรูปแบบผลงานศิลปะลักษณะต่างๆศึกษาอย่างเหมาะสม  เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะส่วนตน
3.2.4   ฝึกการนำเสนอผลงานการสะท้อนแนวคิดจากการปฏิบัติงาน  พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนทัศนคติทางการสร้างสรรค์เพื่อเป็นประโยชน์แก่การพัฒนางานต่อไป
3.3.1   ทดสอบย่อยตลอดภาค ด้วยหัวข้อการปฏิบัติงานที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีปฏิบัติ
3.3.2   ประเมินสรุปปลายภาค จากการนำเสนอผลงานวาดเส้นที่เสร็จสมบูรณ์จากการค้นคว้าข้อมูล  ฝึกฝนเทคนิควิธีการสร้างสรรค์ จนได้ผลงานวาดเส้นที่แสดงแนวทางในการสร้างสรรค์ของตนเอง
3.3.3   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
(1)           มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
                                         และ มนุษยสัมพันธ์ที่ดี
             (2)   มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น                              อย่างมีประสิทธิภาพ
              (3)   สามารถแสดงความคิดเห็นอย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพใน
                                         ความคิดเห็นที่แตกต่าง
4.2.1   การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง จากแบบหุ่นนิ่งและแบบคนจริง    นำมาสร้างผลงานการวาดเส้นทั้งในแบบเหมือนจริงและการสร้างสรรค์
4.2.2   การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนร่วมกันเป็นกลุ่ม  โดยฝึกให้ทำงานร่วมกันในแต่ละประเด็นการศึกษา และแก้ไขปัญหาทางด้านการมองการสร้างสรรค์ผลงานจากวิธีการต่างๆ วิเคราะห์กรณีศึกษา 
4.2.3   ศึกษาวิธีการนำเสนอผลงานการสะท้อนแนวความคิดจากการปฏิบัติงาน แรงบันดาลใจเนื้อหาการสร้างสรรค์ พร้อมทั้งการแลกเปลี่ยนทัศนคติเพื่อเป็นประโยชน์แก่การพัฒนางานต่อไป
4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยผลงานการวาดเส้นสร้างสรรค์ที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากการปฏิบัติงานช่วงระหว่างเวลาเรียน พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากการนำเสนอผลงานการศึกษาด้วยตนเอง และการแลกเปลี่ยนทัศนคติภายในกลุ่ม
ทักษะการคิดคำนวณ วัดสัดส่วน มุมมอง ทิศทาง จากหลักทัศยนียวิทยาพัฒนาทักษะในการวาดเส้นสร้างสรรค์ให้ได้ตรงลักษณะกระบวนการสร้างสรรค์ในลักษณะต่างๆ  และเข้าใจถึงหลักหลักทางสุนทรียวิทยาและพัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษาและพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต รวมถึงทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
(1)  สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป       ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(2)สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการ  สร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3)มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลขหรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม
5.2.1   การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง จากแบบหุ่นนิ่ง,แบบคนจริงและภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อม   นำมาสร้างผลงานการวาดเส้นในแบบเหมือนจริงในขั้นต้นก่อนจะให้ปรับเข้าสู่การสร้างสรรค์ผลงานโดยเน้นเรื่องการนำเสนอแนวความคิด การสร้างเนื้อหาเรื่องราวและการจัดองค์ประกอบของภาพ
5.2.2   การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนร่วมกันเป็นกลุ่ม  โดยฝึกให้ทำงานร่วมกันศึกษาแก้ไขปัญหาทางด้านการมองและการสร้างสรรค์ผลงานจากแบบงานการวาดเส้นจากศิลปินที่มีชื่อเสียง   วิเคราะห์กรณีศึกษา 
5.2.3  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ที่มีข้อมูลทางศิลปะ จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.4  เก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอผลงาน,ขั้นตอนการปฏิบัติงานโดยใช้รูปแบบเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยผลงานวาดเส้นสร้างสรรค์ที่กำหนด
5.3.2   ประเมินจากปฏิบัติงานภายในห้องเรียนและภายนอกห้องเรียน พฤติกรรมการทำงานร่วมกัน
5.3.3   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ที่เหมาะสม
6.1 ด้านทักษะพิสัยที่ต้องพัฒนา            
                (1) มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
                (2) มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
                (3) มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
6.2.1   มอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานส่วนตน โดยฝึกให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหาทางด้านการมอง จากแบบหุ่นนิ่ง,แบบคนจริงและภูมิทัศน์สิ่งแวดล้อม   นำมาสร้างผลงานการวาดเส้นในแบบเหมือนจริงในขั้นต้นได้
6.2.2   การมอบให้นักศึกษาปฏิบัติงานตามหัวข้อที่กำหนดเกี่ยวกับสัดส่วงร่างกายมนุษย์ในแต่ละสัปดาห์
6.3.1   ประเมินผลงานมีความเข้าใจ สัดส่วนมนุษย์มีความถูกต้องเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย และมีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 1.2 มีทัศนคติที่เปิดกว้าง ยอมรับฟังแนวคิดของผู้คน 1.3 มีจิตอาสา จิตสำนึกสาธารณะ 2.1 รอบรู้ในศาสตร์ทางศิลปกรรม และศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 2.2 มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็นระบบ 2.3 มีความรู้ในทางศิลปะที่สัมพันธ์กับบริบททางสังคม ภูมิปัญญาและวัฒนธรรม 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับมาตราฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรม ศาสตร์ในสาขาวิชาที่ศึกษา 3.1 สามารถค้นคว้า รวบรวมและประเมินข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่หลากหลายอย่างมีวิจารณญาน 3.2 สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 3.3 สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้ 3.4 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภานไหวพริบในการสร้างผลงาน 4.1 มีภาวะผู้นำเข้าใจบทบาทหน้าที่ของตนเอง รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมนุษยสัมพันธ์ที่ดี 4.2 มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างมีเหตุผล ตรงไปตรงมา และเคารพในความคิดเห็นที่แตกต่าง 5.1 สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และการนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.2 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 มีความสามารถในการประยุกต์ใช้ความรู้เชิงตัวเลข หรือเทคโนโลยีที่เหมาะสมสำหรับงานศิลปกรรม 6.1 มีทักษะในการทำตามแบบและปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ 6.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง 6.3 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
1 BFAVA111 วาดเส้น 2
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 เข้าใจบทเรียนวาดเส้นสร้างสรรค์ เข้าใจบทเรียนวาดเส้นสร้างสรรค์แบบเหมือนจริง เข้าใจบทเรียนเทคนิควิธีการผสมในการวาดเส้น สอบกลางภาค เข้าใจบทเรียนองค์ประกอบในงานวาดเส้นสร้างสรรค์ ทดสอบสรุปงานวาดเส้นสร้างสรรค์ สอบปลายภาค ทดสอบย่อย บทเรียนวาดเส้นสร้างสรรค์ ทดสอบย่อย บทเรียนวาดเส้นสร้างสรรค์แบบเหมือนจริง ทดสอบย่อย บทเรียนเทคนิควิธีการผสมในการวาดเส้น สอบกลางภาค ทดสอบย่อย บทเรียนองค์ประกอบในงานวาดเส้นสร้างสรรค์ ทดสอบสรุปงานวาดเส้นสร้างสรรค์ สอบปลายภาค 1 2-5 6-10 - 11-13 14-15 - 5% 21% 26% - 16% 12% -
2 สามารถวิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า นำเสนอการปฏิบัติงานศึกษางานวาดเส้นสร้างสรรค์ สามารถทำงานร่วมกันภายนอกสถานที่และส่งงานตามที่มอบหมายพร้อมรายงานสรุป วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า นำเสนอการปฏิบัติงานศึกษางานวาดเส้นสร้างสรรค์ การทำงานร่วมกันภายนอกสถานที่ การส่งงานตามที่มอบหมายพร้อมรายงานสรุป ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 มีความรับผิดชอบเข้าชั้นเรียนตรงต่อเวลา สามารถร่วมอภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน มีผลงานวาดเส้นทุกสาขาวิชาแสดงผลงานร่วมกันในโครงการแสดงผลงานนักศึกษา การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน รวบรวมผลงานวาดเส้นทุกสาขาวิชาแสดงผลงานร่วมกันในโครงการแสดงผลงานนักศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 10%
Jodi Hauptman, DRAWING FROM THE MODERN 1880-1945. The Museum of Modern Art
          Nathan Goldstein, THE ART OF RESPONSTIVE DRAWING Second Edition. Prentice-Hall, Inc.,
 
     Englewood Cliffs, New Jerssy
Robert Kaupelis, EXPERIMENTAL DRAWING. Watson-Guptill Publications/Newyork 
      Pitman House/ London
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษาสามรถปรึกษาอาจารย์

ได้ทุกเวลา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรือจากการแสดงนิทรรศการศิลปกรรมต่าง ๆ