การผลิตสัตว์ปีก

Poultry Production

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ ดังนี้
- เข้าใจประวัติและความสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในประเทศ
- เข้าใจประเภทและการดำเนินงานของธุรกิจการผลิตสัตว์ปีก
- เข้าใจประเภท, พันธุ์และการผสมพันธุ์สัตว์ปีก
- เข้าใจอาหาร โรงเรือน และอุปกรณ์สัตว์ปีก
- มีทักษะในการเลี้ยงสัตว์ปีกระยะต่างๆ
- เข้าใจวิธีการบริหารจัดการฟาร์มสัตว์ปีก มาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีก การจัดการของเสีย
- เข้าใจการสุขาภิบาลและการป้องกันโรคสัตว์ปีก
- เข้าใจธุรกิจและการตลาดสัตว์ปีก
- มีเจตนคติที่ดีต่อวิชาการผลิตสัตว์ปีก
อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในปัจจุบันมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ซึ่งก้าวหน้ากว่าการเรียนการสอนตามหลักสูตรเก่า ดังนั้นนักศึกษาในปัจจุบันนอกจากต้องมีความรู้ทั่วๆไปเกี่ยวกับสัตว์ปีกแล้ว จะต้องตามทันวิวัฒนาการใหม่ๆที่เกิดขึ้นในวงการการผลิตสัตว์ปีก รู้และเข้าใจผลกระทบทั้งโดยตรงและผลกระทบทางอ้อมอันเกิดจากการผลิตสัตว์ปีกที่ใช้วิวัฒนาการและเทคโนโลยีใหม่เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิต,หาทางป้องกันและแก้ปัญหาต่อไป
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญและสภาพการผลิตสัตว์ปีก เศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศประเภทและพันธุ์สัตว์ปีกการคัดเลือกและการผสมพันธุ์การวางผังฟาร์มโรงเรือนและอุปกรณ์อาหารและการให้อาหาร การบริหารและจัดการฟาร์มสัตว์ปีกมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกการจัดการของเสียการสุขาภิบาลและป้องกันโรคพยาธิต่างๆธุรกิจและการตลาดสัตว์ปีก
Study and practices on the importance of poultry production and poultry production in Thailand and worldwide. This course also study on the types of poultry, breeds and breeding, farm layout, poultry housing and equipment, and feed and feeding. Poultry farms management and administration, standard practices of poultry farms, waste management, sanitation and parasite control and poultry farm business and marketing will also discussed.
3.1 จัดเวลาให้นักศึกษาเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง โดยใช้วิธีนักศึกษานัดหมายอาจารย์ล่วงหน้า
3.2 e-mail: piyamaz@hotmail.com เวลา 18.00 - 20.00 น. ทุกวัน
 
š1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
š1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
˜1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
š1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา การตรงต่อเวลาที่กำหนด และแนะนำถึงผลดีของการตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ อาจารย์ผู้สอนปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง ให้นักศึกษามีระเบียบวินัยในการเข้าชั้นเรียน โดยอาจารย์เข้าชั้นเรียนตรงต่อเวลา และเลิกชั้นเรียนตรงต่อเวลา) รวมถึงการบรรยายเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ นักศึกษาต้องไม่ทุจริตในการสอบหรือการลอกการบ้านหรืองานของผู้อื่น
สังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียน มีการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียน และนักศึกษาส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา ในการทำรายงานมีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม มีการฝึกทักษะและการปฏิบัติต่างๆให้ถูกตามหลักการเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
š2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา
š2.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา
ฝึกทักษะโดยการปฏิบัติการจริงตามแผนงานที่ได้รับ
ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบย่อย (Quiz) การสอบกลางภาคและปลายภาค และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
การทดสอบการฝึกทักษะและการทำรายงานสรุปผลการฝึกปฏิบัติการ
˜3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
š3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ศึกษาจากประเด็นปัญหาที่กำหนดไว้แล้ว โดยแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดแนวทางไปสู่การแก้ปัญหาหรือเสนอแนวทางปฏิบัติที่มีความน่าเชื่อถือและความเป็นไปได้
ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบย่อย (Quiz) การสอบกลางภาคและปลายภาค และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
š4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
˜4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
š4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียน มีกิจกรรมทำงานเป็นกลุ่มและมีหัวหน้ากลุ่มเป็นผู้ประสานงานตามที่ได้รับมอบหมาย และมีการเปลี่ยนกลุ่มทำงานตามภาระงานที่มอบหมาย เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้ โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในชั้นเรียน และประเมินผลงานจากรายงานของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
˜5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
š5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
š5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ใช้ Power point มีการนำเสนอข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต การแนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูล การมอบหมายงานด้วยการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงานของนักศึกษา การสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ 4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง เหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 23024307 การผลิตสัตว์ปีก
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 2.1, 2.4 สอบกลางภาค 9 15%
2 1.1, 1.2, 2.1, 2.4 สอบปลายภาค 18 15%
3 1.1, 1.2, 2.1, 2.4 ทดสอบย่อยระหว่างเรียน 6 และ 8 10%
4 1.1, 1.2, 2.1, 2.4 ทดสอบย่อยระหว่างเรียน 12 และ 14 10%
5 1.1, 1.2, 2.3, 3.3 4.1, 4.2 5.1 การค้นคว้า นำเสนอผลงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน สรุปและวิเคราะห์ผลงานกลุ่ม การส่งงานตามมอบหมาย การสอบภาคปฏิบัติ ทุกสัปดาห์ 40%
6 1.2, 1.3, 4.1, 4.2 5.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของรายวิชา การมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ความตั้งใจและความสนใจในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
1. กรุงเทพโปรดิวส์.2542. การจัดการโรงฟักไข่. เอกสารทางวิชาการบริษัทกรุงเทพโปรดิวส์,กรุงเทพฯ. 20หน้า
2. เชิดชัย รัตนเศรษฐากุล.2529. โรคสัตว์ปีก.ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น,ขอนแก่น,279 หน้า.
3. นที นิลนพคุณ.2529. คัพภะวิทยาทางสัตวแพทย์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.245 หน้า.
4. นุกูล เจนประจักษ์.2543. การฟักไข่.โรงพิมพ์เพทพริ้นติ้งเซ็นเตอร์,กรุงเทพฯ.119 หน้า.
5. เบทาโกร.2542. การจัดการโรงฟักไข่. เอกสารทางวิชาการชุดที่7 บริษัทเบทาโกรจำกัด,กรุงเทพฯ.15หน้า.
6. บุญเสริม ชีวะอิสระกุลและบุญล้อม ชีวะอิสระกุล.2542. พื้นฐานสัตวศาสตร์.ภาควิชาสัตว ศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,เชียงใหม่.186 หน้า.
7. ปฐม เลาหเกษตร.2540. การเลี้ยงสัตว์ปีก.ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ คณะ
เทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,กรุงเทพ.
317 หน้า.
8. วรวิทย์ วนิชาภิชาติ.2531. ไข่และการฟักไข่. ภาควิชาสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,
สงขลา.240 หน้า.
9. สุชน ตั้งทวีวัฒน์.2542. การจัดการผลิตสัตว์ปีก. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,เชียงใหม่.287หน้า.
10.สุวรรณ เกษตรสุวรรณ.2529.ไข่และเนื้อไก่. ภาควิชาสัตวศาสตร์ศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.382 หน้า.
11.สุวรรณ เกษตรสุวรรณ,วรรณดา สุจริต,ประทีป ราชแพทยาคม,สุภาพร อิสริโยดม,กระจ่าง
วิสุทธารมณ์ และบุญธง ศิริพานิช.การเลี้ยงไก่.ภาควิชาสัตวศาสตร์ศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.337 หน้า.
12.อนุชา แสงโสภณ.2539.การฟักไข่และการจัดการโรงฟัก.ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพ.126หน้า.
13.อาวุธ ตันโช.2538.การผลิตสัตว์ปีก.ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,กรุงเทพ.256 หน้า.
14.Blakley,J. and D.H.Bade.1979.The Science of Animal Husbandry.Reston Publishing
Company Inc.Reston, Virginis.
15.J. Wiseman, P.C. Gamsworthy.1999. Recent Developments in Poultry Nutrition 2.
Nottingham University Press, Nottingham.342 p.
16. Jull,M.A.Poultry Husbandry. TATA McGraw Hill Publishing Company Ltd. New Delhi.
17. M.Larbier and B.L.Chereq.1994. Nutrition and Feeding of Poultry Nottingham
University Press, Nottingham.305 p.
 
-วารสารของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
-VCD การจัดการโรงฟักไข่ของบริษัทฟาร์ม
-คู่มือการจัดการฟาร์มไก่เนื้อและฟาร์มไก่พันธุ์ของบริษัทที่ผลิตสัตว์ปีกครบวงจรในประเทศไทย
-website ที่เกี่ยวกับการฟักไข่, การเจริญของตัวอ่อนไก่และสัตว์ปีกอื่น ๆ ที่สำคัญ
-website ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์ปีก
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.2 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.3 การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
ผลประเมินการจัดการเรียนการสอนจากการทดสอบย่อยและตอบคำถามของนักศึกษา ระหว่างการสอนแต่ละหน่วยการเรียน และจากผลการเรียนของนักศึกษา
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา มีการประชุมอาจารย์ในสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
-การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
-มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
-ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
-อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา