การบัญชีระหว่างประเทศ

International Accounting

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับปัญหาการบัญชีที่พบของธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งดำเนินงานในประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและกฎหมายที่แตกต่างกัน
1.2 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความแตกต่างทางการบัญชีของประเทศต่างๆ และสาเหตุขั้นพื้นฐานที่ทำให้เกิดความแตกต่างผลกระทบของเงินตราต่างประเทศต่อการบัญชีและความพยายามของสถาบันวิชาชีพระหว่างประเทศในการพัฒนาวิชาชีพทางบัญชี
2.1  เพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนสำหรับหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ซึ่งเป็นหลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555
2.2  เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
3. สมรรถนะรายวิชา
           3.1 รู้เกี่ยวกับปัญหาการบัญชีที่พบของธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งดำเนินงานในประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและกฎหมายที่แตกต่างกัน
           3.2 เข้าใจความแตกต่างทางการบัญชีของประเทศต่างๆ และสาเหตุขั้นพื้นฐานที่เกิดความแตกต่าง ผลกระทบของเงินตราต่างประเทศต่อการบัญชี
3.3 รู้ความสำคัญความพยายามของสถาบันวิชาชีพระหว่างประเทศในการพัฒนาวิชาชีพทางบัญชี
 
ศึกษาถึงปัญหาการบัญชีที่พบของธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งดำเนินงานในประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและกฎหมายที่แตกต่างกัน วิเคราะห์ความแตกต่างทางการบัญชีของประเทศต่างๆ และสาเหตุขั้นพื้นฐานที่เกิดความแตกต่าง ผลกระทบของเงินตราต่างประเทศต่อการบัญชีและศึกษาความพยายามของสถาบันวิชาชีพระหว่างประเทศในการพัฒนาวิชาชีพทางบัญชี
- อาจารย์ประจำรายวิชา บอกช่วงเวลาให้คำปรึกษาในชั่วโมงแรก
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1   คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
               1) มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
                   - สามารถปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ และข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนได้
       
1) กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การสอบ การทำงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม การทำโจทย์ปัญหา และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
1) ประเมินจากการเช็คชื่อเข้าชั้นเรียนก่อนการสอนทุกสัปดาห์ การติดตามการส่งรายงานเป็นช่วงเวลาที่กำหนดให้ การตรวจสมุด และการตรวจเครื่องแต่งกายของนักศึกษา
1) มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางบัญชี
                    - แนวคิด หลักการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีของธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งดำเนินงานในประเทศที่มีสภาพเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและกฎหมายที่แตกต่าง ได้แก่ รายงานทางการเงินของธุรกิจระหว่างประเทศ การเปิดเผยข้อมูลของรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ  ความแตกต่างของการบัญชีแต่ละประเทศ การบัญชีระหว่างประเทศเมื่อระดับราคาเปลี่ยนแปลง ภาษีอากรและราคาโอนระหว่างประเทศ
2) มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชีโดยสามารถบูรณนาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
                   - มีความรู้เกี่ยวกับธุรกิจระหว่างประเทศและการบัญชีระหว่างประเทศ  ได้แก่ ความหลากหลายและการพัฒนาการบัญชีระหว่างประเทศ การจัดหมวดหมู่ของการบัญชีระหว่างประเทศ และการประเมินการปฏิบัติงานของบริษัทข้ามชาติ
1) บรรยาย ยกตัวอย่าง และถาม – ตอบในชั้นเรียน
2) โจทย์ปัญหา
3) รายงานกลุ่ม
4) มอบหมายงานให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อธุรกิจระหว่างประเทศและการบัญชีระหว่างประเทศ
1) การตอบคำถามในชั้นเรียน
2) การทำโจทย์ปัญหา การรายงาน (งานกลุ่ม)
3) การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
4) คุณภาพของงานที่มอบหมาย
1) สามารถประยุกต์ความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพ และดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
                   - สามารถคำนวณและวิเคราะห์การประเมินการปฏิบัติงานของบริษัทข้ามชาติได้ โดยการวิเคราะห์จากงบการเงินของกิจการตามที่ค้นคว้า
2) สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
                   - สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผล เกี่ยวกับข้อมูลของกิจการ และนำเสนอได้
1) การบรรยาย ยกตัวอย่าง และการถาม – ตอบในชั้นเรียน
2) การอภิปรายเกี่ยวกับงานที่ได้รับมอบหมาย
3) การนำเสนอรายงาน (งานกลุ่ม)
1) การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
2) ผลงานจากการจัดทำรายงานและนำเสนองานกลุ่ม
 
1) สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
                   - สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ ตามข้อตกลงที่กำหนดไว้
2) สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน
                   - สามารถช่วยเหลือกันในการแก้ปัญหาในการจัดทำรายงานได้ด้วยความสามัคคีร่วมมือร่วมใจ
มอบหมายงานกลุ่ม ค้นคว้าข้อมูลสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อธุรกิจระหว่างประเทศและการบัญชีระหว่างประเทศ ของประเทศต่างๆโดยแบ่งตามเกณฑ์การจัดหมวดหมู่การบัญชีระหว่างประเทศเพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน สื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน โดยดำเนินการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการวางแผนการจัดทำรายงานและรายงานผลความก้าวหน้าของรายงาน
1) ระบบการจัดทำรายงาน คุณภาพของเล่มรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
1) มีทักษะการใช้วิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
                   - สามารถนำเสนอรายงานที่ศึกษาค้นคว้า ทั้งในรูปแบบของการเขียนรายงาน และการนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียนโดยวาจาได้อย่างเหมาะสม
2) สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
                   - สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการรวบรวมข้อมูลรายงาน และเทคนิคการนำเสนอรายงานได้อย่างเหมาะสม
1) มอบหมายงานกลุ่ม ค้นคว้าข้อมูลสภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อธุรกิจระหว่างประเทศและการบัญชีระหว่างประเทศ ของประเทศต่างๆโดยแบ่งตามเกณฑ์การจัดหมวดหมู่การบัญชีระหว่างประเทศเพื่อจัดทำเป็นรูปเล่มรายงาน สื่อประกอบการรายงาน และนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน โดยดำเนินการทำรายงานตามระยะเวลาที่กำหนด โดยมีการวางแผนการจัดทำรายงานและรายงานผลความก้าวหน้าของรายงาน
2) มอบหมายงานเดี่ยว เกี่ยวกับการคำนวณภาษีอากรและราคาโอนระหว่างประเทศ การประเมินการปฏิบัติงานของบริษัทข้ามชาติ การบัญชีระหว่างประเทศเมื่อระดับราคาเปลี่ยนแปลง โดยให้นักศึกษาฝึกคำนวณจากโจทย์ปัญหา
1) ระบบการจัดทำรายงาน คุณภาพของเล่มรายงาน และการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3
1 11011402 การบัญชีระหว่างประเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1,2,3,4,5 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 18 35% 35%
2 1,2,3,4,5 วิเคราะห์กรณีศึกษา รายงาน และงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 4 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตามข้อตกลง ตลอดภาคการศึกษา 10 %
คณะกรรมการกลุ่มผลิตชุดวิชาการบัญชีระหว่างประเทศ. การบัญชีระหว่างประเทศ. คณะบัญชีการเงินและการธนาคาร มหาวิทยาลัยพายัพ.
ชูศรี เที้ยศิริเพชร. 2545. เอกสารคำสอนกระบวนวิชา การบัญชีระหว่างประเทศ. ภาควิชาการบัญชี คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประไพพิศ สวัสดิ์รัมย์. 2550. ระบบบัญชีระหว่างประเทศ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ แหล่งที่มา: http://www.price.moc.go.th/content1.
aspx?cid=1
Timothy Doupnik and Hector Perera. 2007. International Accounting. Singapore: Mc Graw-Hill.
1. สภาวิชาชีพบัญชี www.fap.or.th 2. กรมสรรพากร www.rd.go.th 3. สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ www.sec.or.th 4. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์  www.dbd.go.th 5. สำนักดัชนีเศรษฐกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ www.price.moc.go.th
 
ใช้การทดสอบย่อยในแต่ละบท
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัย
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงการพัฒนาการบัญชีระหว่างประเทศ
ให้กรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบ และ การตัดเกรด
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ เป็นผู้นำเสนอข้อสอบ และ การตัดเกรด  ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2  ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน  วิธีการประเมิน  และ เนื้อหารายวิชา