การผลิตสัตว์ปีก

Poultry Production

เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่าง ๆ  ดังนี้
- เข้าใจประวัติและความสำคัญของอุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในประเทศ
- เข้าใจประเภทและการดำเนินงานของธุรกิจการผลิตสัตว์ปีก
- รู้ประเภท, พันธุ์และเข้าใจหลักการผสมพันธุ์สัตว์ปีก
- เข้าใจอาหาร โรงเรือน และอุปกรณ์สัตว์ปีก
- มีทักษะในการเลี้ยงสัตว์ปีกระยะต่างๆ
- เข้าใจวิธีการบริหารจัดการฟาร์มสัตว์ปีก มาตรฐานฟาร์มสัตว์ปีก การจัดการของเสีย
- เข้าใจการสุขาภิบาลและการป้องกันโรคสัตว์ปีก
- เข้าใจธุรกิจและการตลาดสัตว์ปีก
- มีเจตนคติที่ดีต่อวิชาการผลิตสัตว์ปีก
อุตสาหกรรมการผลิตสัตว์ปีกในปัจจุบันมีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ซึ่งก้าวหน้ากว่าการเรียนการสอนตามหลักสูตรเก่า ดังนั้นนักศึกษาในปัจจุบันนอกจากต้องมีความรู้ทั่วๆไปเกี่ยวกับสัตว์ปีกแล้ว จะต้องตามทันวิวัฒนาการใหม่ๆที่เกิดขึ้นในวงการการผลิตสัตว์ปีก รู้และเข้าใจผลกระทบทั้งโดยตรงและผลกระทบทางอ้อมอันเกิดจากการผลิตสัตว์ปีกที่ใช้วิวัฒนาการและเทคโนโลยีใหม่เพื่อใช้เป็นแนวทางในการเพิ่มผลผลิต,หาทางป้องกันและแก้ปัญหาต่อไป
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับความสำคัญและสภาพการผลิตสัตว์ปีก เศรษฐกิจภายในประเทศและต่างประเทศประเภทและพันธุ์สัตว์ปีกการคัดเลือกและการผสมพันธุ์การวางผังฟาร์มโรงเรือนและอุปกรณ์อาหารและการให้อาหาร การบริหารและจัดการฟาร์มสัตว์ปีกมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงสัตว์ปีกการจัดการของเสียการสุขาภิบาลและป้องกันโรคพยาธิต่างๆธุรกิจและการตลาดสัตว์ปีก
Study and practices on the importance of poultry production and poultry production in Thailand and worldwide. This course also study on the types of poultry, breeds and breeding, farm layout, poultry housing and equipment, and feed and feeding. Poultry farms management and administration, standard practices of poultry farms, waste management, sanitation and parasite control and poultry farm business and marketing will also discussed.
1 จัดเวลาให้นักศึกษาเข้าพบเพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง โดยใช้วิธีนักศึกษานัดหมายอาจารย์ล่วงหน้า
3.2 e-mail: piyamaz@hotmail.com เวลา 18.00 - 20.00 น. ทุกวัน
š 1.1 มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ
1.2 มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา การตรงต่อเวลาที่กำหนด การทำความดี การช่วยเหลือผู้อื่น การมีศีลธรรมและการซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ และอภิปรายผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำดังกล่าว ยกตัวอย่าง เช่นความซื่อสัตย์ นักศึกษาต้องไม่ทุจริตในการสอบหรือการลอกการบ้านหรืองานของผู้อื่น
สังเกตพฤติกรรมการเข้าเรียน มอบหมายงานแก่นักศึกษาและนักศึกษาส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา ในการทำรายงานมีการอ้างอิงแหล่งที่มาของเอกสารและชื่อผู้แต่งเอกสารอย่างถูกต้องและเหมาะสม มีการฝึกทักษะและการปฏิบัติต่างๆให้ถูกตามหลักการเลี้ยงสัตว์ปีกเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม มีการประเมินผลการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมาย
˜2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่างถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง
2.2 มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม
การสอนแบบบรรยายเชิงอภิปราย ฝึกตอบปัญหาในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา และระดมสมองในการแก้ไขปัญหา ฝึกทักษะโดยการปฏิบัติการจริงตามแผนงานที่ได้รับ
ประเมินจากการตอบปัญหาในชั้นเรียน การสอบย่อย (Quiz) การสอบกลางภาคและปลายภาค และการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม
การทดสอบการฝึกทักษะและการทำรายงานสรุปผลการฝึกปฏิบัติการ
3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม
3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่
š3.3ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม
ทำการแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ภายในกลุ่มจะต้องกำหนดหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์ปีกให้นักศึกษาไปค้นคว้าข้อมูล ข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับประเด็นดังกล่าว นำมาอภิปรายร่วมกัน ให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นต่อข่าวสารและความรู้ที่ได้ค้นคว้ามา
ประเมินจากการนำเสนอผลงานทั้งแบบรายบุคคลและกลุ่ม การอภิปรายและตอบปัญหาในชั้นเรียน การส่งรายงานการค้นคว้าที่ได้รับมอบหมาย
4.1 ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม
š4.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม
ทำการแบ่งนักศึกษาเป็นกลุ่ม ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มลงฝึกปฏิบัติงานฟาร์มสัตว์ปีกร่วมกันโดยมุ่งเน้นการทำงานร่วมกัน ความสามัคคีในหมู่คณะ การแบ่งงาน การรับผิดชอบต่องานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย สอนโดยมีกิจกรรมเสริมในชั้นเรียนเพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ เช่น กิจกรรมการกำจัดของเสียจากการทำฟาร์มสัตว์ปีก เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและชุมชน
การประเมินจากการแสดงออกอย่างมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรม และประเมินผลงานจากรายงานการทำกิจกรรมของนักศึกษาทั้งแบบรายบุคคลและรายกลุ่ม
5.1 มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน
š5.2 ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
แนะนำเทคนิคการสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตและ ระบบสารสนเทศอื่นๆมอบหมายงานให้นักศึกษาไปสืบค้นข้อมูลด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นำข้อมูลที่ได้มานำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น โปรแกรม Power point  
ประเมินจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน โดยมีการนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ และเอกสารรายงานของนักศึกษา การสอบย่อย (Quiz) ในชั้นเรียน
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความ สัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีคุณธรรมและจริยธรรม หมายถึง ศรัทธาในความดี มีหลักคิดและแนวปฏิบัติในทางส่งเสริมความดีและคุณค่าความเป็นมนุษย์ มีความรับผิดชอบ มีศีลธรรม ซื่อสัตย์สุจริตและสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างสันติ 1.2 มีจรรยาบรรณ หมายถึง มีระเบียบวินัยและเคารพกฎกติกาของสังคม ประพฤติปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 2.1 มีความรู้ในสาขาวิชาชีพ หมายถึง มีความรู้ ความเข้าใจ ในสาขาวิชาชีพที่เรียนอย่าง ถ่องแท้และเป็นระบบ ทั้งหลักการ ทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ความรู้ที่ทันสมัยในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง 2.2 มีความรอบรู้ หมายถึง มีความรู้ในหลายสาขาวิชาและสามารถประยุกต์ใช้ในการดำรงชีวิตรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี สังคม เศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม 3.1 สามารถคิดวิเคราะห์งานอย่างเป็นระบบ หมายถึง มีทักษะในการคิดวิเคราะห์อย่างมีเหตุผลและคิดแบบองค์รวม 3.2 สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ หมายถึง ความสามารถในการคิดริเริ่มสร้างสรรค์ จากพื้นฐานของความรู้ที่เรียน นำมาพัฒนานวัตกรรมหรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ 3.3ใฝ่รู้และรู้จักวิธีการเรียนรู้ หมายถึง แสวงหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งต่างๆ อย่างสม่ำเสมอและรู้จักเทคนิควิธีและกระบวนการในการเรียนรู้และสามารถนำไปใช้ในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองได้อย่างเหมาะสม 4.1 ภาวะผู้นำ หมายถึง กล้าแสดงออก กล้าหาญ อดทน หนักแน่น รู้จักเสียสละ ให้อภัย และรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น สุภาพ สามารถประสานความคิดและประโยชน์ด้วยหลักแห่งเหตุผลและความถูกต้อง มีความซื่อสัตย์ สุจริต ยุติธรรม รักองค์กร เป็นผู้นำกลุ่มกิจกรรมได้ทุกระดับและสถานการณ์ที่เหมาะสม มีความรับผิดชอบต่อบทบาทหน้าที่ของตนเองทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตาม 4.2 มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะ หมายถึง มีจิตสำนึกห่วงใยต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และสาธารณสมบัติ มีจิตอาสา ไม่ดูดาย มุ่งทำประโยชน์ให้สังคม 5.1 มีทักษะการสื่อสาร หมายถึง ความสามารถในการใช้ภาษาไทย ทั้งการฟัง พูด อ่านและเขียน เพื่อการสื่อสารให้เหมาะกับสถานการณ์ และการใช้ภาษาอังกฤษ ในการอ่าน พูด ฟัง และเขียน 5.2 ทักษะทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หมายถึง การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสมในการสื่อสารและค้นคว้าข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1 BSCAG204 การผลิตสัตว์ปีก
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 2.1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 6 และ 8 10 %
2 1.1, 2.1, 3.3, 4.2, 5.2 การค้นคว้า นำเสนอผลงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน สรุปและวิเคราะห์ผลงานกลุ่ม การส่งงานตามมอบหมาย การสอบภาคปฏิบัติ ทุกสัปดาห์ 40%
3 1.1, 2.1 สอบกลางภาค 9 15%
4 1.1, 2.1 ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 15 และ 16 10%
5 1.1, 4.2, 5.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในการเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน การมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆของรายวิชา การมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ความตั้งใจและความสนใจในชั้นเรียน ทุกสัปดาห์ 10%
6 1.1, 2.1 สอบปลายภาค 18 15%
1. กรุงเทพโปรดิวส์.2542. การจัดการโรงฟักไข่. เอกสารทางวิชาการบริษัทกรุงเทพโปรดิวส์,กรุงเทพฯ. 20หน้า
2. เชิดชัย รัตนเศรษฐากุล.2529. โรคสัตว์ปีก.ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัย ขอนแก่น,ขอนแก่น,279 หน้า.
3. นที นิลนพคุณ.2529. คัพภะวิทยาทางสัตวแพทย์. ภาควิชากายวิภาคศาสตร์ คณะสัตวแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.245 หน้า.
4. นุกูล เจนประจักษ์.2543. การฟักไข่.โรงพิมพ์เพทพริ้นติ้งเซ็นเตอร์,กรุงเทพฯ.119 หน้า.
5. เบทาโกร.2542. การจัดการโรงฟักไข่. เอกสารทางวิชาการชุดที่7 บริษัทเบทาโกรจำกัด,กรุงเทพฯ.15หน้า.
6. บุญเสริม ชีวะอิสระกุลและบุญล้อม ชีวะอิสระกุล.2542. พื้นฐานสัตวศาสตร์.ภาควิชาสัตว ศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,เชียงใหม่.186 หน้า.
7. ปฐม เลาหเกษตร.2540. การเลี้ยงสัตว์ปีก.ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ คณะ
เทคโนโลยีการเกษตรสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,กรุงเทพ.
317 หน้า.
8. วรวิทย์ วนิชาภิชาติ.2531. ไข่และการฟักไข่. ภาควิชาสัตวศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,
สงขลา.240 หน้า.
9. สุชน ตั้งทวีวัฒน์.2542. การจัดการผลิตสัตว์ปีก. ภาควิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,เชียงใหม่.287หน้า.
10.สุวรรณ เกษตรสุวรรณ.2529.ไข่และเนื้อไก่. ภาควิชาสัตวศาสตร์ศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.382 หน้า.
11.สุวรรณ เกษตรสุวรรณ,วรรณดา สุจริต,ประทีป ราชแพทยาคม,สุภาพร อิสริโยดม,กระจ่าง
วิสุทธารมณ์ และบุญธง ศิริพานิช.การเลี้ยงไก่.ภาควิชาสัตวศาสตร์ศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.337 หน้า.
12.อนุชา แสงโสภณ.2539.การฟักไข่และการจัดการโรงฟัก.ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์
คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, กรุงเทพ.126หน้า.
13.อาวุธ ตันโช.2538.การผลิตสัตว์ปีก.ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตสัตว์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,กรุงเทพ.256 หน้า.
14.Blakley,J. and D.H.Bade.1979.The Science of Animal Husbandry.Reston Publishing
Company Inc.Reston, Virginis.
15.J. Wiseman, P.C. Gamsworthy.1999. Recent Developments in Poultry Nutrition 2.
Nottingham University Press, Nottingham.342 p.
16. Jull,M.A.Poultry Husbandry. TATA McGraw Hill Publishing Company Ltd. New Delhi.
17. M.Larbier and B.L.Chereq.1994. Nutrition and Feeding of Poultry Nottingham
University Press, Nottingham.305 p.
-วารสารของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร
-VCD การจัดการโรงฟักไข่ของบริษัทฟาร์ม
-คู่มือการจัดการฟาร์มไก่เนื้อและฟาร์มไก่พันธุ์ของบริษัทที่ผลิตสัตว์ปีกครบวงจรในประเทศไทย
-website ที่เกี่ยวกับการฟักไข่, การเจริญของตัวอ่อนไก่และสัตว์ปีกอื่น ๆ ที่สำคัญ
-website ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตสัตว์ปีก
.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.2 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.3 การสังเกตการณ์จากพฤติกรรมของผู้เรียน
ผลประเมินการจัดการเรียนการสอนจากการทดสอบย่อยและตอบคำถามของนักศึกษา ระหว่างการสอนแต่ละหน่วยการเรียน และจากผลการเรียนของนักศึกษา
สาขาวิชากำหนดให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชา มีการประชุมอาจารย์ในสาขาวิชาเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและร่วมกันหาแนวทางแก้ไข
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
-การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
-มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชาได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
-ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
-อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าสาขาวิชา