โภชนาการ

Nutrition

1.1  เพื่อให้นักศึกษาทราบถึงความสำคัญของโภชนาการที่มีต่อสุขภาพ
1.2  ให้นักศึกษาเข้าใจถึงกลไกการย่อยอาหาร การดูดซึม เพื่อนำสารอาหารต่าง ๆ เข้าสู่ร่างกายตลอดจนกลไกการขับถ่ายของเสียเพื่อกำจัดออกจากร่างกาย
1.3  เพื่อให้นักศึกษาสามารถประเมินภาวะโภชนาการของตนเองได้และนำความรู้ทางโภชนาการไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันในการเลือกบริโภคอาหารให้เหมาะกับภาวะโภชนาการของตนเองเพื่อสุขภาพที่ดี
1.4  ให้นักศึกษาสามารถนำความรู้พื้นฐานที่สำคัญไปใช้ในเชิงอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารทุกประเภท
2.1  เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
2.2  เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้เกี่ยวกับโภชนศาสตร์ที่ทันสมัยในระดับสากล เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อสุขภาพชนิดใหม่ ๆ ที่เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ หรือแก้ไขปัญหาโภชนาการ และงานวิจัยต่าง ๆ ทางด้านโภชนาการเพื่อให้เกิดแนวคิดในการพัฒนาไปสู่คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพร่างกายที่ดีต่อไป
โอกาสในสายงานด้านโภชนาการและวิทยาศาสตร์การอาหาร ศึกษาความหมาย ความสำคัญของโภชนาการ การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบของอาหาร ระหว่างการแปรรูปและการเก็บรักษา ระบบการย่อยและการดูดซึม ความต้องการอาหารและสมดุลพลังงาน อาการและโรคที่เกิดจากความผิดปกติของการบริโภค โภชนาการของบุคคลในช่วงวัยต่าง ๆ วิธีประเมินภาวะโภชนาการ โภชนบำบัด ปัญหาโภชนาการในประเทศ ฉลากโภชนาการและการกล่าวอ้างทางโภชนาการ
Introduction to nutrition and food science career opportunities; a study of the meaning (definition) and importance of nutrition including nutrients; effect of processing on the nutrients; digestion and absorption of nutrients; nutritional demands and energy balance; symptoms and diseases caused by disorders of consumption; nutritional status of human among different age groups; nutritional assessment; nutritional therapy; nutritional problems in the country; nutrition labeling and nutrition claims.
    3.1  วันศุกร์ เวลา 8.30–11.30 น. ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร โทร.0-5529-8438 ต่อ 1121
    3.2  E-mail.  unnop_tas@rmutl.ac.th  เวลา 19.00–20.00 น. วันศุกร์
š1.1  มีจิตนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
1.2  มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
1.3  มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
š1.4  เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.  ยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ขาดวินัย และความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม ในฐานะนักวิทยาศาสตร์การอาหาร ตลอดจนผลกระทบที่ตามมา
2  สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมในวิชา และคุณค่าในตนเอง เช่น มีการตรวจเช็คการเข้าเรียน การแต่งกาย พฤติกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน ตลอดจนให้เคารพสิทธิ์ของตนเอง เพื่อนร่วมชั้น และอาจารย์ผู้สอน
1.  การตรวจสอบการเข้าเรียน การตรงต่อเวลา การส่งงาน โดยประเมินทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
2.  ประเมินผลจากพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน ในการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การเคารพผู้อาวุโส และอาจารย์
3.  ความมีวินัยและความใส่ใจของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
4.  ความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
2.1  มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.2  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
š2.3  สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
1.  สอนแบบบรรยาย อธิบายเนื้อหาพร้อมยกตัวอย่าง และตั้งคำถาม (Questioning) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning) โดยให้นักศึกษาซักถาม และแสดงความคิดเห็น และมีกิจกรรมเสริมนอกชั้นเรียนโดยมีการมอบหมายงานให้เป็นกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาฝึกทำงานร่วมกับผู้อื่น และมีการนำเสนองานที่มอบหมายตามระยะเวลาที่กำหนด
2.  ศึกษาจากสถานการณ์จริง มีการอภิปรายกลุ่มย่อย มีการศึกษาด้วยตนเอง และการค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต
3.  ติดตามข่าวสาร และความเคลื่อนไหวทางด้านโภชนาการ ตลอดจนสถานการณ์ด้านโภชนาการต่าง ๆ ของประเทศไทย และต่างประเทศ รวมถึงระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ ทางด้านโภชนาการ อาทิเช่น ฉลากโภชนาการ
 
ทั้งนี้กลยุทธ์ที่จะเลือกใช้ดังกล่าวขึ้นอยู่ด้วยความเหมาะสมกับสถานการณ์และความจำเป็นที่สอดคล้องกันกับองค์ความรู้ในแต่ละหัวข้อหรือบทเรียน
1.  การสอบวัดความรู้
2.  ถาม-ตอบปัญหาในชั้นเรียน
3.  ทำรายงานรายบุคคลและหรือรายงานกลุ่มเพื่อประเมินความสนใจการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4.  การนำเสนองานที่ได้มอบหมายในชั้นเรียน
 
3.1  มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
˜3.2  มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
1.  การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ สถานการณ์ หรือประเด็นด้านโภชนาการในปัจจุบัน
2.  วิเคราะห์กรณีศึกษาจากสถานการณ์ หรือประเด็นด้านโภชนาการในปัจจุบัน ที่เป็นผลทั้งด้านบวกและด้านลบ โดยกำหนดสถานการณ์ หรือประเด็นด้านโภชนาการ แล้วแบ่งกลุ่มให้นักศึกษาอภิปรายหน้าชั้นเรียน ถึงสถานการณ์ หรือประเด็นด้านโภชนาการ ดังกล่าว โดยให้เห็นผลประกอบ (สนับสนุน/ขัดแย้ง) บนพื้นฐานของความรู้ทางด้านโภชนาการ พร้อมแนวทางไปสู่การแก้ปัญหา หรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้บนพื้นฐานของนักวิทยาศาสตร์การอาหาร
1.  การเขียนบันทึก
2.  การนำเสนองาน
3.  ข้อสอบอัตนัย/ปรนัย
 
4.1  มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
š4.2  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม
˜4.3  สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
1.  การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม (Participatory Learning)กิจกรรมการบูรณการร่วมระหว่างการเรียนการสอนกับงานบริการวิชาการสู่ชุมชน
2.  จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา (Problem Base Learning) ในลักษณะของการทำงานเป็นทีม
3.  มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น รายงานบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.  การนำเสนองานด้วยวาจา
 
1.  ประเมินตนเองและเพื่อนด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
2.  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
3.  รายงานที่นำเสนอและผลงานที่ทำเป็นกลุ่ม
 
š5.1  เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม
˜5.2  สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.3  ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
1.  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website และสื่อต่าง ๆ และทำรายงานโดยเน้นการอ้างอิงจากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ โดนส่วนหนึ่งนักศึกษาจะต้องค้นคว้าจากวารสารหรือฐานข้อมูลที่เป็นภาษาอังกฤษ
2.  นำเสนองานกลุ่มต่อชั้นเรียนโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อเน้นให้นักศึกษาใช้ภาษาที่ถูกต้อง ชัดเจนและกระชับ  รวมถึงการเลือกวิธีการนำเสนอที่เข้าใจง่าย อย่างเป็นระบบ
1.  ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน การนำเสนอความรู้ใหม่
2.  การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม ความต่อเนื่องของเนื้อหาที่นำเสนอ
3.  การใช้สื่อที่เหมาะสมนำเสนอ
4.  เอกสารรายงานของนักศึกษา และการสอบ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา (Ethics and Moral) 2. ด้านความรู้ที่ต้องได้รับ (Knowledge) 3. ด้านทักษะทางปัญญาที่ต้องพัฒนา (Cognitive Skills) 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา (Interpersonal Skills and Responsibility) 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา (Numerical Analysis, Communication and Information Technology Skills)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.1 มีทักษะในการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม 5.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.3 ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ ในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
1 BSCFT301 โภชนาการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 มีจิตนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.4 เคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ - จำนวนครั้งการเข้าเรียนต้องเกิน 80% - การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน - การส่งงานตรงเวลา - คะแนนกิจกรรมส่วนมหาวิทยาลัย - ความมีน้ำใจต่อเพื่อนและคณาจารย์ ทุกสัปดาห์ 10%
2 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ - การสอบกลางภาค(หน่วยที่ 1-4) - ไม่ทุจริตในการสอบ 9 35%
3 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ - การสอบปลายภาค (หน่วยที่ 5-8) - ไม่ทุจริตในการสอบ 18 35%
4 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 5.1 เลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารได้เหมาะสม 5.2 สืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม - การนำเสนองาน/งานมอบหมาย 16−17 20%
อัญชลี ศรีจำเริญ.  2553. อาหารและโภชนาการ: การป้องกันและบำบัดโรค.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.  225 หน้า.
อัญชลี ศรีจำเริญ.  2555. อาหารเพื่อสุขภาพ: สารอาหารเชิงพันธภาพและกลไกการทำงาน.  พิมพ์ครั้งที่ 1.  สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพมหานคร.  181 หน้า.
มาตรฐานและกฎหมายอาหารต่าง ๆ
-  เวปไซด์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อย.
-  วารสารอาหาร, Journal of Food Science และ Journal of Food Technology หรือวารสารอื่น ๆในฐานข้อมูล scopus หรือ sciencedirect
1.1  แบบประเมินประสิทธิผลของรายวิชาจากมหาวิทยาลัย ฯ โดยนักศึกษาเมื่อหมดภาคการศึกษา
1.2  แบบประเมินผู้สอนในแต่ละรายวิชาจากมหาวิทยาลัย ฯ โดยนักศึกษาเมื่อหมดภาคการศึกษา
1.3  แบบเสนอแนะ/ข้อคิดเห็น ในการจัดการเรียนการสอนแต่ละรายวิชา ที่ประเมินโดยนักศึกษา
2.1  สาขาวิชาแต่งตั้งกรรมการประเมินการสอนของสาขาวิชา โดยมีหัวหน้าสาขาวิชา ในฐานะประธานหลักสูตรวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร และอาจารย์ประจำหลักสูตรอย่างน้อย 1 ท่าน เป็นผู้ทำหน้าที่ในการประเมินการสอน โดยการสุ่มรายวิชาอย่างน้อย 3 รายวิชา ที่เปิดสอนในแต่ละภาคการศึกษา
3.1  ปรับปรุงหลักสูตรให้ตอบสนองความต้องการของประเทศที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอาหารและ ธุรกิจด้านอาหาร การเปลี่ยนแปลงของโลก โดยพัฒนาหลักสูตรทุก 5 ปี
3.2  ปรับปรุงการสอนโดยเพิ่มเติมข้อมูลทางวิชาจากที่เป็นปัจจุบัน ทันสมัย และบูรณาการข้อมูลหรือความรู้ที่ได้จากงานวิจัย ข้อมูลจากการฝึกอบรมต่าง ร่วมกับข้อมูลที่นักศึกษาประเมิน ข้อมูลจาก มคอ.5 จากปีการศึกษาที่ผ่านมา และคำแนะนำจากอาจารย์ผู้ที่มีประสบการณ์การสอน รวมถึงวิธีการสอน เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่ดีขึ้นแก่นักศึกษา
4.1  มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยคณะกรรมการบริหารหลักสูตร โดยกำหนดให้อาจารย์ผู้สอน มีการรายงานวิธีการที่ใช้ในการประเมิน เกณฑ์การประเมิน และผลการประเมินของนักศึกษา
4.2  คณะกรรมการบริหารหลักสูตร นำผลการเปรียบเทียบหารือและทำความเข้าใจกับอาจารย์ผู้สอน พร้อมทั้งหาแนวทางพัฒนา
5.1  ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4.1 และข้อมูลจาก มคอ.5
5.2  สับเปลี่ยนอาจารย์ผู้สอน หรือจัดหาอาจารย์ผู้สอนท่านอื่นที่มีความเชี่ยวชาญเพิ่มเติมเพื่อร่วมสอนในรายวิชาดังกล่าว
โดยหากมีการเปลี่ยนแปลงการดำเนินการจะนำเสนอในที่ประชุมสาขาวิชา เพื่อพิจารณาต่อไป